เหรียญฟีลดส์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เหรียญฟีลดส์ | |
---|---|
ด้านหน้าของเหรียญฟีลดส์ | |
รางวัลสำหรับ | ผลงานที่โดดเด่นในวิชาคณิตศาสตร์ อันเนื่องมาจากนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ |
ประเทศ | แตกต่างกันไป |
จัดโดย | สหภาพคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ (IMU) |
รางวัล | 15,000 ดอลลาร์แคนาดา |
รางวัลแรก | 1936 |
รางวัลสุดท้าย | ค.ศ. 2022 |
เว็บไซต์ | Mathunion.org |
เหรียญฟีลดส์ (อังกฤษ: Fields Medal) เป็นรางวัลที่มอบให้แก่นักคณิตศาสตร์จำนวน 2-4 คน ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี ในการประชุมคณิตศาสตร์นานาชาติของสหภาพคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Mathematics Union หรือ IMU) ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี รางวัลเหรียญฟีลดส์ได้รับการยอมรับในวงกว้างว่าเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดสำหรับนักคณิตศาสตร์
รางวัลนี้มอบให้พร้อมกับเงินรางวัลเป็นจำนวน 15,000 ดอลลาร์แคนาดา (ตั้งแต่ปี 2006)[1][2] เหรียญฟีลดส์ก่อตั้งโดยความประสงค์ของนักคณิตศาสตร์ชาวแคนาดา จอห์น ชาร์ลส์ ฟีลดส์ (John Charles Fields) มอบรางวัลครั้งแรกในปี 1936 แก่นักคณิตศาสตร์ชาวฟินแลนด์ชื่อ ลาร์ส อาห์ลฟอร์ (Lars Ahlfors) และนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เจสส์ ดักลาส (Jesse Douglas) และจัดมอบทุก ๆ 4 ปีมาตั้งแต่ปี 1950 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและให้เกียรตินักวิจัยวัยหนุ่มสาวที่อุทิศตนเพื่องานด้านคณิตศาสตร์
ภาพรวม
[แก้]เหรียญฟีลดส์ มักถูกเรียกว่าเป็น "รางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์" แต่การเรียกแบบนี้อาจไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากเหรียญฟีลดส์จัดขึ้นทุกๆ 4 ปี อีกทั้งยังจำกัดอายุของผู้รับรางวัลไม่ให้เกิน 40 ปี ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการมอบรางวัล อีกทั้งยังมีเงินรางวัลที่มอบให้น้อยกว่าเงินรางวัลของรางวัลโนเบลอยู่มาก ประการสุดท้ายคือ เมื่อพิจารณาในส่วนปาฐกถาแล้ว เหรียญฟีลดส์มอบรางวัลให้แก่ผลงานทั้งหมด ไม่ใช่ผลงานบางส่วน
รางวัลหลักทางคณิตศาสตร์อื่นๆ เช่น รางวัลอาเบล (Abel Prize) หรือ รางวัลวูล์ฟสาขาคณิตศาสตร์ (Wolf Prize in Mathematics) มอบให้กับผลงานโดยรวม ซึ่งทำให้แตกต่างจากรางวัลโนเบล แม้ว่ารางวัลอาเบลจะมีเงินรางวัลมากเหมือนรางวัลโนเบลก็ตาม
รายชื่อผู้ได้รับรางวัล
[แก้]- ค.ศ. 2022: Hugo Duminil-Copin (ฝรั่งเศส), June Huh (สหรัฐอเมริกา), James Maynard (อังกฤษ), Maryna Viazovska (ยูเครน)
- ค.ศ. 2018: Caucher Birkar (อิหร่าน), Alessio Figalli (อิตาลี), Peter Scholze (เยอรมนี), Akshay Venkatesh (อินเดีย/ออสเตรเลีย)
- ค.ศ. 2014: Artur Avila (บราซิล), Manjul Bhargava (แคนาดา), Martin Hairer (ออสเตรีย), Maryam Mirzakhani (อิหร่าน)
- ค.ศ. 2010: Elon Lindenstrauss (อิสราเอล), Ngô Bảo Châu (เวียดนาม), Stanislav Smirnov (รัสเซีย), Cédric Villani (ฝรั่งเศส)
- ค.ศ. 2006: Andrei Okounkov (รัสเซีย), Grigori Perelman (รัสเซีย) (ปฏิเสธรางวัล), Terence Tao (ออสเตรเลีย), Wendelin Werner (ฝรั่งเศส)
- ค.ศ. 2002: Laurent Lafforgue (ฝรั่งเศส), Vladimir Voevodsky (รัสเซีย)
- ค.ศ. 1998: Richard Ewen Borcherds (สหราชอาณาจักร), William Timothy Gowers (สหราชอาณาจักร), Maxim Kontsevich (รัสเซีย), Curtis T. McMullen (สหรัฐอเมริกา)
- ค.ศ. 1994: Efim Isakovich Zelmanov (รัสเซีย), Pierre-Louis Lions (ฝรั่งเศส), Jean Bourgain (เบลเยียม), Jean-Christophe Yoccoz (ฝรั่งเศส)
- ค.ศ. 1990: Vladimir Drinfeld (สหภาพโซเวียต), Vaughan Frederick Randal Jones (นิวซีแลนด์), Shigefumi Mori (ญี่ปุ่น), Edward Witten (สหรัฐอเมริกา)
