วิกิพีเดีย:การใช้วิกิพีเดียประกอบการวิจัย
การอ้างอิงถึงวิกิพีเดียในเอกสารงานวิจัยมักถูกพิจารณาว่ายอมรับไม่ได้
เนื่องจากวิกิพีเดียถูกมองว่าเป็นแหล่งอ้างอิงที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ[1][2]
- ดูเพิ่มที่ Wikipedia:Wikipedia as an academic source สำหรับตัวอย่างการใช้วิกิพีเดียเป็นแหล่งอ้างอิงในผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
วิกิพีเดียสามารถเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมสำหรับใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และข้อมูลวิจัย อย่างไรก็ดี เช่นเดียวกับงานอ้างอิงทั้งหมด มิใช่ว่าข้อมูลทั้งหมดบนวิกิพีเดียถูกต้องแม่นยำ ครอบคลุมสมบูรณ์ (comprehensive) หรือไม่มีอคติเสมอไป ระเบียบพื้นฐานสำหรับการใช้วิกิพีเดียประกอบการวิจัยได้แก่:
- หมั่นสังเกตแหล่งข้อมูลเดี่ยว (ในทุกสื่อ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ สิ่งตีพิมพ์ โทรทัศน์ หรือวิทยุ) หรือในแหล่งข้อมูลหลายแห่งซึ่งสันนิษฐานว่ามาจากแหล่งข้อมูลเดียวกัน
- บทความซึ่งมีแหล่งอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น (ไม่ว่าจะออนไลน์หรือไม่ก็ตาม) อ่านแหล่งอ้างอิงและตรวจสอบว่าแหล่งอ้างอิงนั้นสนับสนุนข้อมูลในบทความหรือไม่
- ในสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ วิกิพีเดียและสารานุกรมส่วนใหญ่ไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งอ้างอิงในเอกสารงานวิจัย สำหรับสารานุกรมอื่น ๆ เช่น สารานุกรมบริตานิกา ซึ่งมีผู้ร่วมเขียนเป็นผู้มีชื่อเสียงหลายคน และสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิได้ในกรณีส่วนใหญ่ อาทิ มหาวิทยาลัยคอร์เนลมีคำแนะนำวิธีการอ้างอิงข้อมูลจากสารานุกรม
อย่างไรก็ตาม ด้วยธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของวิกิพีเดีย มีบางกฎสำหรับการใช้อ้างอิงซึ่งพิเศษสำหรับวิกิพีเดีย และกฎพื้นฐานบางอย่างซึ่งไม่มีผลต่อวิกิพีเดีย
ภูมิหลังความรู้เกี่ยวกับวิกิพีเดียของผู้วิจัย
[แก้]สำหรับนักวิจัยหรือผู้ใช้วิกิพีเดียอย่างจริงจัง เราขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณอ่าน วิกิพีเดีย:เกี่ยวกับ สำหรับข้อมูลเบื้องต้นและทำความเข้าใจกับวิกิพีเดีย
ภาพรวมของวิกิพีเดีย
[แก้]ในรูปแบบวิกิ บทความทั้งหมดจะไม่มีวัน "เสร็จสมบูรณ์" เพราะบทความมีการแก้ไขและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา โดยทั่วไปแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวส่งผลให้คุณภาพบทความสูงขึ้นและการบรรลุมติมหาชน (consensus) ว่าด้วยการนำเสนอข้อมูลอย่างยุติธรรมและไม่มีอคติเอนเอียง
ผู้ใช้ควรตระหนักว่ามิใช่บทความทั้งหมดในวิกิพีเดียจะมีคุณภาพเทียบเท่าสารานุกรมตั้งแต่เริ่ม อันที่จริง บทความจำนวนมากเริ่มโดยมีมุมมองเพียงด้านเดียว แม้บางทีอาจไม่มีอคติก็ตาม และหลังจากกระบวนการอภิปราย โต้วาที (debate) และการอ้างเหตุผลอันยาวนาน ก่อนที่บทความจะถูกปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบที่ได้รับการยอมรับ แต่ก่อนหน้านั้น บทความอาจมีมุมมองที่เอนเอียงอย่างหนักและจำเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ซึ่งบางทีอาจนานหลายเดือน จึงจะนำมาซึ่งมติมหาชนที่เป็นกลางมากขึ้น
บางส่วน นี่เป็นเพราะวิกิพีเดียดำเนินการส่วนใหญ่ตามกระบวนการอย่างไม่เป็นทางการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งเมื่อผู้ร่วมแก้ไขไม่สามารถตกลงในด้านเนื้อหาและการประนีประนอมกันแล้ว ก็มีแนวโน้มจะต้องใช้เวลาบ้างก่อนที่ผู้ใช้มากประสบการณ์จะเข้าร่วมการพิจารณาด้วย และแม้กระนั้น ในหัวเรื่องที่เกิดประเด็นโต้แย้งเป็นอาจิณ ผู้ใช้มากประสบการณ์เหล่านี้อาจมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
