สำนักงานประกันสังคม
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
Social Security Office | |
![]() | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 2 กันยายน พ.ศ. 2533 |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | 88/28 หมู่ที่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 |
งบประมาณประจำปี | 28,049.177 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1] |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
เว็บไซต์ | http://www.sso.go.th/wpr/home.jsp |
สำนักงานประกันสังคม (อังกฤษ: Social Security Office) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2533 เพื่อให้ประเทศไทยมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ โดยมีนายอำพล สิงหโกวินท์ เป็นเลขาธิการคนแรก ก่อนหน้าที่จะมีการผ่านกฎหมายประกันสังคมมาบังคับใช้ได้มีการเคลื่อนไหวรณรงค์โดย กลุ่มผู้นำนักศึกษา นักวิชาการ อดีตอธิบดีกรมแรงงาน กลุ่มผู้นำสหภาพแรงงาน เพื่อให้เกิดระบบประกันสังคมในประเทศไทย โดยขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ปลายสมัยรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ต่อเนื่องมาสมัยรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหวัณ โดยมีผู้มีบทบาทสำคัญหลายท่าน เช่น นิคม จันทรวิทุร อนุสรณ์ ธรรมใจ แล ดิลกวิทยรัตน์ โชคชัย สุธาเวศ ผู้นำแรงงานและผู้นำนักศึกษาหลายท่าน เป็นต้น ต่อมา นิคม จัทรวิทุร อนุสรณ์ ธรรมใจ และ แกนนำการเคลื่อนไหวกฎหมายประกันสังคมในปี พ.ศ. 2530-2533 ได้กลับเคลื่อนไหวให้เกิดระบบประกันการว่างงานในปี พ.ศ. 2541-2544 จนกระทั่งมีการขยายสิทธิประโยชน์การประกันการว่างงานในระบบประกันสังคมของไทย
ประวัติ[แก้]
สำนักงานประกันสังคม เริ่มต้นเมื่อมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ได้ระบุให้มี "กองทุนเงินทดแทน" ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตราย สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ซึ่งกองทุนดังกล่าวได้ริเริ่มเก็บเงินสมทบเข้ากองทุน ในปี พ.ศ. 2517 โดยเริ่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 20 ราย ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 ได้ขยายความคุ้มครองโดยขอความร่วมมือให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 1 ราย ต้องเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน
กองทุนเงินทดแทน จะจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ขาดรายได้มากกว่า 3 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ร้อยละ 60 ของรายได้ต่อวันของลูกจ้าง กรณีพิการจะจ่ายให้ไม่เกิน 8 ปี ร้อยละ 60 ของรายได้ต่อวันของลูกจ้าง กรณีทุพพลภาพจะจ่ายให้ไม่เกิน 15 ปี ร้อยละ 60 ของรายได้ต่อวันของลูกจ้าง และหากเสียชีวิตจะจ่ายให้ในระยะเวลา 8 ปี หลังเสียชีวิต ร้อยละ 60 ของรายได้ต่อวันของลูกจ้าง ค่าทำศพผู้ประกันตนรายละ 30,000 บาทโดยคิดจากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ คูณด้วย 100
ความหมาย[แก้]
คำว่า "ประกันสังคม" เริ่มใช้ในประเทศไทยประมาณ พ.ศ. 2480 พร้อมๆ กับคำว่าสังคมสงเคราะห์ โดยหลักการและแนวทางมีการนำมาใช้ปฏิบัตินานแล้วเช่น การที่ชาวบ้านช่วยกันเรี่ยไรเงินรวบรวมเป็นเงินก้อน เพื่อช่วยเหลือเป็นค่าทำศพให้แก่สมาชิกในชุมชนเดียวกันที่ถึงแก่กรรม
สำนักงานประกันสังคม ประกอบด้วยกรรมการฝ่ายนายจ้าง กรรมการฝ่ายลูกจ้าง และกรรมการจากภาครัฐบาล และอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554[2] พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน พ.ศ. 2537 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง)
ความหมายของการประกันสังคมในสมัยปัจจุบันคือ โครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความมั่นคงหรือหลักประกันให้แก่ประชาชน โดยมีวิธีการจัดเก็บรายได้ส่วนหนึ่งจากประชาชนที่มีรายได้ เงินที่เก็บนี้นำมาสมทบรวมกันเป็นกองทุนกลาง นำมาใช้จ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่ประชาชนตามเงื่อนไขที่กำหนดเงินที่เรียกเก็บนี้หากเป็นกรณีเก็บจากผู้ที่ทำงานรับจ้าง ก็ให้นายจ้างจ่ายสมทบเท่ากับที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ และในทุกกรณีรัฐบาลจะจ่ายสมทบด้วยแต่เป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่นายจ้างจ่ายเสมอ และเป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ
คณะกรรมการ[แก้]
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 40/2558 แต่งตั้งคณะกรรมการในสำนักงานประกันสังคมดังนี้ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[3] คณะกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการการแพทย์ และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน จะมีวาระ 2 ปี ระหว่าง 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
คณะกรรมการประกันสังคม[แก้]
- หม่อมหลวง ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการ
- นาย พชร อนันตศิลป์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรรมการ
- นาง ประนอม คำเที่ยง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
- นางสาว จิราภรณ์ ตันติวงษ์ ผู้แทนสำนักงบประมาณ กรรมการ[4]
- นาย ทวี ดียิ่ง ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอุตสาหกรรมเอกชน กรรมการ
