วิทัย ลายถมยา
พันเอก วิทัย ลายถมยา | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2513 |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | นัท (ชื่อเล่น) |
การศึกษา | โรงเรียนจิตรลดา โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า สถาบันราชภัฎสวนดุสิต |
อาชีพ | ทหารบก นักกีฬาทีมชาติไทย |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2537–ปัจจุบัน |
มีชื่อเสียงจาก | อดีตนักกีฬาขี่ม้าทีมชาติไทย คณะกรรมการบริหารสมาคมกี่ฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย |
คู่สมรส | ดร.สิริสุมาลย์ ลายถมยา |
บุตร | น.ส.วิภาสิริ นันทน์ ลายถมยา ด.ญ. สุวิภาส์ ลายถมยา |
บิดามารดา | พล.ต.วิชาติ ลายถมยา นาง วิไลวรรณ ลายถมยา |
รางวัล | เหรียญทองกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ประเภทอีเวนติง |
เว็บไซต์ | www.vrhorseman.com |
พันเอก วิทัย ลายถมยา เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2513 เป็นบุตรชายของ พลตรี วิชาติ ลายถมยา และ นาง วิไลวรรณ ลายถมยา มีชื่อเล่นว่า "นัท" อดีตเป็นนักกีฬาขี่ม้า ได้รับเหรียญทอง ประเภทอีเวนติง[1] ในเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน พันเอก วิทัย ลายถมยา เป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมกี่ฬาขี่ม้าแห่งประเทศไทย[2] และรับราชการทหารในตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาระบบบริหาร กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ประวัติ[แก้]
พันเอก วิทัย ลายถมยา ชื่อเล่น"นัท"เกิดเมือวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2513 บิดา พลตรี วิชาติ ลายถมยา (เสียชีวิต) มารดา นาง วิไลวรรณ ลายถมยา เสธ.นัท มีความผูกพันกับกี่ฬาขี่ม้ามาตั้งแต่ เด็ก และได้เริ่มฝึกขี่ม้า ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เพราะบิดา (พลตรี วิชาติ ลายถมยา) รับราชการในหน่วยทหารม้า
เมื่อ พ.ศ. 2530 ได้เข้าศึกษาที่ โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 30 (ตท.30) และเข้ารับการศึกษาต่อที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 41 (จปร.41) หลังจากสำเร็จการศึกษา เลือกรับราชการในเหล่าทหารม้า สังกัดกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์ฯ เป็นครูสอนขี่ม้าให้ทหารและเด็กๆ ต่อมาได้รับทุนการศึกษาจากกองทัพบกไปเรียนขี่ม้าที่ชิลี 1 ปี ตลอดเวลาที่ไปเรียนขี่ม้าก็เก็บตัวฝึกซ้อม ก่อนกลับมาคัดตัวติดทีมชาติ ในกีฬาขี่ม้าประเภทอีเว้นท์ติ้ง
เข้าร่วมแข่งขัน ขี่ม้าประเภทอีเว้นท์ติ้ง (ทีม) ซึ่งมีผู้ร่วมทีม พันตรีเฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา,ร้อยเอกวิทัย ลายถมยา, ณกร กมลศิริ, ส.อ.มานะ สอนกระโทก ในเอเชี่ยนเกมส์ปีพ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพฯ จนคว้าเหรียญทอง[1]ได้สำเร็จ
ปัจจุบัน พันเอก วิทัย ลายถมยา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารสมาคมขี่ม้าแห่งประเทศไทย[2] และ ได้รับการพิจารณาให้เป็นกรรมการตัดสินกี่ฬาขี่ม้าของ สหพันธ์ขี่ม้านานาชาติ (FEI)[3] โดยผ่านการทดสอบตามมาตราฐานของ สหพันธ์กีฬาขี่ม้านานาชาติ (FEI).ทั้งประเภท Dressage, Jumping, Eventing
ส่วนเกี่ยวข้อง[แก้]
นอกจากเป็นอดีตนักกีฬาขี่ม้าทีมชาติแล้ว พันเอก วิทัย ลายถมยา ยังเคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดการทีมขี่ม้าทีมชาติไทย[4]ในการนำทีมนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ อาทิ กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 29 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ทำหน้าที่ผู้จัดการทีม[5]ขี่ม้าชุดซีเกมส์ 2017 ผลงาน 2 เหรีญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง เอเชียนเกมส์ 2018 ผลงาน 2 เหรียญทองแดง [6] และผลงานล่าสุด ทำหน้าที่ผู้จัดการทีมขี่ม้าทีมชาติไทย เอเชี่ยน แชมป์เปี้ยนชิพ 2019 ผลงาน 3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง [7] เป็นต้น