บทความวิกิพีเดีย ในอุดมคติ มีความเป็นกลาง ไม่เอนเอียงและเป็นสารานุกรม บรรจุความรู้ที่โดดเด่นและพิสูจน์ยืนยันได้ เมื่อเวลาผ่านไป มีบทความมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้มาตรฐานดังกล่าวมาก อย่างไรก็ดี กระบวนการนี้บางทีต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ระหว่างที่ผู้ใช้แต่ละคนผลัดกันมีส่วนร่วม บางบทความมีข้อความและคำอ้างซึ่งยังมิได้เพิ่มแหล่งอ้างอิงอย่างสมบูรณ์ ขณะที่บางบทความอาจมีการเพิ่มเนื้อหาส่วนใหม่เข้าไปทั้งหมด เนื้อหาบางส่วนในบทความผู้เขียนภายหลังอาจมองว่าข้อมูลไม่เพียงพอ และอาจนำออกหรือขยายความเพิ่มเติม
ในขณะที่ทิศทางโดยรวม ส่วนใหญ่วิกิพีเดียกำลังพัฒนาไปขึ้น แต่การพัฒนาดังกล่าวก็ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด จึงสำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะใช้วิกิพีเดียอย่างระมัดระวัง ถ้าคุณต้องใช้เป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการวิจัย แต่ละบทความ ตามแก่นธรรมชาติของวิกิพีเดีย มีมาตรฐานและความเสร็จสมบูรณ์หลากหลาย หน้านี้มีเจตนาเพื่อมุ่งช่วยเหลือผู้ใช้และผู้ทำวิจัยในการใช้วิกิพีเดียอย่างมีประสิทธิภาพ
จุดแข็งสำคัญของวิกิพีเดีย
[แก้]วิกิพีเดียมีข้อดีเหนืองานอ้างอิงอื่นอย่างแน่นอน การที่เป็นเว็บไซต์และมีผู้เขียนและผู้ใช้จำนวนมาก ทำให้เนื้อหาวิกิพีเดียครอบคลุมหลายหัวเรื่องอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการเพิ่มไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งในสื่ออื่นไม่สามารถกระทำได้ วิกิพีเดียยังเข้าถึงเนื้อหาซึ่งอาจเข้าถึงไม่ได้ในภาษาท้องถิ่น กล่าวคือ คุณสามารถศึกษาเนื้อหาในวัฒนธรรมต่างประเทศบนวิกิพีเดียได้มากกว่าสิ่งตีพิมพ์อื่นในประเทศ การขาดแคลนเนื้อหาประเภทนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้นในวิกิพีเดีย
วิกิพีเดียยังมักผลิตบทความดีเยี่ยมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ปรากฏเป็นข่าวไม่นานหลังเกิดเหตุการณ์ขึ้น เช่น บารัก โอบามา, การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009, สมเพียร เอกสมญา เป็นต้น เช่นเดียวกัน วิกิพีเดียเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่เว็บไซต์ซึ่งพยายามจะสร้างความเป็นกลาง ไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัว และมีเนื้อหาครอบคลุมวัฒนธรรมสมัยนิยมอย่างเป็นสารานุกรมด้วย เช่น รายการโทรทัศน์ และนิยายวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ วิกิพีเดียยังกำลังจะพัฒนาขอบเขตเนื้อหาซึ่งครอบคลุมทั่วโลก ขณะที่แหล่งข้อมูลที่มีอยู่อื่นมักไม่ปะติดปะต่อกัน ทั้งนี้ รวมไปถึงกีฬา อย่างเช่น ฟุตบอลและกอล์ฟ
เมื่อเทียบกับแหล่งข้อมูลบนเว็บไซต์อื่นส่วนใหญ่ ความเปิดเผยของวิกิพีเดียได้เพิ่มโอกาสอย่างมหาศาลที่รายละเอียดข้อผิดพลาดหรือข้อความที่ชวนเข้าใจผิดจะได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ดังที่วิกิพีเดียเป็นโครงการที่ต้องอาศัยความร่วมมือ (collaborative) และกำลังดำเนินการอยู่ ผู้หนึ่งอาจถามผู้เขียนบทความหนึ่ง และขอบคุณสำหรับไฮเปอร์ลิงก์และแหล่งข้อมูลอื่นอย่างกว้างขวาง วิกิพีเดียสามารถเป็นคู่มือแนะนำแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งในรูปแบบวิกิและนอกเหนือจากนั้น
จุดอ่อนสำคัญของวิกิพีเดีย
