สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาล 1957–58

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ฤดูกาล 1957–58
ภาพของนักเตะและแมตต์ บัสบี ก่อนเหตุการณ์ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก
ประธานสโมสรฮาโรลด์ ฮาร์ดแมน
ผู้จัดการทีม
กัปตันทีมโรเจอร์ เบิร์น (ถึง 6 กุมภาพันธ์)
บิล โฟกส์
สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด
ดิวิชัน 1อันดับที่ 9
ผู้ทำประตูสูงสุด
สีชุดเหย้า
สีชุดเยือน

ฤดูกาล 1957–58 เป็นฤดูกาลที่ 56 ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฟุตบอลลีกและเป็นฤดูกาลที่ 13 ติดต่อกันในลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ[1]

ในฤดูกาลนี้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร เมื่อผู้เล่น 8 คน เจ้าหน้าที่สโมสร 3 คน และผู้โดยสารอีก 10 คนเสียชีวิตจากเหตุภัยพิบัติทางอากาศมิวนิกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 ระหว่างเดินทางกลับจากการแข่งขันยูโรเปียนคัพ รอบก่อนรองชนะเลิศกับเรดสตาร์เบลเกรด มาร์ค โจนส์, กัปตันทีม โรเจอร์ เบิร์น, เจฟฟ์ เบนต์, เดวิด เพ็กก์, เอ็ดดี้ โคลแมน, บิล วีแลน และทอมมี่ เทย์เลอร์ กองหน้าตัวกลาง เสียชีวิตทั้งหมดทันที ดังคัน เอดเวิดส์ นักฟุตบอลอนาคตไกลอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในวันที่ 21 กุมภาพันธ์

จอห์นนี เบอร์รี ปีกและเซ็นเตอร์ฮาล์ฟ แจ็กกี บลานช์ฟลาวเวอร์ ต่างก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนไม่สามารถลงเล่นได้อีก ขณะที่ผู้เล่นที่รอดชีวิตหลายคนไม่พร้อมลงสนามเพราะต้องพักฟื้นจากอาการบาดเจ็บเป็นเวลานานพอสมควร แมตต์ บัสบี ผู้จัดการทีมได้รับบาดเจ็บสาหัส และผู้ช่วยของเขา จิมมี เมอร์ฟี (ซึ่งไม่ได้อยู่ในเที่ยวบินนั้น) รับหน้าที่คุมทีมชุดใหญ่แทนจนจบฤดูกาล วอลเตอร์ คริกเมอร์ เลขานุการสโมสร และโค้ชทอม เคอร์รี และเบิร์ต วอลลีย์ เสียชีวิตทั้งหมดจากเหตุการณ์เครื่องบินตกครั้งนี้ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 23 คน

แม้ว่าจะมีการสูญเสียภายในทีมของพวกเขา แต่ยูไนเต็ดก็ยังสามารถไปถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพในฤดูกาลนั้น ซึ่งพวกเขาแพ้ให้กับโบลตันวอนเดอเรอส์ พวกเขาเข้าถึงรอบรองชนะเลิศของยูโรเปียนคัพด้วย อย่างไรก็ตามฟอร์มในลีกของพวกเขาตกลงไปหลังจากเครื่องบินตกโดยจบอันดับที่ 9 ของตาราง โดยพวกเขาจบตามหลังแชมป์ลีกฤดูกาลนั้นอย่างวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ ซึ่งคุมทีมโดยสแตน คัลลิส ถึง 21 แต้ม

ทีมยูไนเต็ดมีความสูญเสียจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่มิวนิก นักเตะเยาวชนจำนวนหนึ่งจากทีมเยาวชนและศูนย์ฝึกเยาวชนของสโมสรได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ รวมถึงปีก เชย์ เบรนแนน[2] และกองหน้า มาร์ก เพียร์สัน[3] สมาชิกใหม่ที่โดดเด่นอีกคนของทีมคือผู้รักษาประตู แฮร์รี เกร็กก์ ซึ่งเซ็นสัญญาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1957 ไม่กี่สัปดาห์ก่อนเครื่องบินตกที่มิวนิก และได้รับการยกย่องว่าเป็นฮีโร่ในการช่วยเหลือลูกสาวและแม่ของเธอซึ่งเป็นผู้โดยสารในเหตุการณ์เครื่องบินตก[4]

ผู้ทำประตูสูงสุดของยูไนเต็ดในฤดูกาลนี้คือ เดนนิส ไวโอเลต ซึ่งยิงไป 23 ประตูในทุกรายการและ 16 ประตูในลีกแม้ว่าจะไม่ได้ลงเล่นเป็นเวลา 2 เดือนในขณะที่เขาฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บจากเหตุเครื่องบินตกที่มิวนิก

ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก[แก้]

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 ยูไนเต็ดเล่นกับเรดสตาร์เบลเกรดที่ยูโกสลาเวีย ในเลกที่ 2 ของยูโรเปียนคัพรอบก่อนรองชนะเลิศ การแข่งขันจบลงด้วยการเสมอกัน 3-3 แต่จากการที่ยูไนเต็ดเปิดบ้านเอาชนะไปได้ 2-1 ในเลกแรก ทำให้รวมผล 2 นัดพวกเขาชนะไปด้วยสกอร์ 5-4 และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Manchester United Season 1957/58". StretfordEnd.co.uk. สืบค้นเมื่อ 21 December 2011.
  2. "Legends – Shay Brennan". ManUtd.com. Manchester United. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2012.
  3. "Players – Mark Pearson". AboutManUtd.com. About ManUtd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2012.
  4. "Legends – Harry Gregg". ManUtd.com. Manchester United. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2012.