อัยรัน
ชื่ออื่น | ชโลมเบ, ชาลัป, ชินีนะฮ์, แชกิลมัสต์, ซีโนกาลา, ดัลเลอ, ดูฆ, เดากา, แด็ว, โด, ทัน, นัมกีนลัสซี, อัยรอน, อัยเรียน, อารีอานี, ไอรัน |
---|---|
ประเภท | ผลิตภัณฑ์นม |
มื้อ | เครื่องดื่ม |
ภูมิภาค | ตุรกี, อิหร่าน |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | เย็นหรืออุ่น |
ส่วนผสมหลัก | โยเกิร์ต, น้ำ, เกลือ |
อัยรัน (ตุรกีและอาเซอร์ไบจาน: ayran) เป็นเครื่องดื่มโยเกิร์ตเย็นที่เป็นที่นิยมในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลาง เอเชียใต้ ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียเหนือ และยุโรปตะวันออก องค์ประกอบหลักคือโยเกิร์ต น้ำ และเกลือ[1][2][3][4] ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ของเครื่องดื่มนี้หรือรูปแบบคล้ายกัน เช่น ชโลมเบ (ปาทาน: شلومبې); ชาลัป (คีร์กีซ: чалап); ชินีนะฮ์ (อาหรับ: شنينة); แชกิลมัสต์ (เคิร์ดเหนือ: çeqilmast); ซีโนกาลา (กรีก: ξινόγαλα); ดัลเลอ (แอลเบเนีย: dhallë); เดากา (ซีรีแอก: ܕܘܓ̄ܐ); แด็ว (เคิร์ดเหนือ: dew); โด (เคิร์ดกลาง: دۆ); ทัน (อาร์มีเนีย: թան); อัยรอน (อาหรับ: عيران); อัยเรียน (บัลแกเรีย: айрян); อารีอานี (กรีก: αριάνι); ไอรัน (กรีกพอนตัส: αΐραν) เป็นต้น
คำว่า อัยรัน มาจากรากศัพท์ในภาษาเตอร์กิกเก่าว่า adır- ซึ่งแปลว่า 'แยก' (เทียบ ayır- 'แยก' ในภาษาตุรกี;[5] เทียบ айраг 'นมม้า' ในภาษามองโกล[6] และเทียบ уйран 'หางเนยเหลว' ในภาษาชูวัช)[7] และได้รับการกล่าวถึงใน ทะเบียนภาษาของกลุ่มชนเตอร์กิก ซึ่งมะห์มูด อัลกาชเฆาะรี รวบรวมไว้ในศตวรรษที่ 11 แต่ไม่ได้ระบุวิธีการทำเอาไว้[8]
เครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่คล้ายกับอัยรันได้แก่ ดูฆ (เปอร์เซีย: دوغ) เป็นเครื่องดื่มหมักของอิหร่าน[9][10] และเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยอิหร่านโบราณ (เปอร์เซีย)[11] เอกสารฉบับหนึ่งในปี 1886 บรรยายว่าดูฆเป็นเครื่องดื่มเย็น ทำมาจากนมที่จับเป็นก้อน แต่งกลิ่นรสด้วยสะระแหน่[12] คำว่า ดูฆ แผลงมาจากคำในภาษาเปอร์เซียว่า ดูชีแดน (دوشیدن) ซึ่งแปลว่า 'รีดนม'[13] เครื่องดื่มอื่นที่คล้ายกันในเอเชียใต้ได้แก่ ลัสซี ซึ่งอาจแตกต่างกับอัยรันและดูฆอยู่บ้าง[14]
การเตรียม
[แก้]อัยรันและดูฆนั้นเสิร์ฟแบบเย็นและมักเสิร์ฟเคียงเนื้อย่างหรือข้าว[15] โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน[16] อัยรันได้จากการผสมโยเกิร์ตกับน้ำเย็นหรือน้ำใส่น้ำแข็ง[17] บางครั้งอาจนำไปอัดลมและแต่งกลิ่นรสด้วยสะระแหน่[13][18] มีการบรรยายถึงเครื่องดื่มนี้ไว้ว่าเป็น "โยเกิร์ตเจือจาง"[19] และ "เครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นที่สุด ทำโดยการผสมโยเกิร์ตกับน้ำใส่น้ำแข็ง"[20]
วิธีการทำเครื่องดื่มนี้ตามธรรมเนียมของกลุ่มชนอิหร่านนั้นใช้นมโดยตรง ไม่ใส่โยเกิร์ต โดยใช้ถุงที่มักทำมาจากหนังกวางหรือหนังแกะ [เรียกว่า แมชก์ (เปอร์เซีย: مشک) ในอิหร่าน และ มัสกา (ดารี: مسکه) ในอัฟกานิสถาน] เริ่มจากการกรอกนมลงไปในถุงหนังสัตว์นั้น จากนั้นเขย่าถุงไปเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง บางครั้งอาจแขวนถุงหนังสัตว์ไว้กับโครงสร้างไม้และเชือกเพื่อช่วยทุ่นแรงในการเขย่า[21][22] ในปากีสถานบางครั้งเรียกดูฆหรืออัยรันว่า นัมกีนลัสซี (อูรดู: نمکین لسی)[23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Tamime, A. Y., บ.ก. (2008). Fermented Milks. John Wiley & Sons. p. 124. ISBN 9781405172387. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-16. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
- ↑ Jacobson, Sarina; Weiner, Danya (2008). Yogurt: More Than 70 Delicious & Healthy Recipes. Sterling. p. 6. ISBN 978-1402747595.
- ↑ Strnadel, Leslie; Erdley, Patrick (2012). Bulgaria. Other Places Travel Guide. Other Places Publishing. p. 58. ISBN 9780982261996. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
- ↑ Nazif Shahrani, M. (2013). The Kirghiz and Wakhi of Afghanistan. University of Washington Press. pp. 92–93. ISBN 9780295803784. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-12. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
- ↑ Maksudovna, Matkarimova Sadokat. "Explanatory Dictionary of Khorezm Dishes.[ลิงก์เสีย]" Electronic Research Journal of Social Sciences and Humanities 2 (2020): 247-252
- ↑ Martine Robbeets; Alexander Savelyev (2017). Language Dispersal Beyond Farming. p. 145. ISBN 9789027212559.
- ↑ Zhazira Otyzbay (September–October 2019). "Türk Dünyası Araştırmaları" (ภาษาตุรกี). 123 (242): 219–232.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Reşat Genç (1997). Kaşgarlı Mahmud'a göre XI. yüzyılda Türk dünyası (ภาษาตุรกี). Türk Kültürünü Araştırma Enstitüsü. p. 248.
- ↑ Nishinari, Katsuyoshi (2019-12-31). Textural Characteristics of World Foods (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. ISBN 978-1-119-43079-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-18. สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.
Doogh is an Iranian type of traditional fermented dairy-based drinks that is usually produced by mixing set or stirred yogurt and water at the same rate, as well as some aqueous extracts of local herbs, and spices such as thyme.
- ↑ Katz, Sandor Ellix (2016). Wild Fermentation: The Flavor, Nutrition, and Craft of Live-Culture Foods, 2nd Edition (ภาษาอังกฤษ). Chelsea Green Publishing. p. 117. ISBN 978-1-60358-628-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-18. สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.
- ↑ Simmons, Shirin (2007). Treasury of Persian Cuisine. Stamford House Publishing. ISBN 978-1-904985-56-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-18. สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.
- ↑ Grosart, Alexander (17 July 1886). "Soor-doock" and "doogh". The Academy and literature. Vol. 30. Blackburn. p. 59. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020.
- ↑ 13.0 13.1 Islamic Republic of Iran (26–29 January 2009). Project Document for a Regional Standard for Doogh (CX/NEA 09/5/8) (PDF). Tunis, Tunisia: United Nations. Joint FAO/WHO food standards programme of the FAO/WHO coordinating committee for the Near East. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-18. สืบค้นเมื่อ 26 June 2011.
- ↑ Nishinari, Katsuyoshi (2019-12-31). Textural Characteristics of World Foods (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. ISBN 978-1-119-43079-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-18. สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.
Doogh consumption is common in Asian countries (e.g. ayran in Turkey, than in Armenia, lassi in southern Asia). However, they may differ from doogh in dilution ratio, rheological characteristics, fat content, and sensory properties.
- ↑ "Turkish Buttermilk". www.kultur.gov.tr. Ministry of Culture and Tourism, Turkey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 5 October 2013.
- ↑ Gina Husamettin (24 May 2013). "Ayran – Turkish national beverage". balkon3.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2013. สืบค้นเมื่อ 5 October 2013.
- ↑ Davis, P. H. (1956). "Lake Van and Turkish Kurdistan: A Botanical Journey". The Geographical Journal. 122 (2): 156–165. doi:10.2307/1790844. JSTOR 1790844.
- ↑ Yildiz Fatih (2010). Development and Manufacture of Yogurt and Other Functional Dairy Products. CRC Press. p. 10. ISBN 9781420082081. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
- ↑ Halici, Nevin (27 April 2013). "Turkish Delights". Gastronomica: The Journal of Critical Food Studies. University of California Press. 1 (1): 92–93. doi:10.1525/gfc.2001.1.1.92.
- ↑ Lake Van and Turkish Kurdistan: A Botanical Journey P. H. Davis The Geographical Journal, Vol. 122, No. 2 (Jun., 1956), pp. 156–165 Published by: The Royal Geographical Society (with the Institute of British Geographers) Article doi:10.2307/1790844
- ↑ "آیین مشک زدن ( استان چهار محال بختیاری )". آپارات - سرویس اشتراک ویدیو. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-28.
- ↑ "تهیه لبنیات مثل ماست، دوغ،روغن، و پنیر روستائی کار ساده ی نیست. - YouTube". www.youtube.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-31. สืบค้นเมื่อ 2020-08-28.
- ↑ Ramineni, Shubhra (2012). Entice With Spice: Easy Indian Recipes for Busy People. ISBN 9781462905270.
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่สิงหาคม 2024
- บทความที่มีข้อความภาษาเคิร์ดแบบคูร์มันจี
- บทความที่มีข้อความภาษาเคิร์ดแบบโซรานี
- บทความที่มีข้อความภาษากรีกพอนตัส
- บทความที่มีข้อความภาษาเตอร์กิกเก่า
- โยเกิร์ต
- เครื่องดื่มปากีสถาน
- เครื่องดื่มอิหร่าน
- เครื่องดื่มอัฟกานิสถาน
- เครื่องดื่มอาร์มีเนีย
- เครื่องดื่มตุรกี
- เครื่องดื่มมองโกเลีย
- เครื่องดื่มกรีก