วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร
พระอุโบสถวัดพระแท่นดงรัง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระแท่นดงรัง
ที่ตั้งอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระราชวิสุทธาภรณ์ (ทองดำ อิฏฺฐาสโภ ป.ธ.๖)
ความพิเศษประดิษฐานพระแท่นดงรัง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระแท่นดงรัง เป็นพระอารามหลววงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ประดิษฐาน “พระแท่นดงรัง” ลักษณะเป็นหินขนาดใหญ่ ราบคล้ายเตียง ในสมัยก่อนผู้คนเชื่อกันว่าเป็นพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน[1] ต่อมาเมื่อความรู้และข้อเท็จจริงที่ระบุชัดเจนว่าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน ในประเทศอินเดีย ลักษณะความเชื่อจึงเป็นการจำลองสถานที่ปรินิพพานไว้แทน นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสถานที่จำลองฉากการปรินิพพาน เช่น เขาถวายพระเพลิง จำลองสถานที่ถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธองค์ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 55 เมตร[2] ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าวัดพระแท่นดงรังก่อสร้างขึ้นเมื่อไร และก่อสร้างขึ้นโดยใคร แต่สันนิษฐานส่าก่อสร้างขึ้นในราวสมัยอยุธยา เนื่องจากมีหลักฐานพระพุทธบาทจำลองไม้สลักประดับมุก ศิลปะช่างหลวงอยุธยาสมัยพระเจ้าบรมโกศ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการกล่าวถึงพระแท่นดงรังปรากฏในนิราศพระแท่นดงรัง ปี 2376 ของสามเณรกลั่นที่เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังพร้อมสุนทรภู่ วัดพระแท่นดงรังได้รับการอุปถัมภ์ในพระบรมวงศานุวงศ์โดยดีมาตลอด นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะวัดขึ้น พระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาลนับจากนั้นล้วนเคยเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระแท่นดงรัง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณยวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีสถานปนาสมเด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515[3]

สุจิตต์ วงศ์เทศ นักประวัติศาสตร์ เคยให้ความเห็นว่าพระแท่นดงรังมาจากคติการบูชาหินขนาดใหญ่ของคนในสมัยโบราณ เมื่อมีแนวคิดในพระพุทธศาสนาแผ่ขยายเข้ามาจึงทำให้ความเชื่อถูกกล้นและเปลี่ยนไปเป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าแทน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thailand Tourism Directory (2562). "พระแท่นดงรังวงวิหาร". กรุงเทพ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-12. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 วงษ์เทศ, สุจิตต์ (28 พฤษภาคม 2562). "พระแท่นดงรัง "เนินเขา 2 พันไร่" แลนด์มาร์กแม่กลอง 2,000 ปีมาแล้ว". กรุงเทพ: ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. คณะกรรมการกฐินพระราชทาน ปี 2550 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (2550). "ประวัติวัดพระแท่นดงรังวงวิหาร". ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-27. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)