วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดพระแท่นดงรัง)
วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร
พระอุโบสถวัดพระแท่นดงรัง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระแท่นดงรัง
ที่ตั้งอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระราชวิสุทธาภรณ์ (ทองดำ อิฏฺฐาสโภ ป.ธ.๖)
ความพิเศษประดิษฐานพระแท่นดงรัง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระแท่นดงรัง เป็นพระอารามหลววงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ประดิษฐาน “พระแท่นดงรัง” ลักษณะเป็นหินขนาดใหญ่ ราบคล้ายเตียง ในสมัยก่อนผู้คนเชื่อกันว่าเป็นพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน[1] ต่อมาเมื่อความรู้และข้อเท็จจริงที่ระบุชัดเจนว่าทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน ในประเทศอินเดีย ลักษณะความเชื่อจึงเป็นการจำลองสถานที่ปรินิพพานไว้แทน นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสถานที่จำลองฉากการปรินิพพาน เช่น เขาถวายพระเพลิง จำลองสถานที่ถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธองค์ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 55 เมตร[2] ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าวัดพระแท่นดงรังก่อสร้างขึ้นเมื่อไร และก่อสร้างขึ้นโดยใคร แต่สันนิษฐานส่าก่อสร้างขึ้นในราวสมัยอยุธยา เนื่องจากมีหลักฐานพระพุทธบาทจำลองไม้สลักประดับมุก ศิลปะช่างหลวงอยุธยาสมัยพระเจ้าบรมโกศ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการกล่าวถึงพระแท่นดงรังปรากฏในนิราศพระแท่นดงรัง ปี 2376 ของสามเณรกลั่นที่เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังพร้อมสุนทรภู่ วัดพระแท่นดงรังได้รับการอุปถัมภ์ในพระบรมวงศานุวงศ์โดยดีมาตลอด นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะวัดขึ้น พระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาลนับจากนั้นล้วนเคยเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระแท่นดงรัง และได้รับพระมหากรุณาธิคุณยวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีสถานปนาสมเด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515[3]

สุจิตต์ วงศ์เทศ นักประวัติศาสตร์ เคยให้ความเห็นว่าพระแท่นดงรังมาจากคติการบูชาหินขนาดใหญ่ของคนในสมัยโบราณ เมื่อมีแนวคิดในพระพุทธศาสนาแผ่ขยายเข้ามาจึงทำให้ความเชื่อถูกกล้นและเปลี่ยนไปเป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าแทน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thailand Tourism Directory (2562). "พระแท่นดงรังวงวิหาร". กรุงเทพ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-12. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 วงษ์เทศ, สุจิตต์ (28 พฤษภาคม 2562). "พระแท่นดงรัง "เนินเขา 2 พันไร่" แลนด์มาร์กแม่กลอง 2,000 ปีมาแล้ว". กรุงเทพ: ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. คณะกรรมการกฐินพระราชทาน ปี 2550 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (2550). "ประวัติวัดพระแท่นดงรังวงวิหาร". ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-27. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)