ข้ามไปเนื้อหา

ออลกา ลาดืยเจนสกายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออลกา ลาดืยเจนสกายา
เกิดออลกา อะเลคซันดรอฟนา ลาดืยเจนสกายา
7 มีนาคม ค.ศ. 1922(1922-03-07)
โคโลกริฟ โซเวียตรัสเซีย
เสียชีวิต12 มกราคม ค.ศ. 2004(2004-01-12) (81 ปี)
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย
สัญชาติโซเวียตรัสเซีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมอสโก
มีชื่อเสียงจากพลศาสตร์ของไหลของสมการนาเวียร์-สโตกส์
ปัญหาของฮิลเบิร์ทข้อที่สิบเก้า
สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย
รางวัลเหรียญทองโลโมโนซอฟ (2002)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกอีวาน เปตรอฟสกี
เซียร์เกย์ โซโบเลฟ
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงนีนา อูรัลเซวา
ลุดวิก ฟัดเดเยฟ
วลาดิมีร์ บุสลาเอฟ

ออลกา อะเลคซันดรอฟนา ลาดืยเจนสกายา (รัสเซีย: Óльга Алекса́ндровна Лады́женская; อังกฤษ: Olga Aleksandrovna Ladyzhenskaya; 7 มีนาคม ค.ศ. 1922 – 12 มกราคม ค.ศ. 2004) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานเกี่ยวกับสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย (โดยเฉพาะปัญหาข้อที่สิบเก้าของฮิลเบิร์ท)และพลศาสตร์ของไหล[1] เธอเป็นคนแรกที่เสนอข้อพิสูจน์การลู่เข้าของระเบียบวิธีผลต่างจำกัด (finite difference method) ของสมการนาเวียร์-สโตกส์ เธอเป็นลูกศิษย์ของอีวาน เปตรอฟสกี[2] และได้รับรางวัลเหรียญทองโลโมโนซอฟใน ค.ศ. 2002

ลาดืยเจนสกายาเกิดและเติบโตที่เมืองโคโลกริฟ บิดาของเธอเป็นครูสอนคณิตศาสตร์และเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เธอสนใจคณิตศาสตร์ ใน ค.ศ. 1937 บิดาของเธอถูกหน่วยพลาธิการกิจการภายในประชาชนจับกุมในฐานะ "ศัตรูของประชาชน" และถูกสังหาร ลาดืยเจนสกายาจบชั้นมัธยมปลายใน ค.ศ. 1939 แต่ไม่สามารถเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเลนินกราดได้เนื่องจากสถานะศัตรูของประชาชนของบิดา[3] เธอเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยมอสโกใน ค.ศ. 1943 จบการศึกษาใน ค.ศ. 1947 และนำเสนอวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกใน ค.ศ. 1953 ก่อนจะไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยในเลนินกราดและที่สถาบันสเตคลอฟ[3]

ใน ค.ศ. 1958 ลาดืยเจนสกายาได้รับการเสนอชื่อเข้ารับเหรียญฟีลดส์[4] ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลได้แก่เคลาส์ รอธ นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษและเรอเน ตอม นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส

เซิร์ชเอนจินกูเกิลได้เผยแพร่กูเกิล ดูเดิลเพื่อยกย่องผลงานของเธอเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2019 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดปีที่ 97 ของเธอ[5] [6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. See reference Bolibruch, Osipov & Sinai 2006, and also the comment of Peter Lax in (Pearce 2004).
  2. See the biography by Riddle (2010) from the Biographies of Women Mathematicians, Agnes Scott College.
  3. 3.0 3.1 "Ladyzhenskaya, Olga Alexandrovna". www.encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 2019-03-07.
  4. Barany, Michael (2018). "The Fields Medal should return to its roots". Nature. 553: 271–273. doi:10.1038/d41586-018-00513-8.
  5. "Olga Ladyzhenskaya's 97th Birthday". Google. 7 March 2019. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.
  6. "Google Doodle: Who was Russian mathematician Olga Ladyzhenskay?". Evening Standard (ภาษาอังกฤษ). 2019-03-06. สืบค้นเมื่อ 2019-03-07.