วัดปากอ่าวบางตะบูน
วัดปากอ่าวบางตะบูน | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ชื่อสามัญ | วัดปากอ่าว |
ที่ตั้ง | เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 บ้านปากอ่าว บางตะบูน บ้านแหลม เพชรบุรี 76110 |
ประเภท | วัดราษฏร์ |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระสุโขทัย |
ความพิเศษ | พระครูญาณสาคร (หลวงพ่อแฉ่ง สำเภาเงิน สีลปญโญ) |
เวลาทำการ | 06:00-18:00 ทุกวัน |
จุดสนใจ | พระพุทธบาทจำลอง |
กิจกรรม | งานประจำปี 26-28 ธันวาคม |
การถ่ายภาพ | อนุญาตให้ถ่ายด้วยแฟลช |
หมายเหตุ | ก่อสร้างวัดขึ้นราวปลายปี พ.ศ. 2449 |
![]() |
วัดปากอ่าวบางตะบูน หรือ วัดปากอ่าว เป็นวัดราษฏร์แห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา อยู่บริเวณปากอ่าวแม่น้ำบางตะบูน ปลายสุดของแม่น้ำเพชรบุรี ทำให้อุดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเลและพันธุ์ไม้ชายเลนมากมาย จึงทำให้วัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเชิงอนุรักษ์ป่าชายเลน

ตำแหน่งที่ตั้งวัด[แก้]
เลขที่ 1 บ้านปากอ่าว หมู่ที่ 3 ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
อาณาเขต[แก้]
- ทิศเหนือ จดแม่น้ำปากอ่าวบางตะบูน
- ทิศใต้ ติดต่อโรงเรียนวัดปากอ่าว (ญาณสาครวิทยาการ) และบริเวณวังกุ้ง (ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อป่าโกงกางชายเลน
- ทิศตะวันตก จดบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลบางตะบูนออก
ภูมิประเทศ[แก้]
ลักษณะที่ตั้งวัดปากอ่าวบางตะบูน เป็นพื้นที่ราบลุ่มชายเลน ริมฝั่งแม่น้ำบางตะบูนบริเวณปากอ่าวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำบางตะบูน
การคมนาคม[แก้]
- ทางรถยนต์ ถนน ร.พ.ช. สายที่ 9 บางตะบูน - เพชรบุรี
- ทางน้ำ เรือโดยสารติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรี
ธรณีสงฆ์[แก้]
- พื้นที่ของวัดปากอ่าวฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 13 ไร่ 2 งาน 6 ตารางวา หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ นส.3ก. เลขที่ดิน 105
- ธรณีสงฆ์ในครอบครอง มี 4 แปลง มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 65 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา ดังนี้
- แปลงที่ 1 ตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ 31 ไร่ 1 งาน มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ คือ โฉนดที่ดิน เลขที่ 37
- แปลงที่ 2 ตำบลบางกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ 8 ไร่ 88 ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ คือ โฉนดที่ดิน เลขที่ 4646
- แปลงที่ 3 ที่ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ คือ สค.1 เลขที่ 218
- แปลงที่ 4 ที่ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่จำนวน 16 ไร่ 32 ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ คือ สค.1 เลขที่ 219
ประวัติ[แก้]
