หวาง ซีโหว
หวาง ซีโหว | |
---|---|
เกิด | ค.ศ. 1713 อำเภอซินชาง (ปัจจุบันคืออำเภออี๋เฟิง) มณฑลเจียงซี |
เสียชีวิต | 1777 (อายุ 63–64) |
สัญชาติ | จีน |
อาชีพ | นักวิชาการ |
พิพากษาลงโทษฐาน | กระทำความผิด |
ข้อหา | ฝ่าฝืนข้อห้ามเรื่องการระบุชื่อเกี่ยวข้องกับพระนามของจักรพรรดิคังซี |
ชื่อภาษาจีน | |
อักษรจีนตัวเต็ม | 王錫侯 |
อักษรจีนตัวย่อ | 王锡侯 |
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Wáng Xīhóu |
ชื่อรอง | |
อักษรจีนตัวเต็ม | 韓伯 |
อักษรจีนตัวย่อ | 韩伯 |
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Hánbó |
หวาง ซีโหว (จีน: 王錫侯; พินอิน: Wáng Xīhóu; ค.ศ. 1713–1777) ชื่อรอง หานปั๋ว (韓伯; Hánbó) เป็นนักวิชาการชาวจีนจากอำเภอซินชาง (ปัจจุบันคืออำเภออี๋เฟิง มณฑลเจียงซี) ผู้มีชีวิตในยุคราชวงศ์ชิง[1] หวาง ซีโหวถูกประหารชีวิตตตามนโยบายการไต่สวนวรรณกรรมของราชสำนักชิงในรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง
ประวัติ
[แก้]หวาง ซีโหวเกิดในปี ค.ศ. 1713 เมื่ออายุ 5 ปี เริ่มศึกษากับหวาง จิ่ง-ยฺหวิน (王景雲) พี่ชาย และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนัยวิเคราะห์ของตำราจีนโบราณขณะอายุ 8 ปี[2] หวาง ซีโหวขังตัวเองไว้ในห้อง ศึกษาตำราทั้งวันทั้งคืน และรีบอาหารที่ปรุงในบ้านผ่านทางรอยแตกขนาดเล็ก

หวาง ซีโหวได้เป็นข้าราชการ-นักวิชาการขณะอายุ 38 ปี หวาง ซีโหวเขียนหนังสือชื่อจื้อกว้าน (字貫) ซึ่งวิพากย์วิจารณ์พจนานุกรมคังซีและพิมพ์พระนามของจักรพรรดิคังซีโดยโดยไม่ละเว้นขีดใด ๆ ในตัวอักษรตามที่กำหนดไว้โดยข้อห้ามเรื่องการระบุชื่อของจีน เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงทรงทราบเรื่องนี้ในปี ค.ศ. 1777 หวาง ซีโหวจึงถูกจำคุกในกรุงปักกิ่งและถูกตัดสินโทษประหารชีวิตเก้าชั่วโคตรซึ่งเป็นโทษประหารชีวิตที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ อย่างไรก็ตามดังเช่นกรณีปกติในการไต่สวนวรรณกรรม จักพรรดิทรงลดโทษโดยพระราชทานอภัยโทษแก่ญาติและหลานชายของหวาง ซีโหวทั้งหมด เหลือเพียงโทษประหารชีวิตตามการพิจารณาความที่การพิจารณาคดีฤดูใบไม้ร่วง (ชิวเฉิ่น 秋審) ซึ่งในระหว่างนั้นคดีจะถูกพิจารณาทบทวนและโดยทั่วไปจะละเว้นโทษประหารชีวิต คำตัดสินโทษของหวาง ซีโหวได้รับการลดจากการประหารชีวิตด้วยการเชือดเนื้อเป็นพันครั้งจนตายมาเป็นโทษประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ[3]