อาฒยา ฐิติกุล
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อาฒยา ฐิติกุล | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อาฒยาใน พ.ศ. 2561 | |||||||||||||
ข้อมูลส่วนตัว | |||||||||||||
ฉายา | จีน, จีโน่ | ||||||||||||
เกิด | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย | ||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | ||||||||||||
การเล่นอาชีพ | |||||||||||||
เริ่มเล่นอาชีพ | 2563 | ||||||||||||
ทัวร์ล่าสุด | เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ (เข้าร่วม พ.ศ. 2563) แอลพีจีเอ ทัวร์ (เข้าร่วม พ.ศ. 2565) | ||||||||||||
ชนะเลิศอาชีพ | 12 | ||||||||||||
ชนะเลิศแยกตามการแข่งขัน | |||||||||||||
LPGA Tour | 3 | ||||||||||||
เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ | 4 | ||||||||||||
Ladies Asian Golf Tour | 1 | ||||||||||||
อื่น ๆ | 7 | ||||||||||||
ผลงานที่ดีที่สุดในเอลพีจีเอเมเจอร์แชมเปียนชิป (ชนะ: 0) | |||||||||||||
เชฟรอน แชมเปียนชิป | ที่ 4 ร่วม : 2023 | ||||||||||||
วีเมนส์ พีจีเอ แชมเปียนชิป | ที่ 4 : 2022 | ||||||||||||
ยูเอส วีเมนส์ โอเพน | ที่ 24 ร่วม: 2022 | ||||||||||||
วีเมนส บริติช โอเพน | ที่ 7 ร่วม : 2022 | ||||||||||||
ดิ เอวิยอง แชมเปียนชิป | ที่ 5 : 2021 | ||||||||||||
ผลงานและรางวัล | |||||||||||||
|
รายการเหรียญรางวัล |
---|
อาฒยา ฐิติกุล ชื่อเล่น จีน, จีโน่ เป็นนักกอล์ฟชาวไทย ปัจจุบันเล่นอยู่ใน แอลพีจีเอ ทัวร์ และ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ อาฒยาเป็นนักกอล์ฟที่อายุน้อยที่สุดในโลกที่ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ โดยเธอชนะการแข่งขัน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ในขณะที่เป็นนักกอล์ฟสมัครเล่น และมีอายุเพียง 14 ปี 4 เดือน 19 วัน[1] นอกจากนี้ อาฒยายังคว้าเหรียญทอง ประเภททีมผสมในกีฬากอล์ฟในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2018 ที่ประเทศอาร์เจนตินา
อาฒยา คว้าแชมป์ในแอลพีจีเอ ทัวร์เป็นครั้งแรก ในการแข่งขันเจทีบีซี คลาสสิก ที่เมืองคาร์ลสแบด รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565[2]
นับจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 อาฒยา คว้าแชมป์อาชีพในแอลพีจีเอ ทัวร์ ไปแล้ว 2 รายการ และคว้าแชมป์ในเลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ไปอีก 4 รายการ
ประวัติ
[แก้]อาฒยา เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของมนตรี และศิริวรรณ ฐิติกุล อาฒยาในวัยเด็กเป็นโรคภูมิแพ้ ครอบครัวจึงหาทางเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแกร่งขึ้นด้วยการให้หัดเล่นกีฬาสักอย่างหนึ่ง โดยคุณปู่ ณัฐพงศ์ ฐิติกุล ให้เลือกระหว่างกอล์ฟกับเทนนิส ซึ่งทั้งคู่เป็นกีฬาที่สามารถต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคต อาฒยาซึ่งเคยดูการแข่งขันเทนนิสทางโทรทัศน์บ่อย ๆ คิดกับตัวเองว่า หากเล่นเทนนิสจะต้องวิ่งไปมาตลอดเวลาคงเหนื่อยเกินไป จึงตัดสินใจเลือกกอล์ฟซึ่งเป็นกีฬาที่ดูเหนื่อยน้อยกว่าแทน เธอจึงได้หัดเล่นกอล์ฟเมื่ออายุ 6 ขวบ[1][3]
นักกอล์ฟสมัครเล่น
[แก้]อาฒยา เริ่มเป็นที่จับตามองของวงการกอล์ฟทั่วโลก เมื่อเธอชนะการแข่งขัน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ 2017 ซึ่งเป็นรายการใน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ทำให้เธอเป็นนักกอล์ฟที่มีอายุน้อยที่สุดในโลกที่ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ ในวัยเพียง 14 ปี 4 เดือน 19 วัน[4]
อาฒยา ได้เหรียญทอง 2 เหรียญ จากการแข่งขันกอล์ฟ ประเภทบุคคลหญิง และทีมหญิง ในกีฬาซีเกมส์ 2017 ที่ประเทศมาเลเซีย[5] และได้เหรียญทอง จากการแข่งขันกอล์ฟประเภททีมผสมในโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2018 ที่ประเทศอาร์เจนตินา[6][7]
อาฒยา ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพรายการที่ 2 ในขณะที่ยังเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่น เมื่อเธอชนะการแข่งขัน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ 2019 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 เป็นการชนะการแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปี โดยในขณะนั้นเธอมีอายุเพียง 16 ปี[8]
