สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี)
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 มีนาคม พ.ศ. 2453 (81 ปี 217 วัน ปี) |
มรณภาพ | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 9 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2474 |
พรรษา | 60 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เจ้าคณะภาค 1 และ ภาค 15 |
สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สนิธ เขมจารี) สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร อดีตเจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทรวรวิหาร อดีตเจ้าคณะภาค 1 และ ภาค 15 และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม
ประวัติ
[แก้]วัยเยาว์
[แก้]สมเด็จพระธีรญาณมุนี มีนามเดิมว่า สนิธ ทั่งจันทร์ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2453 แรม 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ เวลา 15:15 น. ชาติภูมิอยู่บ้านเบิกไพร ตำบลเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โยมบิดาชื่อผล ทั่งจันทร์ เป็นชาวเบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง โยมมารดาชื่อหลวน นามสกุลเดิมผลาภิรมย์ เป็นชาวตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา[1]
ท่านได้ศึกษาที่โรงเรียนบุรคามบำรุง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ. 2460 ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 โยมยายได้นำท่านมาฝากกับพระวิเชียรธรรมคุณาธาร (ยัง ปุญฺญวฑฺฒโน) ขณะยังเป็นมหาเปรียญ เพื่อให้ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร[2]
อุปสมบท
[แก้]ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2468 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยมีพระเทพมุนี (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์
ต่อมาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อวันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2474 แรม 6 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลสรกิจ (ฟัก ปุญฺญสิริ) วัดทำเลไทย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระธรรมปิฎก (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่าเขมจารี[2]
การศึกษาพระปริยัติธรรม
[แก้]- พ.ศ. 2469 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
- พ.ศ. 2470 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
- พ.ศ. 2471 สอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 4 ประโยค
- พ.ศ. 2472 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
- พ.ศ. 2473 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
- พ.ศ. 2474 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
- พ.ศ. 2476 สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค
- พ.ศ. 2480 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค
- พ.ศ. 2491 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
การสอบตั้งแต่ชั้นนักธรรมชั้นตรีถึงเปรียญธรรม 8 ประโยค ท่านสอบสำนักเรียนวัดพระเชตุพนฯ ส่วนเปรียญธรรม 9 ประโยคสอบได้ที่สำนักเรียนวัดเพชรสมุทร[3]
เป็นเจ้าอาวาส
[แก้]หลังจากสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านโป่งและเจ้าคณะอำเภอบ้านโป่งแทนรูปเดิมที่ขอลาสิกขาและลาออกจากตำแหน่ง หลังจากนั้นมาอีก 12 ปี พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) เจ้าคณะภาค 1 ได้ย้ายให้ท่านไปอยู่วัดเพชรสมุทรเพื่อจัดการคณะสงฆ์ให้เรียบร้อย และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงครามในปี พ.ศ. 2491
ปี พ.ศ. 2513 พระเทพปริยัติบัณฑิต (ดำ อาภารํสี) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา ถึงแก่มรณภาพ และสถานการณ์ในวัดไม่เรียบร้อย ท่านได้รับไว้วางใจจากมหาเถรสมาคมให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทน ท่านทำให้ทุกฝ่ายกลับมาสามัคคีปรองดองกัน และจัดการปกครอง การสาธารณูปการ การศึกษา และการเผยแผ่พระศาสนา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองสืบมา[1]
ลำดับสมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2491 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระกวีวงศ์[4]
- พ.ศ. 2495 เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2500 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที ตรีปิฎกคุณ สุนทรธรรมภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- พ.ศ. 2504 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก อดุลยญาณนายก กถิกสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- พ.ศ. 2515 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระธรรมวโรดม บรมญาณอดุล สุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาลังการวิภูสิต บริหารกิจสาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- พ.ศ. 2528 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระธีรญาณมุนี ตรีปิฎกคุณาลังการ วิจิตรปฏิภาณธรรมปรีชา ศีลขันธสมาจารวัตรสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[8]
มรณภาพ
[แก้]สมเด็จพระธีรญาณมุนี มรณภาพเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534 สิริอายุได้ 81 ปี 217 วัน พรรษา 60[3] ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี. สมเด็จพระธีรญาณมุนี. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2535. 108 หน้า. หน้า 101-8.
- ↑ 2.0 2.1 "ชีวประวัติ สมเด็จพระธีรญาณมุนี". วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 3.0 3.1 กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3, หน้า 158-162
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณสักดิ์, เล่ม ๖๕, ตอนที่ ๓๔, ๑๕ มิถุนายน ๒๔๙๑, หน้า ๑๘๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๔, ตอนที่ ๑๐๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐, หน้า ๒๙๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๘, ตอนที่ ๑๐๔ ฉบับพิเศษ, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๘๙, ตอนที่ ๒๐๒ ฉบับพิเศษ, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕, หน้า ๑๖-๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๓, ตอนที่ ๑๖๕ ฉบับพิเศษ, ๒๕ กันยายน ๒๕๒๙, หน้า ๓-๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2453
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2534
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- สมเด็จพระธีรญาณมุนี
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
- เจ้าคณะภาค 1
- เจ้าคณะภาค 15
- เปรียญธรรม 9 ประโยค
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ภิกษุจากจังหวัดราชบุรี
- บุคคลจากอำเภอบ้านโป่ง