การศึกษา[แก้]
พันเอก วิทัย ลายถมยา จบการศึกษาสายสามัญจากโรงเรียนจิตรลดา รุ่นที่ 18 จากนั้นเข้ารับการศึกษาโรงเรียนเตรียมทหาร ในรุ่นที่30 ศึกษาต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 41 (จปร.41) จบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) จากสาถาบันราชภัฏสวนดุสิต
การศึกษาเพิ่มเติม
- หลักสูตรขี่ม้าเบื้องต้นโรงเรียนขี่ม้าตำรวจทหาร สาธารณรัฐชิลี (Carabineros de Chile)
- หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 81
- หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 60
- ผ่านการอบรม สหพันธ์กีฬาขี่ม้านานาชาติ (FEI)
- หลักสูตรจิตอาสา 904 หลักสูตรพื้นฐาน ภาค 3 รุ่นที่ 1/65[8]
ประวัติรับราชการ[แก้]
- พ.ศ. 2537 - 2439 ผู้บังคับหมวดกองร้อยทหารม้ารักษาพระองค์ฯ กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2539 - 2542 ผู้ฝึกกองร้อยทหารม้ารักษาพระองค์ฯ กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2542 - 2544 รองผู้บังคับกองร้อยทหารม้ารักษาพระองค์ฯ กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2544 - 2545 นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2545 - 2546 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 81
- พ.ศ. 2546 - 2548 นายหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2548 - 2549 ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2549 - 2552 รองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2552 - 2554 รองเสนาธิการกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ
- พ.ศ. 2554 - 2556 ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 20 รักษาพระองค์ฯ
- พ.ศ. 2556 - 2559 ฝสธ. ประจำผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บังคับหน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ
- พ.ศ. 2559 - 2562 ฝสธ.ประจำผู้บังคับบัญชา สง.ปรมน.จว. ปฏิบัติหน้าที่ ผู้บังคับหน่วยม้าทรงประจำพระองค์ฯ
- พ.ศ. 2562 - 2565 รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายในกองทัพบก
- พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน รองผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ [แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[10]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)[11]
- พ.ศ. 2565 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[12]
- พ.ศ. 2553 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 เหรียญทอง ประเภทอีเว้นท์ติ้ง
- ↑ 2.0 2.1 คำสั่งสมาคมขี่ม้าแห่งประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ รับการพิจารณาให้เป็นกรรมการตัดสินกี่ฬาขี่ม้าของ สหพันธ์ขี่ม้านานาชาติ (FEI)
- ↑ เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดการทีมชาติไทย
- ↑ แถลงความพร้อมซีเกมส์ 2017[ลิงก์เสีย]
- ↑ [ทัพนักกีฬาขี่ม้าทีมชาติไทยคว้า 2 เหรียญทองแดง]
- ↑ [รวมเหรียญกีฬาขี่ม้า เอเชี่ยน แชมป์เปี้ยนชิพ 2019]
- ↑ https://region3.prd.go.th/region3_ci/topic/news/42171
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๑๒๘, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๔๐ ข หน้า ๕๙, ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๔, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