วัดบ้านโป่ง

พิกัด: 13°48′19″N 97°52′24″E / 13.805266°N 97.873468°E / 13.805266; 97.873468
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดบ้านโป่ง
อุโบสถจัตุรมุข (ซ้าย) และเจดีย์ 5 ยอด (ขวา)
แผนที่
ชื่อสามัญวัดบ้านโป่ง
ที่ตั้งเลขที่ 1 ถนนวิจิตรธรรมรส หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระครูสุธีปริยัติวิธาน (สุภาพ อาตาปโก ป.ธ.6)
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี/ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดบ้านโป่ง ตั้งอยู่เลขที่ 1 ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อยู่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง สังกัดมหานิกาย เป็นวัดราษฏร์ อยู่ในเขตปกครองของคณะสงฆ์ตำบลปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ภาค 15

วัดบ้านโป่ง มีอาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง ทิศใต้จดถนนสายบ้านไร่ห้วยลึก ทิศตะวันออกจดถนนเทศบาลและหมู่บ้านหลังวัด ทิศตะวันตกจดถนนริมทางรถไฟและหมู่บ้านหน้าวัดชายฝั่งแม่น้ำแม่กล มีเนื้อที่ธรณีสงฆ์ 3 แปลง มีเนื้อที่ทั้งสิ้นจำนวน 68 ไร่ 4 งาน วัดบ้านโป่งสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2345 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2444 เนื้อที่กว้าง 16 เมตร ยาว 26 เมตร ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาแล้ว

ประวัติ[แก้]

วัดบ้านโป่ง คำว่า “โป่ง” มาจากคำว่า “ดินโป่ง” ซึ่งเป็นดินที่มีรสเค็มและเป็นอาหารมีรสอันโอชะของสัตว์นานาชนิด เดิมเขตอำเภอบ้านโป่งนี้เป็นป่าใหญ่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นที่อยู่ของสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายและยังมีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน จึงนับได้ว่าดินแดนแถบนี้อุดมสมบูรณ์ เมื่อมีคนมาอาศัยดินแดนแถบนี้ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยเป็นหมู่บ้าน หมู่บ้านนี้จึงเรียกชื่อตามลักษณะดินในแถบนี้ว่า “บ้านโป่ง” และเมื่อมีวัดเกิดขึ้นก็เรียกชื่อวัดตามหมู่บ้านนั้นว่า “วัดบ้านโป่ง”

วัดบ้านโป่ง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ซึ่งมีอายุนานเกือบ 200 ปี ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งไม่ห่างจากสถานีรถไฟเท่าใดนัก เนื้อที่รอบๆ บริเวณวัดประมาณ 50 กว่าไร่ มีประวัติความเป็นมาตามที่ผู้เฒ่าได้เล่าสืบต่อๆ กันมาพอจะจับใจความได้ดังนี้ เดิมทีได้มีพระภิกษุลาวรูปหนึ่ง ได้มาสร้างกระท่อมมุงด้วยแฝกและได้จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นหากแต่ที่วัดบ้านโป่ง นั้นเต็มไปด้วยป่าไม้ใบหนา เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เต็มไปด้วยภัยอันตรายมาก จึงไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ ต่อมาจึงเสื่อมโทรมลงและไม่มีผู้ใดทราบว่าพระภิกษุลาวรูปนั้นไปไหนและที่ใด

ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 23 เมืองหงสาวดีเกิดความปั่นป่วนขึ้น เนื่องจากภัยทางสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างพม่ากับอังกฤษ เป็นเหตุให้ชาวรามัญพากันอพยพหลบภัยแล้วข้ามมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย โดยเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์บ้าง ด่านสิงขรบ้าง และได้เข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินกันเป็นหมู่ๆ ตามแถบฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ในครั้งกระนั้นก็ได้มีพระภิกษุชาวรามัญรูปหนึ่งที่ได้อพยพหลบภัยสงครามเข้ามาในเมืองไทยด้วย พระภิกษุรามัญรูปนั้นชื่อว่า “พระภิกษุด่าง” หลวงพ่อด่างได้เข้ามาในสภาพที่เป็นพระสงฆ์ จึงไม่อาจจะอยู่ในหมู่บ้านรามัญร่วมกับเขาได้ จึงได้มาหาที่พำนักใหม่และได้มาปลูกกระท่อมมุงแฝก ณ ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเดิมเป็นสำนักสงฆ์เก่าที่รกร้างไปแล้วนั้น หลวงพ่อด่างได้นำพระธาตุจากเมืองย่างกุ้งติดตัวมาด้วย และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความหลังให้ระลึกถึงมาตุภูมิเดิม หลวงพ่อด่างจึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งมี 5 ยอด คล้ายกับเจดีย์ชะเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง เจดีย์องค์นี้ประชาชนทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า“เจดีย์ 5 ยอด” อันเป็นปูชนีสถานอันศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ของวัดบ้านโป่งนี้ด้วย

ศาสนสถานในวัด[แก้]

  • อุโบสถจัตุรมุข 2 ชั้น ภายในประดิษฐาน พระพุทธเกษี ( พระประธานในอุโบสถ ) หลวงพ่อ 5 พี่น้อง ได้แก่ หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโตวัดบางพลี และหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา และรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส
  • อุโบสถหลังเก่า
  • เจดีย์ 5 ยอด (ศิลปะมอญ)
  • ศาลาการเปรียญ
  • ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

  1. พระอาจารย์เบอร์
  2. พระอาจารย์เดิ่ง
  3. พระอาจารย์เกลี้ยง
  4. พระอาจารย์สังข์
  5. พระอาจารย์ดี
  6. พระอาจารย์คลี่
  7. พระอาจารย์เดช
  8. พระครูสังฆกิจบริหาร (ฟัก อุตฺตโม)
  9. พระครูโยคาภิรมย์ (ชื่น ชินอักษร)
  10. พระครูขันตยาภิรัติ (เลื่อน จุโลทัย)
  11. พระมหาสนิธ เขมจารี ป.ธ.8 (ต่อมาคือ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี))
  12. พระครูวิจิตรธรรมรส (สุดใจ รุจิธมฺโม ป.ธ.3) มรณภาพเมื่อ 17 พฤษภาคม 2529
  13. พระพิศาลพัฒนโสภณ (ทอง วิโรจโน ป.ธ.5) มรณภาพ วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม 2558
  14. พระครูสุธีปริยัติวิธาน (สุภาพ อาตาปโก ป.ธ.6) ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°48′19″N 97°52′24″E / 13.805266°N 97.873468°E / 13.805266; 97.873468