ชั้นฐานสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชั้นฐานสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยพาลีโอซีนสมัยโฮโลซีน, 66–0Ma
Marsupialia.jpg
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
ไม่ได้จัดลำดับ: เมทาเธอเรีย
ชั้นฐาน: สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง
Illiger, 1811
อันดับ
Marsupial biogeography present day - dymaxion map.png
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง (สีเขียว-ถิ่นที่ถูกนำเข้า, สีน้ำเงิน-ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม]])
ชื่อพ้อง
  • Metatheria Huxley, 1880

สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง หรือ สัตว์มีถุงหน้าท้อง (อังกฤษ: Marsupial) เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในชั้นฐานมาร์ซูเพียเลีย (Marsupialia)

สัตว์ในชั้นฐานนี้ มีความแตกต่างและหลากหลายในแง่ของรูปร่าง ลักษณะ และขนาดเป็นอย่างมาก แต่มีลักษณะเด่นที่มีความเหมือนกันประการหนึ่ง คือ จะออกลูกเป็นตัว โดยตัวเมียมีถุงหน้าท้อง ตัวอ่อนของสัตว์ในอันดับนี้เจริญเติบโตในมดลูกในช่วงระยะเวลาสั้น มีสะดือและสายรกด้วย แล้วจะคลานย้ายมาอยู่ในถุงหน้าท้องดูดกินนมจากแม่ ก่อนจะเจริญเติบโตในถุงหน้าท้องหรือกระเป๋าหน้าท้องนี้จนโต บางครั้งเมื่อยังโตไม่เต็มที่ จะเข้า-ออกระหว่างข้างออกกับกระเป๋าหน้าท้องเป็นปกติ[1]

ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ จิงโจ้, โคอาลา, โอพอสซัม, ชูการ์ไกลเดอร์, วอมแบต, แทสเมเนียนเดวิล เป็นต้น ซึ่งสัตว์ในชั้นฐานนี้ล้วนแต่จะพบเฉพาะในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของนิวกินี และพบในบางส่วนของทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น หมาป่าแทสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus) หรือไดโปรโตดอน (Diprotodon spp.) เป็นต้น[2] [3]

โดยคำว่า Marsupialia นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า "กระเป๋า หรือ ถุง"[4]

วิวัฒนาการ[แก้]

สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง วิวัฒนาการหรือการกลายพันธุ์มาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรูปร่างคล้ายหนู ที่ชื่อ "ไซโนเดลฟิส" ที่มีอายุเมื่อกว่า 125 ล้านปีก่อนที่จีน ไซโนเดลฟิสมีความยาว 6 ฟุต แต่มีน้ำหนักเพียง 1 ออนซ์ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการปีนป่ายไปตามต้นไม้

หลักฐานทางฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง พบที่ยูทาห์ มีอายุ 110 ล้านปีมาแล้ว ในสมัยที่ทวีปต่าง ๆ ยังคงยึดติดกันเป็นแผ่นใหญ่ คือ กอนด์วานา

ปัจจุบัน ที่ออสเตรเลียมีสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องแยกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 156 ชนิด[5] ขณะที่อเมริกาใต้มีประมาณ 60 ชนิด [6]

Marsupialia

DidelphimorphiaA hand-book to the marsupialia and monotremata (Plate XXXII) (white background).jpg




PaucituberculataPhylogenetic tree of marsupials derived from retroposon data (Paucituberculata).png


Australidelphia

Microbiotheria




DiprotodontiaA monograph of the Macropodidæ, or family of kangaroos (9398404841) white background.jpg




NotoryctemorphiaPhylogenetic tree of marsupials derived from retroposon data (Notoryctemorphia).png




DasyuromorphiaPhylogenetic tree of marsupials derived from retroposon data (Dasyuromorphia).png 



PeramelemorphiaPhylogenetic tree of marsupials derived from retroposon data (Paramelemorphia).png









อ้างอิง[แก้]

  1. "การจำแนกหมวดหมู่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-09. สืบค้นเมื่อ 2012-03-30.
  2. ยักษ์ใหญ่ที่สาบสูญ โดยเนชั่นแนล จีโอกราฟิก
  3. Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E., and Reeder, D. M. (eds). ed. Mammal Species of the World (3rd edition ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 23. ISBN 0-801-88221-4. http://www.bucknell.edu/msw3/browse.asp?id=10800004 เก็บถาวร 2012-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. หน้า 18, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
  5. Australia. "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2555
  6. "สารคดี มนต์เสน่ห์แห่งอเมริกาใต้ (WILD SOUTH AMERICA - ANDES TO AMAZON) ตอนที่ 1 คลิป 1". ช่อง 7. 14 December 2014. สืบค้นเมื่อ 14 December 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]