นักกอล์ฟอาชีพ
[แก้]อาฒยา เริ่มเป็นนักกอล์ฟอาชีพ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 เธอเริ่มแข่งขันใน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์
ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564 อาฒยา ชนะการแข่งขัน เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ เป็นครั้งที่ 3 เมื่อเธอชนะการแข่งขัน ทิปสปอร์ต เช็ก เลดีส์ โอเพ่น ที่ประเทศเช็กเกีย และได้รับสิทธิ์ในการแข่งขันรายการกอล์ฟเมเจอร์ 2 รายการ ได้แก่ เอวิยอง แชมเปี้ยนชิพ และ เอไอจี วีเมนส์ โอเพ่น[9][10] อาฒยาคว้าแชมป์ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ รายการที่ 4 ของเธอ และเป็นรายการที่ 2 ของปี ในการแข่งขัน วีพี แบงค์ สวิส เลดีส์ โอเพ่น เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[11]
อาฒยา จบฤดูกาลด้วยผลงานแชมป์ 2 รายการ, รองแชมป์ 3 รายการ และอยู่ใน 10 อันดับแรก อีก 9 รายการ ทำให้เธอคว้ารางวัลคะแนนรวมสูงสุด ตลอดฤดูกาลของ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ และรางวัลรุกกี้ ออฟ เดอะ เยียร์ (รางวัลสำหรับผู้เล่นใหม่ที่ทำคะแนนรวมได้สูงสุด) ทำให้เธอเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลคะแนนรวมสูงสุด ตลอดฤดูกาลของ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์[12]
รายการที่ชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ (15)
[แก้]แอลพีจีเอ ทัวร์ (3)
[แก้]ลำดับ | วันที่ | การแข่งขัน | คะแนน | พาร์ | ระยะห่าง | รองชนะเลิศ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 27 มีนาคม 2565 | เจทีบีซี คลาสสิก | 69-70-69-64=272 | −16 | เพลย์ออฟ | นันนา เคิร์สต์ แมดเซ่น | |
2 | 25 กันยายน 2565 | วอลมาร์ท อาร์คันซอ แชมเปี้ยนชิพ | 67-61-68=196 | −17 | เพลย์ออฟ | แดเนี่ยลล์ คัง | |
3 | 30 มิถุนายน 2566 | Dow Championship (ร่วมกับ Yin Ruoning) |
64-66-66-62=258 | −22 | 1 stroke | Ally Ewing and Jennifer Kupcho |
366,082 (each) |
เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ (4)
[แก้]ลำดับ | วันที่ | การแข่งขัน | คะแนน | พาร์ | ระยะห่าง | รองชนะเลิศ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 9 ก.ค. 2560 | เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ[1] | 70-71-70-72=283 | −5 | 2 สโตรก | อานา เมเนนเดซ |
2 | 23 ก.ค. 2562 | เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนชิพ (2)[1] | 69-67-63-67=266 | −22 | 5 สโตรก | เอสเธอร์ เฮนเซเลท |
3 | 27 มิ.ย. 2564 | ทิปสปอร์ต เช็ก เลดีส์ โอเพ่น | 68-68-65=201 | −15 | 1 สโตรก | นูเรีย อิตูร์ริออซ |
4 | 11 ก.ย. 2564 | วีพี แบงค์ สวิส เลดีส์ โอเพ่น | 68-66-66=200 | −16 | 1 สโตรก | มาเรียนเน่ สคาร์ปนอร์ด |
1 อาฒยา ชนะการแข่งขันในขณะเป็นนักกอล์ฟสมัครเล่น
สถิติเพลย์ออฟ เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ทัวร์ (0–1)
ลำดับ | ปี | การแข่งขัน | คู่แข่ง | ผล |
---|---|---|---|---|
1 | 2564 | อรามโก้ ทีม ซีรีส์ – ลอนดอน | มาเรียนเน่ สคาร์ปนอร์ด | แพ้ให้กับเบอร์ดี้ ในการเพลย์ออฟ หลุมที่ 2 |
สมาคมกีฬากอล์ฟอาชีพสตรี (Thai LPGA Tour) (5)
[แก้]- 2563 (5) สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ แชมเปียนชิป สนาม 3,[13] สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ แชมเปียนชิป สนาม 6,[14] สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ แชมเปียนชิป สนาม 7,[15] สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ แชมเปียนชิป สนาม 8,[16] เมืองไทยประกันภัย ไทยแลนด์ แอลพีจีเอ มาสเตอร์ส[17]
เลดีส์ เอเชียน ทัวร์ (1)
[แก้]No. | Date | Tournament | Winning score | Margin of victory |
Runner-up |
---|---|---|---|---|---|
1 | 23 Dec 2023 | Simone Asia Pacific Cup (individual) | −14 (68-65-69=202) | 7 strokes | Lee Da-yeon |