วัดปากอ่าวบางตะบูน เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดนอก” เนื่องจากบริเวณที่สร้างวัดดังกล่าวอยู่ปากอ่าวทะเลและอยู่ห่างจากวัดปากลัดซึ่งตั้งอยู่ไกลปากอ่าวมากกว่าและชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงเรียกว่า “วัดใน” ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2452 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งวิสุงคามสีมาขึ้นและให้ใช้ชื่อว่า “วัดปากอ่าวบางตะบูน” เป็นต้นมา
ประวัติการก่อสร้าง[แก้]
“พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญฺโญ)” ท่านได้เชิญชวนพุทธศาสนิกชน วงศาคณาญาติทั้งหลาย ผู้มีจิตศรัทธาในบวรบพุทธศาสนา ชาวบ้านบางตะบูนทั้งผู้มีทุนทรัพย์ และผู้มีกำลังกายเข้าร่วมกัน ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่ราวปลายปี พ.ศ. 2449 ที่ริมฝั่งชายทะเลด้านตะวันออกของปากอ่าวบางตะบูน ซึ่งเดิมพื้นที่เป็นป่าชายเลนมีน้ำท่วมถึงชายป่า ท่านใช้เวลาในการปรับปรุ่งพื้นที่ ถมดิน ถมทราย และก่อสร้างศาสนสถานต่างๆ อาทิ พระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ และโรงเรียนวัดปากอ่าว เป็นต้น ท่านใช้เวลาในการก่อสร้างเป็นเวลาเกือบ 5 ปี จึงแล้วเสร็จจนกลายเป็นวัดใหญ่ถาวรมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ขนานนามว่า “วัดปากอ่าวบางตะบูน” ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในปี พ.ศ. 2450
หลักฐานการแต่งตั้ง[แก้]
เมื่อประมาณ พ.ศ. 2449 ได้เริ่มก่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมา หลังจากนั้นไม่นานก็ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2452 เนื้อที่กว้าง 32 เมตร ยาว 32 เมตร และได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเป็นพระอุโบสถ เมื่อ พ.ศ. 2452
ประวัติเจ้าอาวาส[แก้]
“พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญฺโญ)” อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 1[แก้]
เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2422 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปี เถาะ)อุปสมบทเมื่อวันอังคาร ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2442 เวลา 14.15 น. (ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 6 ปี กุน) มรณภาพเมื่อวันศุกร์ ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2506 เวลา 18.07 น. (ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 2 ปี เถาะ)
- การสร้างและบูรณะพัฒนาวัดปากอ่าวฯ ของ “พระครูญาณสาคร (แฉ่ง สีลปญฺโญ)” ผู้สร้างวัดปากอ่าวบางตะบูน ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ใช้งบในการก่อสร้างทั้งสิ้นเป็นเงิน 530,047 บาท (ห้าแสนสามหมื่นสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) ส่วนมากทำการก่อสร้างเองร่วมกับชาวบ้านโดยไม่เสียค่าแรงงาน นับว่าเป็นประวัติการณ์แห่งอัจฉริยสงฆ์ผู้สามารถในการก่อสร้างปฏิสังขารณ์และพัฒนาในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทางการคณะสงฆ์ ได้ยกย่องแต่งตั้ง เป็นสาธารณูปการ ประจำอำเภอบ้านแหลม ตามประวัติดังกล่าวได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดมีราชการ ดังต่อไปนี้