- ค.ศ. 1986: Simon Donaldson (สหราชอาณาจักร), Gerd Faltings (เยอรมนีตะวันตก), Michael Freedman (สหรัฐอเมริกา)
- ค.ศ. 1982: Alain Connes (ฝรั่งเศส), William Thurston (สหรัฐอเมริกา), Shing-Tung Yau (จีน/สหรัฐอเมริกา)
- ค.ศ. 1978: Pierre Deligne (เบลเยียม), Charles Fefferman (สหรัฐอเมริกา), Grigory Margulis (สหภาพโซเวียต), Daniel Quillen (สหรัฐอเมริกา)
- ค.ศ. 1974: Enrico Bombieri (อิตาลี), David Mumford (สหรัฐอเมริกา)
- ค.ศ. 1970: Alan Baker (สหราชอาณาจักร), Heisuke Hironaka (ญี่ปุ่น), Sergei Petrovich Novikov (สหภาพโซเวียต), John Griggs Thompson (สหรัฐอเมริกา)
- ค.ศ. 1966: Michael Atiyah (สหราชอาณาจักร), Paul Joseph Cohen (สหรัฐอเมริกา), Alexander Grothendieck (ฝรั่งเศส), Stephen Smale (สหรัฐอเมริกา)
- ค.ศ. 1962: Lars Hörmander (สวีเดน), John Milnor (สหรัฐอเมริกา)
- ค.ศ. 1958: Klaus Roth (สหราชอาณาจักร), René Thom (ฝรั่งเศส)
- ค.ศ. 1954: Kunihiko Kodaira (ญี่ปุ่น), Jean-Pierre Serre (ฝรั่งเศส)
- ค.ศ. 1950: Laurent Schwartz (ฝรั่งเศส), Atle Selberg (นอร์เวย์)
- ค.ศ. 1936: Lars Ahlfors (ฟินแลนด์), Jesse Douglas (สหรัฐอเมริกา)
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]- ปี 1954 Jean-Pierre Serre เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลที่อายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 27 ปี
- ปี 1966 Alexander Grothendieck ปฏิเสธที่จะรับรางวัล เพื่อประท้วงการรุกรานของโซเวียตในยุโรปตะวันออก Léon Motchane ทำหน้าที่เป็นผู้รับรางวัลแทนเขา
- ปี 1970 Sergei Novikov ถูกรัฐบาลโซเวียตกดดันไม่ให้รับรางวัลดังกล่าว
- ปี 1978 Grigory Margulis ถูกรัฐบาลโซเวียตกดดันไม่ให้รับรางวัลดังกล่าว Jacques Tits ทำหน้าที่เป็นผู้รับรางวัลแทนเขา
- ปี 1982 มีการเลื่อนการประชุมไปในปีถัดไป เนื่องจากมีการประกาศกฎอัยการศึกในวอร์ซอ รางวัลถูกมอบในปีต่อมา
- ปี 1990 Edward Witten เป็นนักฟิสิกส์คนแรกที่ได้รับรางวัล
- ปี 1998 Andrew Wiles ได้รับโล่เงินประกาศเกียรติคุณเป็นคนแรก จากผลงานการพิสูจน์ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา ถึงแม้ว่าไวลส์จะมีอายุเกิน 40 ปีในตอนที่ได้รับรางวัลแล้วก็ตาม (ไวลส์ตีพิมพ์บทพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้ตอนอายุ 41 ปี)
- ปี 2006 กริกอรี เพเรลมาน (Grigori Perelman) ผู้พิสูจน์ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร ปฏิเสธที่จะรับรางวัลดังกล่าว
- ปี 2014 Maryam Mirzakhani เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัล[3] และ Artur Avila เป็นนักคณิตศาสตร์ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้คนแรกที่ได้รับรางวัล[4]
เหรียญรางวัล
[แก้]เหรียญรางวัล ออกแบบและสร้างโดยประติมากรชาวแคนาดาชื่อ Robert Tait McKenzie ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปของอาร์คิมิดีส (Archimedes) และมีข้อความเป็นภาษาลาติน ว่า "Transire suum pectus mundoque potiri" (เจริญเหนือตนเองและเข้าใจโลก)
ด้านหลังของเหรียญมีจารึกเป็นภาษาลาตินว่า
- CONGREGATI
- EX TOTO ORBE
- MATHEMATICI
- OB SCRIPTA INSIGNIA
- TRIBUERE
(แปลว่า "นักคณิตศาสตร์ผู้ประชุมจากทั่วโลกมอบรางวัล [นี้] สำหรับงานเขียนโดดเด่น")
ในส่วนพื้นหลังแสดงหลุมศพของอาร์คิมีดีส ซึ่งสลักทฤษฎีบทของเขาไว้ (ทรงกลมบรรจุในทรงกระบอกที่มีความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากัน) และมีกิ่งไม้อยู่ด้านหลัง
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Maths genius turns down top prize". BBC. 22 August 2006. สืบค้นเมื่อ 22 August 2006.
- ↑ Israeli wins 'Nobel' of Mathematics, JPost.com
- ↑ [1]
- ↑ [2]