หลวงปราโมทย์จรรยาวิภาช (ปราโมทย์ จันทวิมล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช
(ปราโมทย์ จันทวิมล)

หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช
ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2508
เกิดปราโมทย์
23 มีนาคม พ.ศ. 2446
เมืองจันทบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (70 ปี)
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
สาเหตุเสียชีวิตหัวใจวาย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2463 – พ.ศ. 2516
นายจ้างธนาคารไทยพาณิชย์
องค์การกระทรวงศึกษาธิการ
มีชื่อเสียงจากผู้ที่มีความสำคัญต่อวงการศึกษาของไทย
คู่สมรสทัสนีย์ ประโมทย์จรรยาวิภาช
บุตร2 คน
บุพการีเหม็ง จันทวิมล
วรรณ จันทวิมล
ญาติอภัย จันทวิมล (น้องชาย)
ครอบครัวจันทวิมล

รองอำมาตย์เอก หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช[1] นามเดิม ปราโมทย์ จันทวิมล (23 มีนาคม พ.ศ. 2446 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516) อดีตประธานกรรมการองค์การค้าของคุรุสภา ในราชการเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาชีวศึกษา และเคยทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จนถึงเกษียณอายุ และเป็นพี่ชายของอภัย จันทวิมล อดีตปลัด, รัฐมนตรีช่วย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ตำแหน่ง[แก้]

ผลงาน[แก้]

วิทยาลัยวิชาการศึกษา หรือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการวิทยาลัยวิชาการศึกษา อันประกอบด้วย

  1. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประธานกรรมการ
  2. หลวงสวัสดิสารศาสตร์พุทธิ กรรมการ
  3. หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช กรรมการ
  4. นายอภัย จันทวิมล กรรมการ
  5. นายวิทูร ทิวทอง กรรมการ
  6. นายสนั่น สุมิตร กรรมการ
  7. นายเยื้อ วิชัยดิษฐ กรรมการ
  8. นายเชื้อ สาริมาน กรรมการ
  9. นายพร ทองพูนศักดิ์ กรรมการ
  10. นายรอง ศยามานนท์ กรรมการ
  11. หม่อมหลวงบุญเหลือ กุญชร กรรมการ
  12. นางสมัยสวาท พงศ์ทัต กรรมการ
  13. นายสวัสดิ์ สิงหพงษ์ กรรมการ
  14. นายสาโรช บัวศรี กรรมการและเลขานุการ
  • ในการประชุมคณะกรรมการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ครั้งที่ 17 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2496 เรื่องที่ 7 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประธานกรรมการกล่าวเปิดประชุม และแถลงว่า เพื่อที่จะให้กิจการด้านฝึกหัดครูได้ขยายตัวกว้างขวางยิ่งขัน “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ณ ถนนประสานมิตร”เดิมจึงได้เปลี่ยนรูปมาเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นบริหารงานให้เหมาะสมกับงานที่ขยายออกไป และประธานกรรมการได้ถือโอกาสแสดงความยินดี ที่คณะกรรมการชุดใหม่จะได้ดำเนินงานอันสำคัญต่อไป

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. บทละครเรื่อง เงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คุรุสภาพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช (ปราโมทย์ จันทวิมล) ม.ว.ม.,ป.ช.,ต.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพุธที่ ๒๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๙๗๑, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]