- พ.ศ. 2450 สร้างกุฏิ 5 หลัง หอฉัน 1 หลัง ศาลา 1 หลัง เป็นเงิน 10,660 บาท
- พ.ศ. 2450 จัดตั้งโรงเรียนวัดปากอ่าวโดยจ้างครูมาสอน
- พ.ศ. 2451 สร้างพระอุโบสถและทำการผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2452 เป็นเงิน 4,437 บาท
- พ.ศ. 2452 ทำกำแพงรอบพระอุโบสถ เป็นเงิน 1,160 บาท
- พ.ศ. 2453 สร้างศาลาการเปรียญ เป็นเงิน 5,392 บาท
- พ.ศ. 2453 สร้างเจดีย์ 1 องค์ เป็นเงินทั้งสิ้น 239 บาท
- พ.ศ. 2454 ทำเขื่อนกระดาน เป็นเงิน 1,000 บาท และสร้างธรรมาสน์เทศน์ 1 หลัง เป็นเงิน 1,200 บาท กับสร้างศาลาท่าน้ำ 3 หลัง เป็นเงิน 3,500 บาท
- พ.ศ. 2455 สร้างโรงทึม เป็นเงิน 800 บาท และสร้างหอระฆัง เป็นเงิน 1,150 บาท
- พ.ศ. 2456 สร้างห้องสุขา 3 หลัง เป็นเงิน 560 บาท
- พ.ศ. 2459 สร้างเจดีย์ 3 องค์ เป็นเงินทั้งสิ้น 438 บาท
- พ.ศ. 2460 สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 2 หลัง เป็นเงินทั้งสิ้น 2,500 บาท สร้างถนนไปห้องสุขา เป็นเงิน 400 บาท สร้างถนนไปท่าน้ำ เป็นเงิน 500 บาท สร้างเสาหงส์ เป็นเงิน 160 บาท สร้างพระปรางค์ 1 องค์ เป็นเงิน 480 บาท
- พ.ศ. 2461 สร้างศาลาโรงทาน เป็นเงิน 400 บาท สร้างพระปรางค์ 1 องค์ เป็นเงิน 484 บาท
- พ.ศ. 2462 สร้างหอสวดมนต์ 1 หลัง เป็นเงิน 3,500 บาท
- พ.ศ. 2466 สร้างถังน้ำฝนจุ 4,000 ปี๊บ เป็นเงิน 1,250 บาท
- พ.ศ. 2467 สร้างพระประธาน 1 องค์ เป็นเงิน 1,503 บาท
- พ.ศ. 2468 สร้างถนนไปท่าน้ำ เป็นเงิน 395 บาท สร้างอาคารออกธรรม 1 หลัง เป็นเงิน 160 บาท
- พ.ศ. 2469 สร้างศาลา 1 หลัง เป็นเงิน 896 บาท สร้างกุฏิ 2 ชั้น เป็นเงิน 600 บาท
- พ.ศ. 2472 สร้างเชิงตะกอน เป็นเงิน 850 บาท สร้างเจดีย์ 3 องค์ เป็นเงิน 360 บาท
- พ.ศ. 2473 สร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลคอนกรีต เป็นเงิน 1,280 บาท ถมดินกำแพง เป็นเงิน 443 บาท สร้างสะพานเข้าหมู่บ้าน เป็นเงิน 480 บาท
- พ.ศ. 2474 สร้างหอไตร เป็นเงิน 381 บาท
- พ.ศ. 2474 สร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลอีก 2 ด้าน เป็นเงิน 1,180 บาท ถมดินทำถนนเป็นเงิน 2,700 บาท
- พ.ศ. 2477 เปลี่ยนหลังคากุฏิเป็นสังกะสี เป็นเงิน 379 บาท ซ่อมกุฏิ 1 หลัง เป็นเงิน 80 บาท
- พ.ศ. 2478 ซ่อมกุฏิ 1 หลัง เป็นเงิน 508 บาท ซ่อมกำแพงเชิงตะกอน เป็นเงิน 130 บาท เปลี่ยนหลังคากุฏิเป็นกระเบื้อง 3 หลัง เป็นเงิน 445 บาท
- พ.ศ. 2479 ซ่อมกุฏิ 1 หลัง เป็นเงิน 221 บาท
- พ.ศ. 2484 สร้างโรงเรียนปริยัติธรรม 2 ชั้น เป็นเงิน 5,620 บาท สร้างพระไตรปิฎก เป็นเงิน 6,267 บาท สร้างศาลา 1 หลัง เป็นเงิน 2,500 บาท
- พ.ศ. 2485 สร้างกำแพงกั้นน้ำทะเล เป็นเงิน 850 บาท สร้างอาคารเรียนระดับประถมแบบ ป.2 ออกเงินสมทบให้ 18,000 บาท ทางราชการออกให้ 2,000 บาท รวมจ่ายทั้งสิ้น 1,950 บาท
