วัดมหาธาตุ (จังหวัดนครพนม)
วัดมหาธาตุ | |
---|---|
พระธาตุนคร (พระธาตุประจำวันเสาร์) | |
ชื่อสามัญ | วัดมหาธาตุ, วัดมิ่งเมือง, วัดธาตุ |
ที่ตั้ง | เลขที่ 772 ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระประธาน | พระพุทธสำเร็จ (หลวงพ่อองค์แสน) |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระบางสมัยอาณาจักรศรีโครตบูรณ์ |
เจ้าอาวาส | พระครูกิตติสุตานุยุต
(สมเกียรติ ฐิตปญฺโญ) รองเจ้าคณะจังหวัดนครพนม |
ความพิเศษ | พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเจ้าเมือง |
เวลาทำการ | เวลา 05.00-21.00 ทุกวัน |
จุดสนใจ | โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา อาคารหอสมุดโชติ |
กิจกรรม | ตักบาตรริมโขง
พิธีปฏิบัติบูชาองค์พระธาตุทุกวันเสาร์ งานนมัสการพระธาตุนคร |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดมหาธาตุ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวา
วัดมหาธาตุตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 1150 สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองนครพนม[1] ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 เดิมชื่อว่า วัดมิ่งเมือง ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดธาตุ เนื่องจากมีพระธาตุเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุ ภายในวัดยังมีเจดีย์น้อยใหญ่หลายสิบองค์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ชาวบ้านได้สร้างธาตุเจดีย์ ไว้เป็นที่บรรจุอัฐิของบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ภายหลังที่มีการสร้างพระธาตุขึ้น พระครูพนมนครคณาจารย์ ได้ทำการบันทึกเสนอขอตั้งชื่อวัดเป็น "วัดมหาธาตุ"
เมื่อ พ.ศ. 2462 ได้มีการรื้อถอนองค์เล็กองค์น้อยออกแล้วสร้าง พระธาตุนคร สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2465 ผู้สร้างคือ พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) แม่ทัพใหญ๋ที่มาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เป็นพระธาตุทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ 4.85 เมตร สูงประมาณ 24 เมตร มีลักษณะตามแบบพระธาตุพนมองค์เดิม มีการประกอบพิธีฉลองสมโภชและบรรจุอรหันตสารีริกธาตุ วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 จะมีงานนมัสการองค์พระธาตุนคร ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ (บุญเดือน ๕ บูชาพระธาตุนคร) ทุกปี[2][2] ปัจจุบันมี พระครูกิตติสุตานุยุต รองเจ้าคณะจังหวัดนครพนม เป็นเจ้าอาวาส และ พระปลัดกิตติชัย สุขวฑฺฒโน เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัดนครพนม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดมหาธาตุ". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
- ↑ 2.0 2.1 "วัดมหาธาตุ จังหวัดนครพนม". ศิลปะและวัฒนธรรมผสานมุมมองทางวิศวกรรม.