[แก้]ขณะเดียวกัน ข้อเสียร้ายแรงที่สุดของวิกิพีเดียก็เป็นผลมาจากเหตุเดียวกับที่เป็นข้อดีที่สุดของวิกิพีเดียเอง การเปิดโอกาสให้ใครก็ได้เขียนบทความบนวิกิพีเดียโดยทั่วถึง หมายความว่า อาจมีบางโอกาส ที่บางบทความจะอยู่ในสภาพเลว เช่น บทความนั้นอาจกำลังอยู่ระหว่างการแก้ไขครั้งใหญ่หรืออาจเพิ่งมีการก่อกวนเมื่อเร็ว ๆ นี้ แม้การก่อกวนมักพบได้ง่ายและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว แต่เนื่องด้วยวิกิพีเดียมีเนื้อหามาก จึงอาจมีการก่อกวนที่ไม่สามารถตรวจจับได้ เช่นเดียวกับข้อผิดพลาดโดยเจตนา (deliberate factual error) มากกว่างานอ้างอิงทั่วไป (typical reference work)
เช่นกัน วิกิพีเดียสามารถสร้างบทความในหัวข้อที่ทันสมัยอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีเรื่องที่ถูกมองข้ามและถูกปล่อยปละละเลยอย่างสำคัญ ไม่มีกระบวนการอย่างเป็นระบบซึ่งอาจประกันได้ว่าหัวเรื่องที่ "มีความสำคัญอย่างยิ่ง" จะมีการเขียนขึ้น ดังนั้น ในทุกขณะ วิกิพีเดียอาจมีความไม่สมดุลอย่างรุนแรงในการให้ความสนใจไปยังหัวเรื่องสองหัวเรื่องซึ่งแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะมีเนื้อหาสำหรับหมู่บ้านขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกามากกว่าเมืองขนาดกลางในแถบซับสะฮารา ส่วนในวิกิพีเดียภาษาไทย จะมีเนื้อหาในประเทศไทยมากกว่าเนื้อหาในส่วนอื่น ๆ ของโลก
อีกประเด็นปัญหาหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดเช่นกัน คือ บทความวิกิพีเดียบทความหนึ่ง หรือกลุ่มบทความที่เกี่ยวเนื่องกัน ย่อมจะมีความไม่สมบูรณ์ในหลายทาง ซึ่งอาจพบน้อยในงานอ้างอิงซึ่งมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด บางครั้งเหตุการณ์ทำนองดังกล่าวสามารถถูกพบอย่างชัดเจน (เช่น บทความสั้นมากที่เรียกว่า โครง) แต่ในบางครั้ง เหตุการณ์ดังกล่าวอาจถูกพบได้ยากยิ่ง เช่น (1) ประเด็นการโต้แย้งด้านหนึ่งอาจมีการนำเสนออย่างดีเลิศ แต่อีกแนวคิดหนึ่งกลับมีการกล่าวถึงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (2) ในบทความชีวประวัติ ชีวิตช่วงหนึ่งของบุคคลนั้นอาจครอบคลุมในรายละเอียด แต่หัวข้ออื่นกลับถูกนำเสนออย่างห้วนสั้นหรือไม่มีเลย และ (3) ความครอบคลุมในประวัติศาสตร์ของประเทศหนึ่งอาจมุ่งให้ความสนใจไปยังเหตุการณ์ซึ่งดึงดูดความสนใจจากนานาประเทศ หรืออาจเพียงสะท้อนความสนใจและความรู้ความชำนาญของผู้เขียนบทความเท่านั้น
อีกปัญหาหนึ่งจากการมีบทความเป็นจำนวนมากบนวิกิพีเดีย คือ ผู้ร่วมแก้ไขจำนวนมากมิได้เพิ่มเติมแหล่งอ้างอิง ทำให้เป็นการยากที่ผู้อ่านจะสามารถตัดสินความน่าเชื่อถือของข้อความที่เขียนขึ้น ในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวอาจลดน้อยลงไปบ้าง แต่ไม่ถึงกับหมดไปเสียทีเดียว
คุณภาพของบทความในวิกิพีเดีย
[แก้]วิกิพีเดียเป็นวิกิ สื่อกลางรูปแบบเปิดเผยซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือ เมื่อขอบเขตความรู้ของมนุษย์ขยายออกไป เนื้อหาในวิกิของเราก็ขยายตามไปด้วย บทความวิกิจะมีการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลให้คุณภาพและมติมหาชนเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นกลางมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้มที่จะเพิ่มแหล่งอ้างอิง หัวข้อใหม่ และอื่น ๆ ข้อความอันน่าคลางแคลงสงสัยมีแนวโน้มจะถูกนำออกเมื่อเวลาผ่านไป แต่ก็อาจใช้เวลานาน
พึงระลึกว่าสารานุกรมมีจุดประสงค์เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการค้นคว้าอย่างจริงจัง มิใช่จุดสิ้นสุด แม้บางคนอาจพอใจเพียงอ้างอิงจากวิกิพีเดีย แต่คุณเรียนรู้มากขึ้นโดยการเข้าถึงสิ่งตีพิมพ์และแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่อ้างอิงถึงในบทความ เรากระตุ้นให้คุณพิสูจน์ยืนยันความถูกต้องในเนื้อหาของเราด้วยแหล่งข้อมูลอิสระ (independent source) เรายังเชิญชวนให้คุณมีส่วนร่วมกับเราโดยการแก้ไขข้อผิดพลาดใด ๆ ที่คุณอาจพบ และเพิ่มแหล่งข้อมูลแก่ข้อมูลนั้น ซึ่งจะเป็นที่สนใจต่อนักวิจัยในอนาคต
