วัดวชิราลงกรณวรารามวรวิหาร
วัดวชิราลงกรณวรารามวรวิหาร | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดวชิราลงกรณ |
ที่ตั้ง | ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร |
นิกาย | เถรวาท ธรรมยุติกนิกาย |
เจ้าอาวาส | พระราชวชิราลังการ วิ. (คำปอน สุทธิญาโณ) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดวชิราลงกรณวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดธรรมยุติกนิกาย และยังเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 177
ประวัติ
[แก้]นางทิพย์ นิยมเหตุ เจตนาสร้างเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร) และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ชื่อว่า วัดวชิราลงกรณ
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ) ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ได้มีการแต่งตั้งให้ พระราชสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 ได้จัดพิธีผูกพัทธสีมา ตามหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร) เป็นผู้เสด็จแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสทรงประกอบพระราชพิธีตัดลูกนิมิตผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ
วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2508 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงถวายผ้าพระกฐินเป็นส่วนพระองค์[1]
วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ยกเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร[2]
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับที่ | เจ้าอาวาส[1] | ปี |
---|---|---|
1 | พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) | พ.ศ. 2506-2517 |
2 | พระมงคลวัฒนคุณ (เพิ่ม กิตุติวฑฺฒโน) | พ.ศ. 2517-2529 |
3 | พระครูเขมคุณโสภณ (จันทร์ เขมสิริ) | พ.ศ. 2529-2534 |
4 | พระราชวรญาณ (วิจิตร จิตฺตทนฺโต) รักษาการ | พ.ศ. 2534-2536 |
5 | พระครูสุทธิศีลสังวร (ประสิทธิ์ ฐานิสฺสโร) | พ.ศ. 2536-2538 |
6 | พระครูโสภณวชิรคุณ (สวาสดิ์ กมโล) | พ.ศ. 2539 |
7 | พระราชวชิราลังการ วิ. (คำปอน สุทธิญาโณ) | เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน |
อาคารเสนาสนะ
[แก้]อาคารสิ่งก่อสร้างภายในวัด ประกอบด้วย พระอุโบสถ มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท ศาลาการเปรียญ ศาลาแก้ว พระตำหนัก ศาลาปฏิบัติธรรม กุฏิสงฆ์ หอระฆัง ศาลาบำเพ็ญกุศล ฌาปนสถาน และห้องสมุด[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "วัดวชิราลงกรณ์วรารามวรวิหาร". สารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
- ↑ "ยกวัดวชิราลงกรณ เป็นพระอารามหลวง". Thailand Tourism Directory, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.