หน่วยยุทธวิธีตำรวจ
หน่วยยุทธวิธีตำรวจ (อังกฤษ: police tactical unit: PTU)[a] เป็นหน่วยตำรวจเฉพาะทางที่ได้รับการฝึกพร้อมอุปกรณ์สำหรับรับมือกับสถานการณ์ที่อยู่นอกเหนือความสามารถของหน่วยบังคับใช้กฎหมายทั่วไป เนื่องจากระดับความรุนแรง (หรือความเสี่ยงต่อความรุนแรง) ของสถานการณ์สูง[2][3][4] ภารกิจของหน่วยยุทธวิธีตำรวจอาจจะรวมไปถึง: การดำเนินการตรวจค้นตามหมายค้นที่มีความเสี่ยงและการจับกุมบุคคลอันตรายตามหมายจับ จับกุมหรือยุติความรุนแรงจากบุคคลอันตรายหรือบุคคลที่มีอาการความผิดปกติทางจิตที่ติดอาวุธ และแทรกแซงสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การดวลปืน, การปิดล้อม, การจับตัวประกัน และการก่อการร้าย[5][6]
คำนิยาม
[แก้]หน่วยยุทธวิธีตำรวจ เป็นหน่วยเฉพาะทางที่ประกอบไปด้วยบุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกและการฝึกชุดทักษะสำหรับปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วย ตามหลักการใช้กำลัง รวมไปถึงกำลังร้ายแรงสำหรับการต่อต้านการก่อการร้าย[8] หน่วยยุทธวิธีตำรวจมียุทโธปกรณ์เฉพาะด้านทั้งของตำรวจและทหารสำหรับปฏิบัติการ[9] และอาจจะได้รับการฝึกเกี่ยวกับทักษะการเจรจาต่อรองในสถานการณ์วิกฤติด้วย[10]
หน่วยยุทธวิธีตำรวจอาจเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังตำรวจภายใต้อำนาจของเจ้าหน้าที่พลเรือน[11] หรือกองกำลังแบบภูธรภายใต้อำนาจของเจ้าหน้าที่พลเรือน (กระทรวงมหาดไทย) หรือกระทรวงกลาโหมที่อาจจะมีสถานะทางการทหาร[12][11] หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐบาลอาจมีการตั้งหน่วยพิเศษขึ้นมาเพื่อเทียบเคียงกัน มีการฝึก และยุทโธปกรณ์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น หน่วยยามชายแดน หน่วยยามฝั่ง ศุลกากร หรือหน่วยทัณฑ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเทศ[13]
ในสหรัฐ หน่วยยุทธวิธีตำรวจรู้จักกันในชื่อของ หน่วยอาวุธและยุทธวิธีพิเศษ (สวาต)[14][15] คำนี้มาจากกรมตำรวจฟิลาเดลเฟียและกรมตำรวจลอสแอนเจลิสในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960[16][14][17] ในออสเตรเลีย รัฐบาลกลางใช้คำว่ากลุ่มยุทธวิธีตำรวจ (police tactical group: PTG)[3] ในขณะที่สหภาพยุโรปใช้คำว่าหน่วยแทรกแซงพิเศษสำหรับหน่วยยุทธวิธีตำรวจต่อต้านการก่อการร้ายระดับชาติ[18]
ลักษณะเฉพาะ
[แก้]หน่วยยุทธวิธีตำรวจมีความคล้ายคลึงกันกับหน่วยรบพิเศษของกองทัพ เช่น การจัดหน่วย การคัดเลือก การฝึก ยุทโธปกรณ์ และวิธีการในการปฏิบัติการ[19][20] หน่วยยุทธวิธีตำรวจคล้ายกับหน่วยทหาร ไม่มีความหลากหลายทางเพศ ทำให้มีสมาชิกที่เป็นเพศหญิงน้อย[21][22]
สำหรับ "ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายบางอย่าง เช่น การช่วยเหลือตัวประกัน มีการกำหนดบทบาท ยุทธวิธี และกองกำลังมาบรรจบกัน เมื่อนำไปใช้กับความขัดแย้งด้วยอาวุธหรือบทบาทตำรวจ"[23] นอกเหนือจากการต่อต้านการก่อการร้ายแล้ว บทบาทของตำรวจและหน่วยทหารยังมีความแตกต่างกัน ในส่วนของหน่วยทหารสามารถส่งผลในการใช้กำลังที่ได้รับอนุญาตสูงสุดเพื่อการรบกับกองกำลังของข้าศึก ในขณะที่หน่วยตำรวจสามารถใช้กำลังเพียงเล็กน้อยให้พอที่จะปราบผู้ต้องสงสัยในคดีอาญา รวมไปถึงการเจรจาต่อรอง[24][25][26]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ วรรณกรรมเชิงวิชาการ (academic literature) บางชิ้นจากอเมริกาเหนือใช้คำว่า "หน่วยตำรวจกึ่งทหาร" (police paramilitary unit: PPU) ในการอธิบายหน่วยยุทธวิธีตำรวจ[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Alvaro 2000, p. 3.