รายการอื่นๆ (2)
[แก้]- 2564 (1) ฟีนิกซ์ เลดี้ส์ คลาสสิค[18]
- 2023 (1) Simone Asia Pacific Cup - team (ร่วมกับ จารวี บุญจันทร์)
อันดับโลก
[แก้]อันดับจากการจัดอันดับโลกกอล์ฟหญิง ในแต่ละปี
ปี | อันดับโลก | คะแนนเฉลี่ย | อ้างอิง |
---|---|---|---|
2017 | 352 | 0.23 | [19] |
2018 | 245 | 0.42 | [20] |
2019 | 229 | 0.46 | [21] |
2020 | 275 | 0.40 | [22] |
2021 | 19 | 3.27 | [23] |
2022 | 3 | 6.37 | [24] |
2023 | 9 ^ | 5.51 |
- ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
รางวัล
[แก้]- 2021 Race to Costa Del Sol
- 2021 Order of Merit
- 2021 Rookie of the Year
- 2023 LPGA Vare Trophy
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[25]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประวัติ จีน อาฒยา ฐิติกุล นักกอล์ฟสมัครเล่น หมายเลข 1 ของโลก". Golfistathai (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-07-01.
- ↑ "โปรจีน อาฒยา ชนะเพลย์ออฟผงาดคว้าแชมป์กอล์ฟแอลพีจีเอรายการแรกในอาชีพ". ข่าวสด. 2022-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-28.
- ↑ ""อาฒยา" จารึกชื่อกอล์ฟหญิงโลกเปิดใจเป็นสาวกผีแดง". www.siamsport.co.th. 2017-07-11.
- ↑ ""อาฒยา" ซิวแชมป์เลดีส์ยูโรเปียนฯ สร้างประวัติศาสตร์แชมป์อายุน้อยสุด". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ "สุดยอด"โคซูเกะ-อาฒยา"หยิบทองสวิงซีเกมส์". สยามสปอร์ต. 2017-08-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ ""จีน" อาฒยา ฐิติกุล โปรกอล์ฟพลังบวก". stadiumth.com. 2021-11-08.
- ↑ "'อาฒยา-วันชัย' ชนะเด็กเจ้าภาพ+มะกัน คว้าทองกอล์ฟทีมผสม ยูธโอลิมปิก". มติชน. 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ ""อาฒยา" เบิ้ลแชมป์เลดีส์ ยูโรเปี้ยน ไทยแลนด์ สมัยสอง". ผู้จัดการออนไลน์. 2019-06-23. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ "'อาฒยา' ยิ้มรับสิทธิสวิงกอล์ฟเมเจอร์". dailynews. 2021-06-28.
- ↑ "หลุดช่วงแรก "โปรจีน" เร่งเครื่องแซงชนะ 1 สโตรก คว้าแชมป์เช็ก เลดีส์ โอเพ่น". www.thairath.co.th. 2021-06-28.
- ↑ "แรงไม่หยุด! 'โปรจีน' แซงคว้าแชมป์สวิสเลดีส์โอเพ่น". เดลินิวส์. 2021-09-11. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ ""โปรจีน" อาฒยา กวาด 3 รางวัล เลดี้ส์ ยูโรเปี้ยนทัวร์ 2021". พีพีทีวี. 2021-11-29. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ ""อาฒยา" จบ 17 อันเดอร์ ซิวแชมป์ไทยแอลพีจีเอ ที่กบินทร์บุรี". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-07-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ ""อาฒยา" ซิวแชมป์ที่สอง "สิงห์-เอสเอที ไทยแอลพีจีเอ"สนาม 6 ที่พานอราม่า". ไทยพีบีเอส. 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ ""อาฒยา" ซิวแชมป์ไทยแอลพีจีเอ สนาม 7 ที่ขอนแก่น". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-10-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ ""อาฒยา" คว้าแชมป์ไทยแอลพีจีเอสนาม 8 พร้อมครองมือ 1 เงินรางวัลสะสม". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ ""อาฒยา" ซิวแชมป์ ไทยแอลพีจีเอ มาสเตอร์ส ปิดท้ายปี". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-20. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ ""อาฒยา" ซิวแชมป์ ฟีนิกซ์ เลดี้ส์ คลาสสิค ประเดิมไทยดับเบิ้ลยูพีจีเอ". ผู้จัดการออนไลน์. 2021-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2017-12-25.
- ↑ "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2018-12-31.
- ↑ "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-30.
- ↑ "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-28.
- ↑ "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-27.
- ↑ "อันดับโลกนักกอล์ฟหญิง" (ภาษาอังกฤษ). 21 November 2022.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๘๓, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