การบริหารการแก้ไข การดูแล และการจัดการ
[แก้]ชุมชนวิกิพีเดียส่วนใหญ่ดำเนินการด้วยตนเอง (self-organising) เพื่อที่ทุกคนจะสามารถสร้างชื่อเสียง (reputation) ในฐานะผู้ร่วมแก้ไขที่มีความสามารถและเริ่มเข้าไปมีส่วนในบทบาทที่พวกเขาจะเลือก ภายใต้การสอดส่องดูแลคุณภาพ (peer approval) บ่อยครั้งที่เลือกเกี่ยวข้องในงานเฉพาะด้าน ตามที่ผู้ใช้คนอื่นร้องขอ สอดส่องการแก้ไขล่าสุดเพื่อมองหาการก่อกวน หรือดูบทความสร้างใหม่เพื่อประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพ หรืองานที่คล้ายกัน ผู้ร่วมแก้ไขซึ่งพบว่าความรับผิดชอบในฐานะผู้บริหารการแก้ไข (editorial administrator) จะใช้ประโยชน์จากความสามารถของตนช่วยเหลือชุมชนอาจรองขอสมาชิกในชุมชนเพื่อตกลงให้ดำเนินการในบทบาทดังกล่าว โครงสร้างซึ่งบังคับใช้หลักคุณธรรมนิยมและมาตรฐานชุมชนในการแก้ไขและความประพฤติ ผู้ใช้จะได้บทบาทด้านบริหารและบทบาทอื่นที่คล้ายกันมาเฉพาะหลังกระบวนการเสนอชื่อและการสำรวจความคิดเห็นซึ่งได้รับการยอมรับมาก อันเป็นมาตรฐานซึ่งโน้มเอียงให้เกิดประสบการณ์ ความเชื่อมั่นและความคุ้นเคยในระดับสูงทั่วโครงการอันกว้างขวางภายในวิกิพีเดีย
ข้อพิจารณาด้านการวิจัยเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิกิพีเดีย
[แก้]การใช้แหล่งข้อมูลอิสระหลายแห่ง
[แก้]เนื่องจากวิกิพีเดียเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (GFDL) เนื้อหาของวิกิพีเดียจึงมักถูกดัดแปลง (reproduce) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบออนไลน์ ผู้วิจัยควรระมัดระวังเป็นพิเศษในอคติ "ข้อความเต็มบนเน็ต" ("Full Text On the Net" bias) และทำให้แน่ใจว่าบทความที่สองที่คุณต้องการใช้ยืนยันข้อมูลบนวิกิพีเดียนั้น ไม่ได้เป็น (ยกตัวอย่างเช่น) เพียงการคัดลอกรุ่นก่อนหน้าเท่านั้น วิธีหนึ่งในการดูแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการจัดคุณภาพของบทความวิกิพีเดีย คือ ดูจากแหล่งอ้างอิงในบทความ บทความซึ่งสะท้อนข้อมูลและเจตนาใช้แหล่งข้อมูลคุณภาพสูงจำนวนมากอย่างแท้จริงมักเป็นตัวบ่งชี้อันน่าเชื่อถือยิ่งในสถานะปัจจุบันของความรู้ในหัวเรื่องดังกล่าว บทความซึ่งมีแหล่งอ้างอิงน้อยหรือไม่มีเลย หรือแหล่งอ้างอิงคุณภาพต่ำไม่อาจสะท้อนความต้องการข้อมูลคุณภาพสูงของผู้วิจัยได้ วิธีเดียวในการยืนยันว่าบทความนั้นสะท้อนข้อมูลในแหล่งข้อมูลคุณภาพสูงอย่างแท้จริง คือ การอ่านและทำความเข้าใจแหล่งอ้างอิงที่อ้างถึงและบางทีอาจต้องค้นคว้าเพิ่มนอกเหนือจากนั้นอีก บ่อยครั้งที่บทความวิกิพีเดียให้ภาพรวมเกี่ยวกับหัวเรื่องหนึ่งได้อย่างดีเลิศ ทำให้เป็นการง่ายขึ้นที่จะทำความเข้าใจแหล่งอ้างอิงที่อ้างถึงและทำให้เข้าใจง่ายขึ้นว่าข้อมูลประเภทใดที่คุณกำลังมองหา
การตรวจสอบประวัติของบทความ
[แก้]กระบวนการการสร้างวิกิพีเดียมีลักษณะเปิด ผลคือ ไม่เหมือนกับงานอ้างอิงส่วนใหญ่ ยังมีความเป็นไปได้ที่ว่าแม้ในบทความที่ค่อนข้างดีเลิศและเสถียร รุ่นล่าสุดของบทความในขณะใดขณะหนึ่งอาจอยู่ในระหว่างการแก้ไขที่เพิ่งผ่านไปเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งอาจไม่มีคุณภาพระดับเดียวกับส่วนที่เหลือของบทความก็เป็นได้
อย่างไรก็ดี ไม่เหมือนงานอ้างอิงส่วนใหญ่ คุณสามารถเข้าถึงประวัติของบทความได้ (รุ่นก่อน ๆ และคำอธิบายการเปลี่ยนแปลง) และการอภิปรายระหว่างผู้ร่วมสร้างบทความ บ่อยครั้งที่เมื่อคุณมีคำถามเกี่ยวกับบทความหรือกำลังทำการวิจัยอย่างลึกซึ้งในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง การอ่านประวัติและหน้าอภิปรายของบทความจะช่วยให้คุณมองภาพทะลุว่าเหตุใดบทความจึงกล่าวอย่างในปัจจุบันและจุดไหนของบทความ (ถ้ามี) อยู่ระหว่างการโต้แย้งและบ่อยครั้งได้ส่งผลดีต่อการวิจัยเพิ่มเติม