- พ.ศ. 2491 สร้างโกดังเก็บศพและเตาเผา เป็นเงิน 43,064 บาท
- พ.ศ. 2494 ดัดแปลงศาลาโรงทึม เป็นเงิน 11,980 บาท
- พ.ศ. 2495 หล่อพระพุทธรูป 1 องค์ เป็นเงิน 7,203 บาท
- พ.ศ. 2496 ดัดแปลงท่าน้ำ เป็นเงิน 7,169 บาท
- พ.ศ. 2497 สร้างถังเก็บน้ำฝนจุ 6,000 ปี๊บ เป็นเงิน 24,367 บาท
- พ.ศ. 2501 ปรับปรุงโรงอุโบสถพร้อมทั้งพัทธสีมา เป็นเงิน 138,452 บาท สร้างบ้านพักครู เป็นเงิน 6,000 บาท
- พ.ศ. 2502-2503 สร้างอาคารเรียนประถมแบบ 004 ออกเงินส่วนตัว 30,000 บาท ทางราชการออกสมทบ 70,000 บาท เป็นเงินทั้งหมด 194,008 บาท
- พ.ศ. 2504 ซ่อมสะพานเข้าหมู่บ้าน เป็นเงิน 3,000 บาท
- พ.ศ. 2505 สร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลรอบโรงเรียน เป็นเงิน 7,740 บาท
พระครูโสภิตวัชรคุณ (มินทร์ สุดสาคร จิตฺตกาโร) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2[แก้]
การสร้างและบูรณะพัฒนาวัดปากอ่าวฯ ของ "พระครูโสภิตวัชรคุณ (มินทร์ สุดสาคร จิตฺตกาโร)" ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าวบางตะบูน ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ใช้งบในการก่อสร้างทั้งสิ้นเป็นเงิน 207,600 บาท (สองแสนเจ็ดพันหกร้อยบาทถ้วน)ได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดมีราชการ ดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2507-2509 สร้างศาลาบำเพ็บกุศล เป็นเงิน 22,500 บาท
- พ.ศ. 2510 ทำถนนหน้าโรงอุโบสถ เป็นเงิน 5,000 บาท
- พ.ศ. 2511 ทำสะพานศาลาท่าน้ำ 2 ที่ เป็นเงิน 16,000 บาท ทำราวลูกกรงกำแพงวัดด้านแม่น้ำบางตะบูน เป็นเงิน 6,600 บาท สร้างศาลาหน้าเตาเผาศพ เป็นเงิน 15,000 บาท ทำท่าคอนกรีตสำหรับขึ้นศพ เป็นเงิน 5,000 บาท ถมหินหน้ากำแพงด้านแม่น้ำบางตะบูน เป็นเงิน 11,000 บาท
- พ.ศ. 2512 ก่อกระถางปลูกต้นหูกวาง 10 กระถาง เป็นเงิน 3,000 บาท ทาสีโรงอุโบสถ เป็นเงิน 12,000 บาท ซ่อมโรงงิ้ว เป็นเงิน 6,000 บาท
- พ.ศ. 2514 สร้างเคาเผาศพใหม่ เป็นเงิน 60,000 บาท เปลี่ยนพื้นกุฏิและทำประตูเหล็กบนกุฏิสงฆ์ พร้อมทาสี เป็นเงิน 20,000 บาท เปลี่ยนพื้นหอฉันและพื้นระเบียงกุฏิสงฆ์ พร้อมทาสี เป็นเงิน 20,000 บาท ซ่อมหอระฆัง เป็นเงิน 12,000 บาท ทำร่องถุนโรงอุโบสถ และห้องน้ำ เป็นเงิน 2,500 บาท
- พ.ศ. 2522-2525 เริ่มก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลหลังใหม่ด้านริมแม่น้ำบางตะบูน
พระครูสิริวัชรสาคร (บุญส่ง ปิ่นเงิน อตฺตทีโป) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน[แก้]
การสร้างและบูรณะพัฒนาวัดปากอ่าวฯ ของ "พระครูสิริวัชรสาคร (บุญส่ง ปิ่นเงิน อตฺตทีโป)" ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าวบางตะบูน ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ใช้งบในการก่อสร้างทั้งสิ้นเป็นเงิน ทั้งสิ้น 15,405,000 บาท (สิบห้าล้านสี่แสนห้าพันบาทถ้วน)ได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดมีราชการ ดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2526 สร้างศาลาบำเพ็ญกุศลจากอดีตเจ้าอาวาสสร้างค้างไว้ เป็นเงิน 175,000 บาท