- นาย ธีระวิทย์ วงศ์เพชร รองเลขาธิการสหภาพแรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
- ดร. พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
- นาย มานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กรรมการ
- ดร. วาชิต รัตนเพียร อุปนายกสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต กรรมการ
- นาย วันชัย ผุดวารี รองประธานสหภาพแรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
- นาย สมพงศ์ นครศรี รองประธานอาวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
- นาย สุวรรณ สุขประเสริฐ รองประธานสายงานบริหารและผู้อำนวยการ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กรรมการ
- นาย สุวิทย์ ศรีเพียร อดีตคณะกรรมการอุทธรณ์ในคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดสำนักงานประกันสังคม[5] กรรมการ
- นาง อรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายบำนาญภาคประชาชน กรรมการ
- นายแพทย์ สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กรรมการและเลขานุการ
ที่ปรึกษาคณะกรรมการประกันสังคม[แก้]
- นาย ปั้น วรรณพินิจ อดีตเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
- นาย อำพล สิงหโกวินท์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
- พลโท นายแพทย์ กฤษฎา ดวงอุไร รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก
- นาย ถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุด
- พลเอก อภิชาต แสงรุ่งเรือง อดีตผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน[แก้]
- นายแพทย์ สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ประธานกรรมการ
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ศรีประสิทธิ์ บุญวิสุทธิ์ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
- นาย สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี กรรมการ
- นางสาว โสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรรมการ
- นาย ดุสิต เขมะศักดิ์ชัย รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
- นาง ผจงสิน วรรณโกวิท อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
- นาง ปริศนา ประหารข้าศึก ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการ
- นาย อรรถการ ตฤษณารังสี คณะกรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน[6] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรรมการ
- นาย ปิยะชาติ ชุณหเวชสกุล อดีตคณะกรรมการอุทธรณ์ในคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดสำนักงานประกันสังคม[7] กรรมการ
- นาง สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย กรรมการ
- นาย วารินทร์ ศรีแจ่ม[8] กรรมการที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไลท์ออน กรรมการ
- นาย บรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานศูนย์กลางแห่งประเทศไทย กรรมการ
- กัปตัน พงษทร คงลือชา[9] ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายคนประจำเรือ บริษัท โทรีเซน (กรุงเทพ) จำกัด กรรมการ
- ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม กรรมการและเลขานุการ
อัตราเรียกเก็บเงินสมทบ[แก้]
ปัจจุบันอัตราเรียกเก็บอยู่ที่ร้อยละ 5 โดยลูกจ้างต้องจ่ายสำหรับกรณี เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร ร้อยละ 1.5 สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ร้อยละ 3 และ กรณีว่างงาน ร้อยละ 0.5เช่นเดียวกับนายจ้างที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างกรณี เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร ร้อยละ 1.5 สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ร้อยละ 3 และ กรณีว่างงาน ร้อยละ 1 ในขณะที่รัฐบาลจ่ายกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร ร้อยละ 0.5 สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ร้อยละ 0.5 และ กรณีว่างงาน ร้อยละ 0.25
หน้าที่หลัก[แก้]
สำนักงานประกันสังคมมีหน้าที่หลักที่ต้องดูแลผู้ประกันตนดังต่อไปนี้
- การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกันตนกรณีต่าง ๆ รวมถึงดูแลข้อพิพาทระหว่างโรงพยาบาลกับผู้ประกันตนในเบื้องต้น
- การจัดการและตรวจสอบกองทุนเงินทดแทนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมเนื่องจากกองทุนทดแทนมีข้อบังคับที่ชัดเจนในเรื่องการบาดเจ็บจากการทำงานถึงจะทำการเบิกจ่ายได้
- บริหารเงินของผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลโดยพยายามให้ได้กำไรเสมอไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม
- รับการแจ้งเรื่องการขอเป็นผู้ประกันตน, การลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน
- รับการแจ้งเรื่องเบิกจ่ายเงินค่าทันตกรรมของผู้ประกันตน ซึ่งปัจจุบันเบิกได้ปีละไม่เกิน 900 บาท
- แจ้งข่าวสารให้บริษัทและผู้ประกันตนรับทราบรวมถึงการประสานงานที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทอันเป็นตัวแทนผู้ประกันตน
- สำรองจ่ายงบฉุกเฉินเท่าที่จำเป็นในกรณีที่มีการประสบอันตรายฉุกเฉินสามารถรักษาได้ในโรงพยาบาลเฉพาะที่รับบัตรประกันสังคมทั่วราชอาณาจักรไทย
- ดูแลการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคม อาทิเช่น กรณีคนไข้ต้องเข้าพักในโรงพยาบาล หรือต้องเคลื่อนย้ายคนไข้ด้วยรถพยาบาล รวมถึงให้การเบิกจ่ายเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส สุจริต เที่ยงธรรมและสามารถตรวจสอบได้
