วัดไผ่ล้อม (อำเภอลอง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดไผ่ล้อม
วิหารวัดไผ่ล้อม บูรณะใหม่ปี พ.ศ. 2550
แผนที่
ชื่อสามัญวัดไผ่ล้อม
ที่ตั้ง173 หมู่ที่ 1 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระอธิการจตุรภัทร อาภากโร
ความพิเศษวัดประจำตำบลหัวทุ่ง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่เลขที่ 173 หมู่ที่ 1 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 6

การสร้างวัด[แก้]

ประตูหน้าวัดไผ่ล้อม

จากหลักฐานพบว่าในปี พ.ศ. 2393 นั้น หลวงปู่ใจได้ธุดงค์จาริกมาจากเมืองนครเขลางค์ได้มาพบทำเลที่เนินดินคุ้มน้ำห้วยแม่ปงตรงปากร่องหมาน้อย ( ร่องหมาน้อยใจกลางหมู่บ้านปัจจุบัน ) ซึ่งเห็นว่าเป็นสถานที่สงบและเหมาะแก่การปฏิบัติศาสนาธรรม จึงทำการสร้างอารามเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านถิ่นนี้ยังไม่มีอะไรไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจมักเชื่อแต่เรื่องภูตผีปีศาจในการดำรงชีวิต ต่อมาเมื่อหลวงปู่ใจได้เทศนาอบรมธรรมสั่งสอนแก่ชาวบ้าน จนเกิดความศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น และเอาวัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจตลอดมา เมื่อหลวงปู่ท่านมีอายุมากและเป็นที่พึ่งทางใจให้ชาวบ้านเป็นเวลาถึง 3 ปี ท่านก็ได้มรณภาพลงในปี พ.ศ. 2396

ต่อมาก็มีครูบาไกรสอนเป็นเจ้าอาวาสรูปที่สองสืบต่อมาจวบจนท่านได้มรณภาพในปี พ.ศ. 2414

หลวงปู่สุวรรณ[แก้]

ป้ายประวัติวัดไผ่ล้อม

ต่อมาก็มีครูบาสุวรรณ เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ท่านได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณวัดคับแคบและขยับขยายออกไปไม่ได้ อีกทั้งในปีนั้นเกิดโรคระบาด (อหิวาตกโรค) ทำให้พระภิกษุสามเณรมรณภาพไปหลายรูป ท่านจึงตัดสินใจย้ายวัดเดิม (ปากร่องหมาน้อย) มาตั้งที่ใหม่ตรงฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ (สถานที่ตั้งวัดในปัจจุบัน) ในสมัยของครูบาสุวรรณเป็นเจ้าอาวาสนั้น วัดไผ่ล้อมมีความเจริญรุ่งเรืองทางพระศาสนาในด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างมาก มีการก่อสร้างวิหารที่มั่นคงถาวรเป็นหลังแรก ประการหนึ่ง หลวงปู่ก็เป็นนักเทศน์ที่ลือชื่อรูปหนึ่งในถิ่นนี้ โดยมีคราวหนึ่ง ท่านเจ้าเมืองเขลางค์ได้นิมนต์หลวงปู่ไปเทศนาโปรดประชาชนเมืองนครเขลางค์ เป็นที่ประทับใจอย่างมาก ท่านเจ้าเมืองถึงกับถวายกัณฑ์เทศน์เป็น “ช้างพลาย” บูชากัณฑ์เทศน์ หลวงปู่สุวรรณได้มรณภาพลงในปีพ.ศ. 2462 ซึ่งชาวบ้านได้ให้ความเคารพนับถือท่านอย่างมากจึงขนานนามท่านว่า หลวงปู่สุวรรณ หรือปู่ตุ๊ ของชาวบ้าน สถูปบรรจุอัฐิ ของท่านก็ยังมีร่องรอยอยู่จวบจนถึงปัจจุบันนี้ (ใต้ร่มโพธิ์ด้านเหนือ) เป็นที่เคารพสักการะของคณะศรัทธาชาวบ้านอีกด้วย

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 ครูบาใจมา พ.ศ. 2393 - พ.ศ. 2396
2 ครูบาไกรสอน พ.ศ. 2396 - พ.ศ. 2414
3 ครูบาสุวรรณ สุวณฺโณ พ.ศ. 2414 - พ.ศ. 2462
4 ครูบาโต พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2465
5 ครูบาหล้า พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2468
6 ครูบาแก่น พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2470
7 ครูบาจันทิมา พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2475
8 ครูบาผ้าขาวป้อ พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2483
9 พระอธิการเงิน สุธมฺโม พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2498
10 พระดา อติธมฺโม พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2499
11 พระอินตา อติเมโธ พ.ศ. 2499 - พ.ศ. 2501
12 พระลี สีลสมฺปนฺโน พ.ศ. 2501 - พ.ศ. 2502
13 พระเลิศ โกวิโท พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2503
14 พระอธิการลี สีลสมฺปนฺโน พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2537
15 พระสุภาพ ธมฺมรโต พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538
16 พระครูโสภิตวรการ (สงคาร สิริธมฺโม น.ธ.เอก, ปธ.3, ศศ.บ) จต.ชท. พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2559
17 พระอธิการจตุรภัทร อาภากโร น.ธ.เอก พ.ศ. 2559 - ปัจุบัน

อาณาเขตที่ตั้งวัด[แก้]

ทิศตะวันออก ติดต่อถนนสายลอง-วังชิ้น (ทางสายเก่า 1023)

ทิศเหนือ ติดกับลำห้วยสาธารณประโยชน์ และทุ่งนา

ทิศใต้ ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ และหมู่บ้าน

ทิศตะวันตก ติดทุ่งนา


ปชนียวัตถุ[แก้]

พระประธานวัดไผ่ล้อม

พระพุทธรูปประธานในอุโบสถปางมารวิชัยศิลปะล้านนา

ศาสนสถาน[แก้]

อุโบสถ (วิหาร) 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง กุฏิปูนครึ่งไม้ 1 หลัง กุฏิปูนครึ่งทรงไทย 1 หลัง ศาลารายโรงกลอง 1 หลัง

ถาวรวัตถุ[แก้]

ตลาดสดของวัด 1 หลัง อาคารสถานีวิทยุกระจายเสียง วปถ. 1 หลัง ห้องน้ำ 21 ห้อง

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

วัดไผ่ล้อม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมือวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2475

ที่ตั้งวัด 3 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา และที่ธรณีสงฆ์ (ตลาดสด) 1 ไร่ 28 ตารางวา