- พ.ศ. 2526 สร้างห้องอาบน้ำ และห้องสุขา เป็นเงิน 16,300 บาท
- พ.ศ. 2526 สร้างห้องอายน้ำ และห้องสุขาเพิ่มอีก เป็นเงิน 30,000 บาท สร้างซุ้มประตูด้านทิศเหนือ เป็นเงิน 27,000 บาท สร้างสะพานและปฏิสังขรณ์ศาลาท่าน้ำสามมุข เป็นเงิน 114,120 บาท ปฏิสังขรณ์กุฏิลักษณะทรงไทยจำนวน 7 หลัง แต่ละหลังยาว 9 เมตร กว้าง 6 เมตร เป็นเงิน 177,718 บาท
- พ.ศ. 2527 ปฏิสังขรณ์กุฏิลักษณะทรงไทย จำนวน 4 หลัง แต่ละหลังยาว 9 เมตร กว้าง 6 เมตร เป็นเงิน 97,107 บาท สร้างสะพานและโป๊ะลอยน้ำ เป็นเงิน 138,000 บาท ปิดทองพระพุทธรูปหน้าตัก กว้าง 27 นิ้ว ฟุตสูง 40 นิ้วฟุต ซ่อมธรรมาสน์ประจำศาลาการเปรียญและปิดทองโต๊ะหมู่ 32 ตัว เป็นเงิน 36,940 บาท ถมดินรอบบริเวณวัดประมาณ 3 ไร่สูง โดยเฉลี่ย 75 เซนติเมตร เป็นเงิน 142,420 บาท ย้ายโรงครัว เป็นเงิน 8,000 บาท สร้างห้องน้ำและห้องสุขา 6 ห้อง เป็นเงิน 80,215 บาท ซื้อเสื่อน้ำมัน ซื้อพรม และแก้วน้ำ เป็นเงิน 30,580 บาท ซื้อหิน และติดตั้งมิเตอร์ 50 แอมป์ กับ 10 แอมป์ เป็นเงิน 14,750 บาท
- พ.ศ. 2528 พัฒนากุฏิรวม 10 หลัง โดยดีดสูงจากเดิมขึ้นอีก 2.5 เมตร เป็นเงิน 360,000 บาท พัฒนาพื้นโดยถมดินและหิน เป็นเงิน 89,800 บาท สร้างเขื่อนกั้นน้ำเค็มด้านทิศเหนือ ยาว 80 เมตร เป็นเงิน 500,000 บาท ปรับปรุงกุฏิ 2 ชั้น โดยชั้นล่างก่ออิฐ 10 หลัง เป็นเงิน 65,000 บาท ดีดศาลาการเปรียญทำชั้น เป็นเงิน 600,000 บาท
- พ.ศ. 2540 สร้างศาลาบำเพ็ญกุศล 3 มุข ชั้นเดียว กว้าง 12.50 เมตร ยาว 38.00 เมตร เป็นเงิน 3,000,000 บาท ปฏิสังขรณ์อุโบสถ ลักษณะทรงไทยไม้สักชั้นเดียว กว้าง 8.60 เมตร ยาว 18.60 เมตร เป็นเงิน 3,000,000 บาท
- พ.ศ. 2541 ดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตบริเวณวัด กว้าง 5.00 เมตร ยาว 110.00 เมตร หนา 0.15 เมตร เป็นเงิน 240,000 บาท
- พ.ศ. 2548 ดำเนินการก่อสร้างวิหารพระครูญาณสาคร ลักษณะทรงไทย 4 มุข สองชั้น ทำด้วยคอนกรีตเถือปูน กว้าง 15.00 เมตร ยาว 15.00 เมตร เป็นเงิน 6,300,000 บาท
เทศกาล[แก้]

- งานประจำปี ปิดทองหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ 26-28 ธันวาคม ของทุกปี
ทางวัดปากอ่าวฯ จัดให้มีเทศการทำบุญ โดยการปิดทองหลวงพ่อสุโขทัย หลวงพ่อทอง พระพุทธบาทจำลอง และหลวงพ่อพระครูญาณสาคร เพื่อเป็นการเชิญชวนพุทธศาสนิกชนเข้าวัด ฟังธรรม ทำบุญ และกิจกรรมสำคัญต่างๆ อันเกี่ยวกับศาสนา และการละเล่นพื้นบ้าน เพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น และระลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ และพระครูญาณสาครอดีตเจ้าอาวาสวัดปากอ่าว
- สรงน้ําพระวันสงกรานต์ 13-17 เมษายน ของทุกปี