- รับแจ้งเรื่องขอเงินสงเคราะห์บุตรของผู้ประกันตน และการเสียชีวิตของผู้ประกันตน รวมถึงตรวจสอบการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคม อาทิเช่นการเสียชีวิตจากการทำงานหรือการเสียชีวิตจากเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
นอกจากนั้นสำนักงานประกันสังคมยังได้มีส่วนในการช่วยเหลือบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่นายจ้างและลูกจ้างในประเทศต่าง ๆ เฉพาะประเทศไทยสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินนโยบายที่ยืดหยุ่นในการเรียกเก็บเงินจากนายจ้างและลูกจ้างโดยเรียกเก็บให้ต่ำลงกว่าร้อยละ 5 ในบางครั้งบางคราว เช่น กรณีอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างและนายจ้างหรือกรณีการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ ในปี พ.ศ. 2556
ผลการดำเนินการที่ผ่านมา[แก้]
กองทุนเงินประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมได้บริหารเงินในกองทุนให้ได้กำไรโดยผ่านการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ และมีหน้าที่รายงานผลการลงทุน ในปี พ.ศ. 2551 ระหว่างเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ สำนักงานประกันสังคมรายงานกำไรจากการลงทุนว่าได้กำไรถึง 367 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในปีเดียวกันพบว่ามีความแตกต่างเป็นอย่างมาก โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการบริหารเงินสมาชิกปี 51 ขาดทุน 74,000 ล้านบาท
สำนักงานประกันสังคมได้ขยายการคุ้มครองยาในบัญชีสำหรับผลผู้ทางสุขภาพจิต หรือผู้ป่วยจิตเวชโดยสามารถเบิกยาในบัญชีได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานประกันสังคมเพิ่มสิทธิประโยชน์บริการทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลอื่น ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
ปัญหา[แก้]
กองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพจะขาดทุนภายในสามสิบปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2586[10] เนื่องจากปัญหาโครงสร้างประชากรที่มีวัยทำงานน้อยลงและเงื่อนไขการจ่ายเงินของกองทุนกองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพ
การคุ้มครองโรคมะเร็งของสำนักงานประกันสังคมยังด้อยกว่าสิทธิสปสช. รวมถึงอุปกรณ์สำหรับคนพิการ[11]รัฐบาลไทยไม่จ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตน[12]โดยในปี พ.ศ. 2560 รัฐบาลค้างจ่ายเงินจำนวนรวม 56,000 ล้านบาท
การแบ่งส่วนราชการ[แก้]
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองกฎหมาย
- กองคลัง
- กองนโยบายและแผนงาน
- กองบริหารทรัพยากรมนุษย์
- กองบริหารการลงทุน
- กองบริหารการเงินและการบัญชี
- สำนักสิทธิประโยชน์
- สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์
- สำนักเงินสมทบ
- สำนักตรวจสอบ
- สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สำนักสร้างเสริมความมั่นคงแรงงานนอกระบบ
- สำนักงานกองทุนเงินทดแทน
- สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12
- สำนักงานประกันสังคมจังหวัด / สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา
- ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ "พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-04.
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 40/2558 เรื่อง การได้มาซึ่งคณะกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการการแพทย์ และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เป็นการชั่วคราว
- ↑ คณะกรรมการประกันสังคม
- ↑ ผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการอุทธรณ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "รายชื่อคณะกรรมการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09.
- ↑ ผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการอุทธรณ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09.
- ↑ http://www.nasic.ac.th/dvt/images/stories/downloads/nameoffice.pdf
- ↑ http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000062919[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000130966[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/781942
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=141
- http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%BB%C3%D0%C7%D1%B5%D4%A4%C7%D2%C1%E0%BB%E7%B9%C1%D2%A2%CD%A7%A1%D2%C3%BB%C3%D0%A1%D1%B9%CA%D1%A7%A4%C1&select=1
- http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=143
- http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=146
- http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=105
- http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=101&id=1051
- http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000028112 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://phukieo.net/hinso_blog/?page_id=226[ลิงก์เสีย]
- http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=98&id=2142
- http://www.hiso.or.th/hiso/ghealth/newsx2222.php
- http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=98&id=1601
- สำนักงานประกันสังคม มีที่ไหนบ้าง