ข้ามไปเนื้อหา

อันตรกิริยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อันตรกิริยา (อังกฤษ: Interaction) เป็นชนิดของการกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ สองหรือมากกว่า มีผล ซึ่งกันและกัน ความคิดผลสองทางมีความสำคัญต่อแนวคิดอันตรกิริยาการมีผลทางเดียว การผสมผสานของอันตรกิริยาหลายๆ อันตรกิริยานำไปสู่การอุบัติ (emergent) ของปรากฏการณ์ ซึ่งมีความแตกต่างของความหมายในหลายๆ ศาสตร์

ตัวอย่างอันตรกิริยาที่อยู่นอกเหนือวิทยาศาสตร์:

เคมีและการแพทย์

[แก้]

ในทางการแพทย์ ยาส่วนใหญ่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยร่วมกับยาอื่น แต่การใช้ยาหลายๆตัวร่วมกันจำเป็นจะต้องติดตามดูอันตรกิริยาโดยเภสัชกร

อันตรกิริยาระหว่างยาเป็นหนึ่งในสองปัจจัยสำคัญดังนี้;

  • เภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamic) เกี่ยวข้องกับฤทธิ์ของยาสองตัวที่มีอันตรกิริยาต่อร่างกาย และ
  • เภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetic) เกี่ยวข้องกับ การดูดซึม การกระจายตัว การเผาผลาญ และการขับถ่าย ของยาทั้งหมด

บางครั้งการใช้ยาตั้งแต่สองตัวขึ้นไปร่วมกันจะทำให้มีผลพิเศษเกิดขึ้นมา เช่น การใช้ยาแก้ปวด สองตัวร่วมกันจะควบคุมความปวดได้ดีขึ้น ซึ่งก็ควรได้รับการติดตามดดูแลจากเภสัชกรอย่างใกล้ชิด ในทางตรงกันข้ามก็มียาบางตัวที่ผลหักล้างกัน

ฟิสิกส์

[แก้]

อันตรกิริยา(interaction)หมายถึงแรงระหว่างอนุภาค มี 4ชนิด เท่าที่ทราบคือ แรงโน้มถ่วง,แรงแม่เหล็กไฟฟ้า,แรงนิวเคลียร์แบบเข้มและแบบอ่อน

ดูเพิ่ม

[แก้]