วัดพวกเปีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพวกเปีย
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพวกเปีย, วัดพวกเปี๊ยะ
ที่ตั้งตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพวกเปีย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา[1]

วัดพวกเปีย เดิมชื่อว่า วัดพวกเปี๊ยะ คำว่า "เปี๊ยะ" คือเครื่องดนตรีไทยโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้บรรเลงอยู่ในสมัยล้านนาโบราณ โดยชาวบ้านละแวกนั้นเคยเป็นหมู่บ้านชุมชนช่างทำเปี๊ยะ หรือพิณเปี๊ยะ ซึ่งชาวบ้านนี้ได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นราว พ.ศ. 2040 จึงได้ชื่อว่า "วัดพวกเปี๊ยะ" ต่อมาเพี้ยนกลายเป็น "วัดพวกเปีย" วัดคงร้างไปเมื่อครั้งเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมื่อราว พ.ศ. 2111 วัดพวกเปียคงได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้านายผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2446 คือ พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2516[2]

อาคารเสนาสนะประกอบด้วยวิหารทรงล้านนาเป็นแบบสองชั้น สองตับ หน้าบันทำเป็นรูปพรรณพฤกษา หน้าบันไดเป็นรูปพญานาค ด้านในวิหารเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์และเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • เจ้าอธิการปัญญา นิกายครง ตั้งแต่ พ.ศ. 2430–2450
  • พระอธิการขัด ตั้งแต่ พ.ศ.? – 2478
  • พระอธิการหมื่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2478–2482
  • พระอธิการบุญพัตร ปภสฺสโร ตั้งแต่ พ.ศ. 2482–2496
  • พระครูโกวิทสารธรรม (ไสว ธฺมมาสาโร) ตั้งแต่ พ.ศ. 2496–2538
  • พระครูสุปุญาภินันท์ (บุญชู ปุญญนฺนโท) ตั้งแต่ พ.ศ. 2539–2546
  • พระครูปลัดอรุณ อรุณธฺมโม ตั้งแต่ พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. อรรจนีลดา วุฒิจันทร์, อ่อนเดือน เทียนทอง. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 9 (1 ed.). กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. p. 376.
  2. "วัดพวกเปีย". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.