ลิงก์ภายใน
[แก้]วิกิพีเดียได้รื้อฟื้นแนวคิดไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งเป็นแนวคิดของเวิลด์ไวด์เว็บ ขึ้นใหม่อีกครั้ง ผู้เขียนสามารถใช้ไฮเปอร์ลิงก์เชื่อมโยงคำหรือวลีใด ๆ ไปยังบทความอื่นบนวิกิพีเดีย ซึ่งมักช่วยอธิบายประกอบและเป็นประโยชน์มหาศาล บทความใด ๆ ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลภูมิหลังเลย วิธีการดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นข้อจำกัดอันใหญ่หลวงบนอินเทอร์เน็ตโดยรวม จากสาเหตุหลายประการที่ลิงก์ต่าง ๆ จะพ้นสมัยไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ลิงก์ภายในของวิกิพีเดียสามารถกระทำได้ด้วยความมั่นใจ และเพื่อวิกิพีเดียจะให้บริการเว็บสนับสนุนข้อมูลโดยทั้งสองฝ่าย
บางบทความอาจมีลิงก์มากเกินความจำเป็น (overlinked) ทำให้ลิงก์สำคัญอาจหายไปราวกับเข็มในกองหญ้า เช่นเดียวกัน บางคนอาจลิงก์คำโดยไม่ดูก่อนว่าลิงก์ดังกล่าวเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่มีประโยชน์หรือไม่ คุณอาจคลิกตามลิงก์ไปและพบว่าข้อมูลนั้นไม่มีอะไรสำคัญมากไปกว่าข้อมูลที่คุณเพิ่งอ่าน หรือแม้แต่คุณอาจพบบทความซึ่งไม่เกี่ยวข้องอะไรกับความหมายของคำเดียวกันเลย โดยทั่วไปแล้ว ปัญหาดังกล่าวพบน้อยกว่าในวิกิพีเดียภาษาไทยเมื่อเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอื่นบางภาษา
หมวดหมู่
[แก้]วิกิพีเดียมีระบบกำหนดหมวดหมู่โดยผู้ใช้ (โฟล์กโซโนมี) เป็นของตนเอง นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ระบบหมวดหมู่เป็นระบบการจัดหมวดหมู่ร่วมกันโดยการใช้คำค้น (keyword) ซึ่งผู้ร้วมแก้ไขวิกิพีเดียทุกคนสามารถแก้ไขได้โดยเสรี ฟีเจอร์ (feature) ดังกล่าวเป็นการช่วยให้นักวิจัยสามารถเข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของวิกิพีเดียได้โดยผ่านทางหมวดหมู่ ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
โดยแท้จริงแล้ว บทความทั้งหมดในปัจจุบันมีการจัดหมวดหมู่บางรูปแบบแล้ว; อย่างไรก็ตาม การจัดหมวดหมู่ดังกล่าวสามารถมีคุณภาพที่แตกต่างกันอย่างมากได้ ในขอบเขตหัวเรื่องซึ่งผู้ร่วมแก้ไขได้สร้างการจัดหมวดหมู่ที่มีรายละเอียดและมีการจัดการอย่างดี ก็อาจมีขอบเขตหัวเรื่องอื่นอีกเช่นกัน ที่การจัดหมวดหมู่มีลักษณะของความพอใจส่วนบุคคล (ad hoc) และมักจะกระทำขึ้นอย่างหยาบ ๆ เท่านั้น
ในบทความทั้งหมดที่ได้จัดหมวดหมู่แล้ว คุณจะสามารถค้นหารายชื่อหมวดหมู่ได้ที่เกือบด้านล่างสุดของหน้า
ใช้ประโยชน์จาก "หน้าที่ลิงก์มา"
[แก้]เทคนิคอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันน้อยมาก แต่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการใช้วิกิพีเดียประกอบการวิจัยคือการใช้ "หน้าที่ลิงก์มา" อย่างมีประสิทธิภาพ โดยลิงก์ดังกล่าวจะปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายของจอภาพ โดยจะปรากฏเป็นรายการแรกในกล่องที่เขียนว่า "เครื่องมือ" คุณจะสามารถมองเห็นรายชื่อของลิงก์ทั้งหมดซึ่งลิงก์มายังบทความปัจจุบันจากบทความวิกิพีเดียอื่น แม้กระทั่งในบทความซึ่งคุณกำลังมองหาจะเป็นเพียงโครง — หรือ ที่น่าประหลาดยิ่งไปกว่านั้น แม้แต่บทความเปล่าซึ่งยังไม่ได้ถูกเริ่มต้นเขียน — บทความจำนวนมากซึ่งเกี่ยวข้องกันจะสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายผ่านฟีเจอร์นี้ ในบางครั้ง ลิงก์ย้อนหลังเหล่านี้จะแสดงให้คุณเห็นถึงวิธีการซึ่งบทความที่คุณเริ่มต้นจากเนื้อหาที่ยังไม่สมบูรณ์ในขอบเขตหนึ่งหรือขอบเขตอื่น ๆ
