สุดสาคร ส.กลิ่นมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุดสาคร ส.กลิ่นมี
สม กลิ่นมี
สุดสาคร ส.กลิ่นมี
เกิดสม กลิ่นมี
(1986-08-25) สิงหาคม 25, 1986 (37 ปี)
เมืองพัทยา ประเทศไทย
ชื่อภาษาเกิดสม กลิ่นมี
ชื่ออื่นสุดสาคร ส.กลิ่นมี
สุดสาคร พยัพคำพันธุ์
« O »
สัญชาติไทย
ส่วนสูง1.82 เมตร (5 ฟุต 11 12 นิ้ว)
น้ำหนัก72.5 กิโลกรัม (160 ปอนด์)
รุ่นไลท์เวท
เวลเตอร์เวท
มิดเดิลเวท
รูปแบบมวยไทย, คิดบ็อกซิง
มาจากเมืองพัทยา ประเทศไทย
ทีมสุดสาครมวยไทยยิม
ผู้ฝึกสอนบูม (ประเทศไทย)
ช่วงปี18 (1993–ปัจจุบัน)
สถิติคิกบอกซิง/มวยไทย
คะแนนรวม351
ชนะ291
โดยการน็อก74
แพ้56
เสมอ4
ข้อมูลอื่น
ญาติที่มีชื่อเสียงแรมบ้า สมเดช (ลูกพี่ลูกน้อง)
นักเรียนเด่นนิลมังกร สุดสาครยิม[1]
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่: 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สุดสาคร ส.กลิ่นมี เกิดวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2529 เป็นนักมวยไทยชาวไทย และเป็นผู้ครองแชมป์โลกรายการเวิลด์คิกบ็อกซิ่งเน็ตเวิร์กมวยไทยรุ่นเวลเตอร์เวท[2] วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 สุดสาครเข้าแข่งขันรายการไทยไฟท์ 2012 โดยได้พบกับกุสตาโว เมนเดส ซึ่งเป็นนักมวยไทยชาวบราซิล และจากการแข่งขันครั้งนี้ สุดสาครเป็นฝ่ายชนะคะแนน[3]

ประวัติ[แก้]

ประวัติ[แก้]

สุดสาครเป็นนักมวยไทยรุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย ไม่นานที่ผ่านมาเขาได้มีโอกาสเยือนที่ประเทศฝรั่งเศสโดยได้รับการต้อนรับจากผู้จัดการของเขาที่มีชื่อว่า นีโกลา ซูบีโล เขาหวังที่จะสร้างชื่อในทวีปยุโรปโดยการต่อสู้ให้ดีที่สุดในรุ่นของเขาซึ่งอยู่ในรุ่น 64 กก. - 70 กก.

ชื่อชกของเขาได้มาจากตัวละครในวรรณคดีไทยที่มีชื่อว่า สุดสาคร ซึ่งเป็นเด็กมหัศจรรย์ที่ถือกำเนิดมาจากมารดาผู้เป็นนางเงือก ผู้ซึ่งได้ส่งให้เขาไปตามหาพระบิดาที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน พร้อมด้วยอาวุธเวทมนตร์ที่ได้รับมอบจากฤๅษีพร้อมด้วยม้านิลมังกรเป็นพาหนะคู่กาย สุดสาครได้ออกผจญภัยเป็นห้วงเวลาที่ยาวนาน และเต็มไปด้วยภยันตรายที่สุดแสนลี้ลับ

สุดสาครมีชื่อจริงคือ สม กลิ่นมี และมีชื่อเล่นคือ โอ เขาเริ่มฝึกมวยไทยเมื่อครั้งที่มีอายุ 6 ขวบ เขาเริ่มฝึกจากพ่อของเขา ยักษ์ กลิ่นมี กับลูกพี่ของเขา แรมบ้า สมเดช M-16

สุดสาครได้อาศัยและฝึกฝน ณ โตรีโน ประเทศอิตาลี ในช่วงเดือนแรกๆใน พ.ศ. 2554 และตั้งแต่มีนาคม พ.ศ. 2554 เขาได้อาศัยอยู่ที่พัทยา ประเทศไทย และฝึกฝนอยู่ที่ ส.กลิ่นมียิมในจังหวัดชลบุรี

อาชีพในช่วงแรก[แก้]

การพบกับคู่ชกกุสตาโว เมนเดส ซึ่งเป็นนักมวยไทยจากบราซิล

เมื่อมีอายุระหว่าง 10 และ 18 ปี เขาได้รับการฝึกจากผู้ฝึกสอนคนใหม่ ทัพยา กลิ่นมี แห่งค่ายมวยศิษย์ อ. ที่พัทยา จากนั้น เมื่อเขามีอายุ 18 ปี ก็ได้เผชิญกับนักสู้ชาวไอริชนามว่า เกรก โอ'ฟลิน ภายหลังจากการเปิดค่ายมวยที่พัทยา มีศิษย์ใจเพชรและผู้ฝึกสอนนักมวยหนุ่มเข้าร่วม ในช่วงเวลานี้ สุดสาครได้มีโอกาสเข้าแข่งขัน 4 ครั้งในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์ เขาเป็นฝ่ายชนะโรเบิร์ต สโตเรย์ ผู้ซึ่งเป็นแชมป์สองรายการของอังกฤษใน พ.ศ. 2548 (เมื่อครั้งที่สุดสาครมีน้ำหนักตัวที่ 61 กก.) ในการแข่งขันนัดล้างตาที่ได้รับการออกอากาศทางช่องยูโรสปอร์ท โรเบิร์ต สโตเรย์ ถึงกับแขนหักในส่วนกลาง แต่อย่างไรก็ตามเขาก็ยังประคองตัวได้จนถึงยก 5