ทางวัดปากอ่าวฯ จัดให้มีเทศการทำบุญ โดยการปิดทองและสรงน้ําพระหลวงพ่อสุโขทัย หลวงพ่อทอง พระพุทธบาทจำลอง หลวงพ่อพระครูญาณสาครอดีตเจ้าอาวาส และพระภิกษุสงฆ์ในวัด อีกทั้งยังมีการจัดให้รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เพื่ออนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น และระลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ
ประมวลภาพ[แก้]
-
รูปภาพหลวงพ่อแฉ่งบนผนังหอสวดมนต์
-
งานประจำปีปิดทองพระครูญาณสาคร 26-28 ธันวาคม
-
กิจกรรมงานประจำปี
-
ปล่อยโคมลอยบูชาสิ่งศักดิ์งานประจำปี
-
ฟังธรรมงานประจำปี
-
การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านงานประจำปี
-
อาคารหอพระไตรปิฎก หอสวดมนต์ และหอฉัน
-
พระครูอาทรวัชรานุกิจ รองเจ้าอาวาสวัดปากอ่าว ร่วมกับชาวบ้านช่วยกันโกยทรายเพื่อปรับพื้นที่วัด
-
พระภิกษุวัดปากอ่าว ร่วมกับชาวบ้านช่วยกันโกยทรายเพื่อปรับพื้นที่วัด
-
พระภิกษุวัดปากอ่าวทำความสะอาดลานหน้าวัด
-
ชาวบ้านช่วยกันโกยทรายเพื่อปรับพื้นที่วัด
-
งานทอดผ้าป่าสามัคคี วันอาสาฬหบูชา พฤหัสบดี ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ณ วัดปากอ่าวบางตะบูน
-
พุทธศาสนิกชนร่วมงานทอดผ้าป่าสามัคคี วันอาสาฬหบูชา พฤหัสบดี ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ณ วัดปากอ่าวบางตะบูน
-
พิธีทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดปากอ่าวบางตะบูน
-
คณะครูช่วยกันนับเงินงานทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดปากอ่าวบางตะบูน
-
คณะผ้าป่าช่วยกันนับเงินงานทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดปากอ่าวบางตะบูน
-
หอยทอดกะทะยักษ์สำหรับคณะผ้าป่าสามัคคี ณ วัดปากอ่าวบางตะบูน
-
อาหารสำหรับคณะผ้าป่าสามัคคี ณ วัดปากอ่าวบางตะบูน
อ้างอิง[แก้]
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ. การอนุรักษ์มรดกไทยในส่วนหนึ่งของวัดวาอาราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์การศาสนา 2530.
- พระพุทธวรญาณ ธรรมญาณนิพนธ์ 100 ปี. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 2/2546.
- พระธรรมโกศาจารย์ การเผยแผ่เชิงรุก โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พ.ศ. 2548.
- หนังสือที่ระลึกงานทอดผ้าป่าสามัคคี บูรณปฏิสังขรณ์ หอพระไตรปิฎก หอสวดมนต์ หอฉัน และกุฏิสงฆ์ ปี 2555
- รายชื่อวัดในจังหวัดเพชรบุรี
- โรงเรียนวัดปากอ่าว เก็บถาวร 2014-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เหรียญพระครูญาณสาคร
- ประวัติหลวงพ่อแฉ่ง[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูล[แก้]
- ทวี พลรัตน์ ว่าด้วยคู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎระเบียบและคำสั่ง ของคณะสงฆ์ กองแผนงาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548 โรงพิมพ์การศาสนา
- พระธรรมปิฏก นิติศษสตร์แนวพุทธ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย พ.ศ. 2543
- พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ ป.ธ.9 ศน.บ. M A ศน.ด.)วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร