วิธีการคำนวณของโจนส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิธีการคำนวณของโจนส์ (Jones calculus) เป็นรูปแบบการคำนวณแบบหนึ่งที่ช่วยให้สามารถอธิบายสถานะของโพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตั้งชื่อตามชื่อ โรเบิร์ต เคลิร์ก โจนส์ (Robert Clark Jones) ซึ่งได้ให้นิยามไว้ในปี 1941[1] เมื่อใช้รูปแบบการคำนวณนี้ สถานะของแสงโพลาไรซ์จะแสดงด้วย เวกเตอร์โจนส์ (Jones vector) และองค์ประกอบทางแสงเชิงเส้นจะแสดงด้วย เมทริกซ์โจนส์ (Jones matrix) เวกเตอร์โจนส์ของแสงที่ออกจากระบบหนึ่ง ๆ จะคำนวณได้จากผลคูณของเมทริกซ์โจนส์ของระบบกับเวกเตอร์โจนส์ของแสงขาเข้า

รูปแบบการคำนวณนี้ใช้ประโยชน์ได้ดีสำหรับแสงโพลาไรซ์ทั้งหมดเท่านั้น ในการอธิบายแสงโพลาไรซ์บางส่วนจะใช้เวกเตอร์สโตกส์ และ เมทริกซ์มึลเลอร์

คำนิยาม[แก้]

ในงานวิจัยต้นฉบับของโจนส์[1] เขาได้พิจารณากรณีของระนาบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีการโพลาไรซ์ทั้งหมด และกำหนดสถานะของแสง ณ จุดหนึ่ง ๆ จากเวกเตอร์ของจำนวนเชิงซ้อน

โดย และ เป็นส่วนประกอบของสนามไฟฟ้าของคลื่นตามแกน x และ y อย่างไรก็ตาม ตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการอธิบายสถานะของโพลาไรเซชันคือความแตกต่างของเฟส และแอมพลิจูดของสนามไฟฟ้า โดยปกติแล้ว จะเลือกจุดที่ทำหน้าที่เป็นตัวอ้างอิงความเข้มและเฟส และได้ว่า

โดยที่เวกเตอร์โจนส์ถูกนิยามโดย

ตัวอย่างของเวกเตอร์โจนส์[แก้]

ตัวอย่างของเวกเตอร์โจนส์
โพลาไรเซชัน เวกเตอร์โจนส์ สัญกรณ์ในรูปเค็ท[2] รูปประกอบ
เส้นตรงตามแกน x
เส้นตรงตามแกน y
เส้นตรงตามแนวที่ทำมุม 45° กับแกน x
หมุนวนขวา
หมุนวนซ้าย

การเปรียบเทียบกับในควอนตัม[แก้]

อย่างเป็นทางการ เวกเตอร์โจนส์เป็นเวกเตอร์ของ ℂ2 เช่นเดียวกับเวกเตอร์สถานะ ที่ใช้สำหรับในกลศาสตร์ควอนตัม การเปรียบเทียบนี้มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโฟตอนสามารถมีสถานะเฮลิซิตีได้สองสถานะ ดังนั้นเราจึงสามารถสานความเชื่อมโยงระหว่างการคำนวณทั้งสองสายนี้ ซึ่งแสดงด้วยการใช้สัญกรณ์บรา-เค็ท ที่ทำกันทั่วไปในทัศนศาสตร์เชิงควอนตัม เพื่อแสดงถึงสถานะของโพลาไรซ์ของแสง ตารางด้านล่างนี้แสดงรายละเอียดความเชื่อมโยงระหว่างการคำนวณทั้งสอง

โพลาไรเซชัน กลศาสตร์ควอนตัม
เวกเตอร์โจนส์ เวกเตอร์สถานะ
เมทริกซ์โจนส์ ตัวดำเนินการวิวัฒนาการ
ทรงกลมปวงกาเร ทรงกลมบล็อค
ตัวแปรเสริมสโตกส์ เมทริกซ์ความหนาแน่น

ตัวอย่างเมทริกซ์โจนส์[แก้]

ตัวอย่างเมทริกซ์โจนส์
ระบบเชิงแสง เมทริกซ์โจนส์
โพลาไรเซอร์ที่แกนอยู่ในแนวนอน
โพลาไรเซอร์ที่แกนอยู่ในแนวตั้ง
โพลาไรเซอร์ที่มีแกนเอียง 45°
โพลาไรเซอร์ที่แกนเอียงเป็นมุม
โพลาไรเซอร์แบบวงกลมวนขวา
โพลาไรเซอร์แบบวงกลมวนซ้าย
แผ่นหน่วงคลื่นแบบครึ่งคลื่นโดยแกนเร็วอยู่ในแนวนอน
แผ่นหน่วงคลื่นแบบครึ่งคลื่นโดยแกนเร็วทำมุม กับแนวนอน[3]
แผ่นหน่วงคลื่นแบบหนึ่งในสี่คลื่นโดยแกนเร็วอยู่ในแนวนอน[4]
แผ่นหน่วงคลื่นแบบหนึ่งในสี่คลื่นโดยแกนเร็วอยู่ในแนวตั้ง
แผ่นหน่วงคลื่นแบบหนึ่งในสี่คลื่นโดยแกนเร็วทำมุม กับแนวนอน

หากระบบเชิงแสงถูกหมุนรอบแกนเชิงแสงเป็นมุม เมทริกซ์โจนส์สำหรับระบบหมุน ได้มาจากเมทริกซ์ของระบบที่ไม่ได้หมุนโดยการแปลงดังนี้:

โดยที่

บทความที่เกี่ยวข้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 R. C. Jones, "New calculus for the treatment of optical systems," J. Opt. Soc. Am. 31, 488–493, (1941)
  2. O'Brien, Jeremy L. (2007-12-07). "Optical Quantum Computing". Science (ภาษาอังกฤษ). 318 (5856): 1567-1570. doi:10.1126/science.1142892. สืบค้นเมื่อ 2011-05-27.
  3. Gerald, A.; Burch, J.M. (1975). Introduction to Matrix Methods in Optics (1st ed.). John Wiley & Sons. p. 212. ISBN 978-0471296850.
  4. Eugene Hecht (2001). Optics (4th ed.). p. 378. ISBN 978-0805385663.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]