หนึ่งปีต่อมา ใน พ.ศ. 2549 สุดสาครเป็นผู้ชนะรายการชิงแชมป์โลกเข็มขัดเอสวันของสภามวยไทยโลก (รุ่น 64 กก.) ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วันที่ 5 ธันวาคม เมื่อครั้งที่พบกับชาวสโลวักอย่าง อีกอน เฮอร์ซิง

ความทรงจำที่เขาประทับใจ คือการชิงเข็มขัดสหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก กับนักมวยชาวไทยใน พ.ศ. 2549

ด้านความสำเร็จครั้งสำคัญของเขา คือการเป็นฝ่ายชนะขาวสนิท ส.พรานไพร โดยเป็นแชมป์มวยไทย 7 สี ที่จัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ที่กรุงเทพมหานคร และเป็นแชมป์ 3 เวทีมวยติดต่อกันทั้งราชดำเนิน, ลุมพินี และอ้อมน้อย

ส่วนการต่อสู้ที่ยากที่สุดของเขา คือการเอาชนะก้องฟ้าในการชิงเข็มขัดแฟร์เท็กซ์ เทพประสิทธิ์ พ.ศ. 2550

เขาได้พบกับคู่ชกอย่างมีกาเอล ปิซซีเตลโล ในศึก THAI FIGHT เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555 ซึ่งจัดขึ้น ณ ลียง ประเทศฝรั่งเศส และสุดสาครเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอในยกที่สอง[4][5]

เขาสู้กับเซดริก คัซตักนา ในรายการทีเคเวิลด์แมกซ์ 2012 ที่จัดขึ้น ณ มาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 [6] และเป็นฝ่ายชนะจากการตัดสินของกรรมการ[7]

ในการแข่งครั้งพิเศษ เขาได้เข้าแข่งขันรายการ ไทยไฟท์ 2012: คิงออฟมวยไทยทัวร์นาเมนท์เซคันด์ราวด์ ที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งสุดสาครเป็นฝ่ายชนะน็อคโมฮัมหมัด โฮสเซน โดรูเดียน จากการฟันศอกในยกสอง[8]

เขาเป็นฝ่ายชนะกุสตาโว เมนเดส ในคู่พิเศษของรายการ ไทยไฟท์: คิงออฟมวยไทยทัวร์นาเมนท์ไฟนอล ที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555 [9][10]

รายการที่ชนะ[แก้]

  • พ.ศ. 2554 รองชนะเลิศ ไฟท์โค้ดดราก้อนซีรีส์ รอบรองชนะเลิศ (-72.5 กก.)
  • พ.ศ. 2553 แชมป์เวิลด์คิกบ็อกซิ่งเน็ตเวิร์ก (ดับเบิลยูเคเอ็น) เวิลด์กรังด์ปรีซ์บิ๊ก-8 ไฟนอล ณ ประเทศเบลารุส (-66.7 กก.)
  • พ.ศ. 2553 แชมป์ดับเบิลยูเคเอ็นมวยไทยเวิลด์ รุ่นเวลเตอร์เวท (-66.7 กก.)
  • พ.ศ. 2550 แชมป์มวยไทยแฟร์เท็กซ์ เทพประสิทธิ์
  • พ.ศ. 2549 แชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ไลท์เวท รายการมวยไทยอาชีพชิงแชมป์โลก ของสหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก (-63.5 กก.)
  • พ.ศ. 2549 แชมป์โลกเอสวันของสภามวยไทยโลก - เอสวันทรงชัยสภามวยไทยโลก (-64 กก.)
  • พ.ศ. 2547-2548 ผู้เข้าแข่งขันรอบสุดท้าย โตโยต้า 4X4 เวทีมวยราชดำเนิน

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Aung Mint Sein (22 May 2017). "Muaythai Champion Nilmungkorn Sudsakorngym Challenging The Lethwei Throne". Lethwei World.
  2. "Sudsakorn Sor Klinmee profile". k-1fans.com. สืบค้นเมื่อ 2010-09-13.[ลิงก์เสีย]
  3. "บัวขาวคว้าแชมป์ไทยไฟท์ 2012 คมชัดลึก : กีฬา : ข่าวทั่วไป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-24. สืบค้นเมื่อ 2021-11-03.
  4. Thai Fight On Wednesday Features Saiyok vs. Pinca, Sudsakorn, Aikpracha, More
  5. Thai Fight Lyon: Saiyok, Aikpracha, Bennoui Win, Sudsakorn Loses
  6. TK2 On Saturday: Sudsakorn, Thomas Adamandopoulos In Action
  7. TK2 Results: Sudsakorn, Adamandapoulos Victorious In Marseilles
  8. Thai Fight Results: Buakaw, Singmanee, Kulebin, Gurkov move on to finals
  9. Thai Fight Adds Heavyweight Tournament, Sudsakorn, Ikuysang To Final On December 16
  10. Thai Fight Results: Buakaw, Singmanee Win Tournaments

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]