วัดหงษ์ทอง (จังหวัดนนทบุรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหงษ์ทอง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหงษ์ทอง, วัดหงษ์
ที่ตั้งเลขที่ 37 หมู่ที่ 3 ซอยสุขาประชาสรรค์ 2 ซอย 37 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูกิตติเขมาภิรม (ประจวบ ตินตะโมระ)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดหงษ์ทอง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในหมู่ที่ 3 บ้านหงษ์ทอง ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันพระครูกิตติเขมาภิรม (ประจวบ ตินตะโมระ) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส[1]

วัดหงษ์ทองเป็นวัดโบราณ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และปล่อยทิ้งร้างไปเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อชาวมอญเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้อีกครั้งใน พ.ศ. 2377 ก็ปรับปรุงฟื้นฟูวัดขึ้นมาอีกครั้งและสร้างเจดีย์มอญองค์ใหญ่ไว้หลังวัด ชื่อของวัดเกี่ยวข้องกับตำนานมอญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและหงส์ซึ่งมีมานานกว่า 2,500 ปี ชาวมอญจึงนิยมนำคำที่เกี่ยวข้องกับหงส์มาใช้ในชื่อบ้านเมืองและสถานที่สำคัญเพื่อความเป็นสิริมงคล[2] วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2518

อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และมีพระพุทธบาทจำลอง ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2526 ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยชั้นเดียว หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น กุฏิสงฆ์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ วิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และศาลาบำเพ็ญกุศล สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดหงษ์ทอง". พระสังฆาธิการ.
  2. "วัดหงษ์ทอง". คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด.[ลิงก์เสีย]
  3. "วัดหงส์ทอง". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.