ใช้ประโยชน์จาก "หน้าสำหรับพิมพ์"
[แก้]อีกฟีเจอร์หนึ่งของ เครื่องมือ คือ "หน้าสำหรับพิมพ์" ใช้สำหรับเมื่อคุณต้องการพิมพ์บทความสำหรับรุ่นที่เป็นมิตรต่อเครื่องพิมพ์ (printer-friendly version) ของบทความ เบราว์เซอร์บางตัว อย่างเช่น มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ ซึ่งรองรับการพิมพ์สื่อจะสามารถใช้กันได้กับหน้าสำหรับพิมพ์โดยอัตโนมัติเมื่อพิมพ์พร้อมกับค่าโดยปริยาย (default) ของแคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ มอนอบุ๊ก
เข้าใจอคติในวิกิพีเดีย
[แก้]ไม่มีนักวิชาการที่ดีคนใดจะคาดหวังได้ว่างานอ้างอิงทุกงานจะปราศจากอคติโดยสิ้นเชิง แทนที่จะเป็นเช่นนั้น นักวิชาการได้ทำความเข้าใจในอคติซึ่งเป็นที่คาดหวังของงานแต่ละงานโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อดูที่ Encyclopædia Britannica ฉบับปี ค.ศ. 1911 นักวิชาการคาดหวังว่าจะพบกับมุมมองและทัศนคติที่มีต่อเชื้อชาติ ลักษณะเชื้อชาติ เพศ และเพศสภาพที่มีอังกฤษเป็นศูนย์กลาง (Anglocentric) ซึ่งหากมองในมาตรฐานปัจจุบันแล้วจะพบว่าเคร่งครัดเกินไปและอาจถึงขั้นดันทุรัง ใน Collier's Encyclopedia นักวิชาการย่อมคาดหวังจะพบกับมุมมองซึ่งมีอเมริกาเป็นศูนย์กลาง (Americentric) แทน
ไม่เหมือนกับงานอ้างอิงบางแห่ง อคติของวิกิพีเดียมีลักษณะไม่แน่นอน ชาววิกิพีเดียมาจากทุกทิศทั่วโลกและทั้งหมดมีฐานะความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ในขณะที่เรากำลังพัฒนาบทความเพื่อให้พอดีกับมุมมองที่เป็นกลาง บทความอีกเป็นจำนวนมากก็ยังคงไปไม่ถึงสถานะดังกล่าว อันที่จริงแล้ว บทความสองบทในหัวเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกันอาจถูกเขียนขึ้นโดยกลุ่มคนที่แตกต่างกันและสะท้อนอคติที่แตกต่างกันไปด้วย แม้กระทั่งในบทความเดียวกัน ก็อาจพบความแตกต่างหรือความขัดแย้งของอคติได้ นอกจากนี้ เนื้อหาของข้อยืนยันในมุมมองที่เที่ยงตรงจะต้องอธิบายอย่างเป็นกลางเช่นกัน
ในความเกี่ยวเนื่องดังกล่าว ทำให้วิกิพีเดียมีลักษณะเหมือนกับห้องสมุดในตัวมันเอง (หรือเหมือนกับเวิลด์ไวด์เว็บ) มากกว่างานอ้างอิงที่เป็นเอกสาร ข้อเท็จจริงที่ว่าหนังสือในห้องสมุดไม่มีการรับประกันว่าจะไม่มีอคติหรือข้อมูลที่ผิดพลาด แนวคิดดังกล่าวสามารถใช้ได้กับบทความวิกิพีเดียเช่นเดียวกัน แต่นี่มิได้หมายความว่าบทความวิกิพีเดียจะไร้ค่า เพียงแต่หมายความว่าคุณควรจะทราบว่าการเข้าถึงบทความวิกิพีเดียมีความแตกต่างจากการเข้าถึงงานอ้างอิงที่เป็นเอกสาร
ใช้กระบวนการทางสังคมของวิกิพีเดีย
[แก้]วิกิพีเดียมิใช่เป็นเพียงสารานุกรมเท่านั้น; มันยังเป็นลักษณะของการรวมกลุ่มขนาดใหญ่ของกลุ่มผู้ร่วมแก้ไข หรือชาววิกิพีเดีย ในส่วนประวัติศาสตร์ของบทความแต่ละบท คุณสามารถค้นได้ว่าผู้ใช้คนใดมีส่วนปรับปรุงบทความในทางใดบ้าง นอกเหนือจากนั้น บทความแต่ละบทยังมีหน้าอภิปราย หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับบทความ คุณสามารถโพสต์คำถามในหน้าอภิปรายหรือในหน้าพูดคุยกับผู้ใช้ผู้ร่วมแก้ไข ข้อความมักจะทำให้คุณได้รับคำตอบสำหรับคำถามที่คุณถาม หลังจากนั้น คุณและผู้ร่วมแก้ไขคนอื่นอาจอัปเดตบทความเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับนักวิจัยในภายหลัง
อาจเป็นไปได้ที่การเข้าถึงในลักษณะดังกล่าวโดยทั่วไปคือการเริ่มเพิ่มคำถามของคุณในหน้าอภิปรายของบทความที่เหมาะสม จากนั้น ใส่โน้ตบนหน้าพูดคุยของผู้ร่วมแก้ไขในประเด็นปัญหาหรือเรียกร้องความสนใจของเขามายังคำถามของคุณ คำถามในลักษณะดังกล่าวมักเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความประณีตของบทความ หากคุณมีคำถามซึ่งไม่มีข้อมูลในตัวบทความ นั่นก็หมายความว่า มีโอกาสที่คนอื่น ๆ จะต้องการข้อมูลอย่างเดียวกับคุณ และข้อมูลดังกล่าวก็ควรจะถูกเพิ่มลงไปในบทความ
