ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2493 อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2535–2564) พลังประชารัฐ (2565–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | บุปผา อ่อนละมัย |
ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2493) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร 6 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
ประวัติ
[แก้]นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2493 เป็นบุตรของนายศักดิ์สิทธิ์ กับ นางกรองแก้ว อ่อนละมัย มีพี่น้อง 10 คน [1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต จาก สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศิริศักดิ์ สมรสกับนางบุปผา อ่อนละมัย มีบุตร-ธิดา รวม 6 คน คือ นางศิริพร บัวเลิศ นายสราวุธ อ่อนละมัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายเดชอิศม์ ขาวทอง) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย 3 สมัย นางศิริเพ็ญ อ่อนละมัย นางสาวศิริลักษณ์ อ่อนละมัย (ถึงแก่กรรม) นายสิทธิศักดิ์ อ่อนละมัย และ นางสาวศิริพรรณ อ่อนละมัย
การทำงาน
[แก้]นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย เริ่มทำงานครั้งแรกด้วยการทำหน้าที่จองคิวภาพยนตร์เพื่อมาป้อนให้กับโรงภาพยนตร์ และเป็นผู้จัดการโรงภาพยนตร์ตามลำดับ หลังจากทำงานเป็นผู้จัดการโรงภาพยนตร์ได้ 2 ปี จึงตัดสินใจหันมาทำธุรกิจหนังกลางแปลง รับจัดงานสวนสนุกตามวัดต่างๆ จนประสบความสำเร็จในอาชีพ จนเป็นที่รู้จักของคนทั้งจังหวัดชุมพร ในนาม "พรมาลัย"
งานการเมือง
[แก้]นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ในปี พ.ศ. 2533 ก่อนที่จะได้เลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันรวม 6 สมัย
ศิริศักดิ์ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการหลายคณะ อาทิ โฆษกคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม (สภาผู้แทนราษฎร) พ.ศ. 2535 เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการกีฬา (สภาผู้แทนราษฎร) พ.ศ. 2538 รองประธานคนที่ 1 คณะกรรมาธิการกิจการเยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ (สภาผู้แทนราษฎร) พ.ศ. 2539-2540 ประธานคณะกรรมาธิการการกีฬา (สภาผู้แทนราษฎร) พ.ศ. 2540-2543 ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการกีฬา (สภาผู้แทนราษฎร) พ.ศ. 2544-2548 และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552-2554
ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2538 และเป็นที่ปรึกษา ผู้แทนการค้าไทย พ.ศ. 2554
ในปี พ.ศ. 2564 ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ได้ขอลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไปสนับสนุนนายชวลิต อาจหาญ ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ชุมพร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร เขต 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2565[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ศิริศักดิ์ อ่อนละมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดชุมพร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ประกาศเกียรติคุณ
[แก้]ศิริศักดิ์ เคยได้รับรางวัลพระราชทาน “เทพทอง” ประเภทบุคคลดีเด่นด้านวิทยุกระจายเสียงจากสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และได้รับรางวัล “บุคคลตัวอย่าง” สาขาผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและการกีฬา ประจำปี 2541
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดชุมพร. วัชระ ศิลป์เสวตร์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2556
- ↑ ปชป.เลือดไหลไม่หยุด! ‘ศิริศักดิ์’ อดีตส.ส.6สมัยไขก๊อกหนุน ‘ทนายแดง’ สู้ลต.ซ่อม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอท่ายาง
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.