- ↑ Alvaro, Sam (2000). Tactical law enforcement in Canada; an exploratory survey of Canadian police agencies (วิทยานิพนธ์). Carleton University. p. 1,37,51-52. ISBN 9780612484191. สืบค้นเมื่อ 29 August 2021.
- ↑ 3.0 3.1 Australia-New Zealand Counter-Terrorism Committee (2017). Active Armed Offender Guidelines for Crowded Places (PDF). Commonwealth of Australia. p. 3. ISBN 9781925593976. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ Rantatalo, Oscar (2013). Sensemaking and organising in the policing of high risk situations: focusing the Swedish Police National Counter-Terrorist Unit (PDF) (วิทยานิพนธ์). Umeå: Department of Education, Umeå University. p. 15,32. ISBN 9789174596991. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ Alvaro 2000, p. 99-103.
- ↑ NTOA 2018, p. 10.
- ↑ Alvaro 2000, p. 39-40.
- ↑ NTOA (April 2018). "Tactical Response and Operations Standard for Law Enforcement Agencies" (PDF). p. 12,34,38. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
- ↑ NTOA 2018, p. 45.
- ↑ NTOA 2018, p. 35.
- ↑ 11.0 11.1 Alvaro 2000, p. 40.
- ↑ Lutterbeck, Derek (2013). The Paradox of Gendarmeries : Between Expansion, Demilitarization and Dissolution (PDF). SSR PAPER 8. Geneva: Geneva Centre for the Democratic Control of Armed Forces (DCAF). p. 7. ISBN 9789292222864. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-08. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
- ↑ Alvaro 2000, p. 44.
- ↑ 14.0 14.1 Rantatalo 2013, p. 15.
- ↑ Alvaro 2000, p. 72.
- ↑ Mitchel P. Roth & James Stuart Olson, Historical Dictionary of Law Enforcement, Westport, Ct: Greenwood Publishing Group, 2001, p. 333 and; John S. Dempsey & Linda S. Forst, An Introduction to Policing, Clifton Park, NY: Delmar Cengage Learning, 2011, p. 276.
- ↑ Alvaro 2000, p. 27-28.
- ↑ On the improvement of cooperation between the special intervention units of the Member States of the European Union in crisis situations, Council Decision มาตรา 2008/617/JHA ประกาศใช้เมื่อ 23 June 2008
- ↑ North Atlantic Treaty Organization (18 December 2020). NATO Glossary of Terms and Definitions (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ฝรั่งเศส). Vol. AAP-06 (2020 ed.). Brussels: NATO Standardization Agency. p. 119. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 June 2021.
- ↑ Alexander, John B (July 2010). "4: Comparison between SOF and Law Enforcement Agencies". Convergence: Special Operations Forces and Civilian Law Enforcement (Report). JSOU report 10-6. MacDill Air Force Base, Florida: Joint Special Operations University (JSOU) Press. pp. 48–62. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-28. สืบค้นเมื่อ 29 August 2021.
- ↑ Dahle, Thorvald O. (March 2015). "Women and SWAT: Making Entry into Police Tactical Teams" (PDF). Law Enforcement Executive Forum. Macomb, Illinois: Illinois Law Enforcement Training and Standards Board Executive Institute. 15 (1): 21,25. doi:10.19151/LEEF.2015.1501b. ISSN 1552-9908. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 October 2017.
- ↑ Turnley, Jessica Glicken; Stewart, Dona J.; Rubright, Rich; Quirin, Jason (June 2014). Special Operations Forces Mixed-Gender Elite Teams (PDF). William Knarr (Project Leader). MacDill Air Force Base, Florida: Joint Special Operations University (JSOU) Press. pp. 11, 85–86. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
- ↑ Watkin, Kenneth (2016). Fighting at the Legal Boundaries: Controlling the Use of Force in Contemporary Conflict. New York: Oxford University Press. p. 437. ISBN 9780190457976.
- ↑ Newburn, Tim; Neyroud, Peter (2013). Dictionary of Policing. Abingdon, Oxon: Routledge. p. 187. ISBN 9781843922872.
- ↑ Weber, Diane Cecilia (1999). Warrior Cops: The Ominous Growth of Paramilitarism in American Police Departments (PDF). Cato Briefing Papers No. 50. Washington: Cato Institute. p. 3. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
- ↑ Rantatalo 2013, p. 23.
บรรณานุกรม
[แก้]- Katz, Samuel M. (1995). The Illustrated Guide to the World's Top Counter-Terrorist Forces. Hong Kong: Concord Publication Company. ISBN 9623616023.
- Lippay, Christopher (2021). The ATLAS Network : European Special Intervention Units combating terrorism and violent crime (English ed.). Stumpf + Kossendey, Edewecht. ISBN 9783964610447.
- Metzner, Frank; Friedrich, Joachim (2002). Polizei-Sondereinheiten Europas Geschichte - Aufgaben - Einsätze [Police-Special units of Europe History-Tasks-Operations] (ภาษาเยอรมัน). Stuttgart: Motorbuch Verlag. ISBN 9783613022492.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หน่วยยุทธวิธีตำรวจ