โดยทั่วไปแล้ว คุณไม่ควรคาดหวังให้ชาววิกิพีเดียติดต่อคุณผ่านทางอีเมล แต่คุณควรจะกลับมาคอยดูหน้าคุยกับผู้ใช้ของคุณเป็นระยะ ๆ เมื่อดูว่าคำถามของคุณได้รับคำตอบหรือไม่ (ผู้ใช้บางคนอาจพอใจที่จะตอบในหน้าคุยกับผู้ใช้ของตัวเอง)
เราขอแนะนำอย่างยิ่งว่าหากคุณต้องการมีส่วนร่วมในประชาคมวิกิพีเดีย คุณสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้ในวิกิพีเดีย (ไม่เสียค่าบริการ และคุณไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลการติดต่อใด ๆ และในวิกิพีเดียจะไม่มีสแปมโดยเด็ดขาด) เมื่อคุณล็อกอิน และคุณลงชื่อการโพสต์ของคุณในหน้าอภิปรายใด ๆ ด้วยเครื่องหมาย ~~~~ นั่นจะเป็นการบันทึกในหน้าอภิปรายว่าเป็นการลงชื่อของบัญชีผู้ใช้และตราเวลา การโพสต์ในหน้าพูดคุยด้วยบัญชีผู้ใช้ไม่ใช่บรรทัดฐานทางสังคมในวิกิพีเดีย แต่นั่นจะทำให้คุณสามารถระบุตัวตนในการอภิปรายซึ่งมีผู้ร่วมอภิปรายจำนวนมาก และป้องกันความสับสนแก่ผู้อื่น
มองหาการตรวจทานอย่างกว้างขวาง
[แก้]มีบทความในวิกิพีเดียภาษาไทยจำนวนน้อย — หรือซึ่งรู้จักกันดีในนาม บทความคัดสรร — ที่จะมีการตรวจทานอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ บทความพวกนี้มักยังคงมาตรฐานในระดับสูง แต่ก็อาจเป็นไปได้เช่นกัน (แม้จะมีโอกาสไม่บ่อยครั้งนัก) ที่การตรวจทานบทความในอดีตอาจเสื่อมลงนับตั้งแต่บทความได้รับความสนใจในระดับสูง
แม้จะขาดแคลนการตรวจทานอย่างเป็นทางการนี้ บทความจำนวนมากได้มีการพิจารณาอย่างมหาศาล อีกครั้ง นี่สามารถระบุอย่างไม่เป็นทางการได้อย่างบ่อยครั้งได้โดยการเข้าดูประวัติของหน้าและอภิปรายประสานกับบทความ
การอ้างถึงวิกิพีเดีย
[แก้]ขั้นแรก คุณควรจะตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการใช้สารานุกรมใด ๆ เป็นแหล่งข้อมูลหรือแหล่งอ้างอิง นี่ไม่ใช่ประเด็นซึ่งเกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียโดยเฉพาะ ดังที่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาไม่พิจารณาว่าสารานุกรมโดยทั่วไปว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม การอ้างอิงถึงวิกิพีเดียในงานวิจัยเป็นที่รู้กันดีกว่าทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง
หากนี่มิได้หมายความว่าวิกิพีเดียไม่มีประโยชน์: บทความวิกิพีเดียบรรจุลิงก์จำนวนมากซึ่งเชื่อมโยงไปยังบทความหนังสือพิมพ์ หนังสือ (ซึ่งอาจมีหมายเลข ISBN กำกับด้วย) รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ แหล่งข้อมูลบนเว็บไซต์ และที่คล้ายกัน ซึ่งลิงก์เหล่านี้มักจะได้รับการรับรองในการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลดั้งเดิมมากกว่าการใช้วิกิพีเดีย ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ในเวลาเดียวกัน คุณธรรมในทางวิชาการอย่างง่ายคือ คุณต้องอ่านงานที่คุณอ้างถึงอย่างจริงจัง: ถ้าคุณไม่ทำอย่างนั้น คุณก็ไม่ควรใช้แหล่งข้อมูลนั้นเป็นแหล่งอ้างอิงอย่างผิด ๆ
มีอีกหลายกรณีซึ่งผู้ร่วมพัฒนาวิกิพีเดียถูกพิจารณาว่าเป็นต้นฉบับและมีความสำคัญเพียงพอบนหัวเรื่องโดยไม่ครอบคลุมถึงงานเขียนอื่น ๆ ดังนั้น มันจึงอาจถูกพิจารณาว่าเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิได้ ยกตัวอย่างเช่น จากเว็บไซต์ของ นิวยอร์กไทมส์ "ศาลสูงสุดของรัฐไอโอว่าอ้างข้อมูลจากวิกิพีเดียในการอธิบายว่า "jungle juice" เป็น 'ชื่อซึ่งใช้สำหรับของเหลวผสมซึ่งโดยปกติแล้วเสิร์ฟเพื่อจุดประสงค์ที่จะทำให้เกิดอาการเมาเพียงอย่างเดียว'"[3]
เนื่องจากความเปิดเผยของวิกิพีเดีย การตัดสินใจเกี่ยวกับการอ้างถึงบทความจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของแต่ละบทความ เพราะบทความจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หากมีผู้ที่เลือกที่จะอ้างถึงบทความวิกพีเดีย การอ้างอิงดังกล่าวควรระบุรุ่นของบทความที่มีความเจาะจงโดยการระบุวันที่และเวลาที่มันถูกสร้างขึ้น ซึ่งสามารถพบได้ในหน้าประวัติของบทความ นอกจากนี้ ฟีเจอร์ "อ้างอิงถึงบทความนี้" และ "ลิงก์ถาวร" บนกล่องเครื่องมือจะมีประโยชน์อย่างมากในการค้นหาข้อมูลนั้น ยกตัวอย่างเช่น ลิงก์นี้ เป็นรุ่นโดยเฉพาะที่มีการแก้ไขเมื่อเวลา 21.01 น. ของวันที่ 7 เมษายน 2553; 2452824 เป็นหมายเลขสำหรับรุ่นของบทความ ลิงก์จะแสดงบทความในรูปแบบเดียวกับที่มันเคยเป็นในช่วงเวลานั้น โดยการเปลี่ยนแปลงในภายหลังจะไม่ถูกรวมในข้อความด้วย
ความช่วยเหลือเพิ่มเติม
[แก้]คำถามพบบ่อย (FAQ)
[แก้]ความช่วยเหลืออื่นและกระแสตอบรับ
[แก้]เมื่อมีกระบวนการของความขัดแย้งเกิดขึ้นภายในวิกพีเดีย เช่นเดียวกับหน้าซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อตอบคำถาม แสดงตอบรับ ข้อเสนอและข้อเสนอแนะ และการอภิปรายของประชาคม
สิ่งอำนวยความสะดวกต่อการช่วยเหลือผู้ใช้ในการวิจัยหัวข้อโดยเฉพาะสามารถถูกพบได้ที่:
- วิกิพีเดีย:บทความที่ต้องการ — สำหรับเสนอหรือร้องขอบทความในอนาคต
- วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา — เพื่อถามสำหรับคตวามช่วยเหลือในทุกคำถาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงใด ๆ
- วิกิพีเดีย:แผนกช่วยเหลือ — ความช่วยเหลือโดยทั่วไปเกี่ยวกับวิกิพีเดีย หากหน้าอื่นไม่ตอบคำถามของคุณ
เนื่องจากธรรมชาติของวิกิพีเดีย มันกระตุ้นให้ผู้คนซึ่งมองหาข้อมูลควรจะพยายามค้นหาข้อมูลด้วยตนเองก่อนในขั้นแรก อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณบังเอิญพบข้อมูลซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงในวิกิพีเดีย จงกล้าที่จะแก้ไข และโปรดเพิ่มข้อมูลที่ถูกต้องลงไปด้วยตัวคุณเอง เพื่อที่ผู้อื่นจะได้รับประโยชน์จากการค้นคว้าของคุณด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Andrew Orlowski. (2006). New Age judge blasts Apple. The Register. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2553.
- ↑ Andrew Orlowski. (2006). Avoid Wikipedia, warns Wikipedia chief. The Register. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2553.
- ↑ Noam Cohen (29 January 2007). "Courts turn to Wikipedia, but selectively". The New York Times.
ดูเพิ่ม
[แก้]- ความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดีย
- วิกิพีเดีย:คู่มือแนะนำหน้าอภิปรายสำหรับนักวิจัย
- วิกิพีเดีย:การนำไปใช้ในเชิงวิชาการ
- วิกิพีเดีย:ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ
- วิกิพีเดีย:คำตอบสำหรับการคัดค้านโดยทั่วไป
- ข้อวิจารณ์ของวิกิพีเดีย และ วิกิพีเดีย:ข้อวิจารณ์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- How to Evaluate a Wikipedia Article - A one-page PDF with similar recommendations to this page.
- Evaluating Web Pages: Techniques to Apply & Questions to Ask from the University of California, Berkeley
- Critically Analyzing Information Sources from Cornell University
- Roy Rosenzweig, Can History be Open Source? Wikipedia and the Future of the Past, Center for History and New Media. Originally published in The Journal of American History Volume 93, Number 1 (June, 2006): 117-46.