วัดธาตุ (อำเภอชุมแพ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดธาตุ
กลุ่มพระอุโบสถ องค์พระธาตุ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดธาตุ
Wat that
ที่ตั้งบ้านนาดอกไม้ ตำบลชุมแพ อำเภอชุม 40130
ขอนแก่น
ไทย ประเทศไทย
ประเภทวัดราษฎร์
พระประธานหลวงพ่อพระเจ้าใหญ่มิ่งเมือง
พระพุทธรูปสำคัญสมัยกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง
จุดสนใจพระพุทธรูป ประจำองค์พระธาตุ
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดธาตุ เลขที่ 469 บ้านนาดอกไม้ หมู่ที่ 2 ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นชนิดวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2221 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2321 ชื่อเดิมคือ วัดโพธิ์ธาตุ เนื่องจากมีต้นโพธิ์ใหญ่และธาตุเจดีย์ภายในวัด ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 16 ตารางวา น.ส.๓ ก.เลขที่ 1352 อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 1 เส้น 1 วา จดถนนสาธารณะ ทิศใต้ประมาณ 2 เส้น 3 วา จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ 2 เส้น 12 วา จดถนนสาธารณะ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน น..ส 3 ก.เลขที่ 1352 อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง 5.50 เมตร ยาว 15 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีการบูรณปฏิสังขรณ์ พ.ศ 2427 ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 27 เมตร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว สร้างเมื่อ พ.ศ 2514 กุฎิสงฆ์ 4 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลังครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง ตึก 1 หลัง และศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง เป็นอาคารไม้ ปูชนียวัตถุมีเจดีย์ 2 องค์ องค์ที่ 1 กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 16 เมตร เจดีย์สร้าง สมัยกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง เวียงจันทน์ มีพระพุทธรูป ปางสมาธิ ประดิษฐ์สถานประจำ องค์พระธาตุ ส่วนองค์ที่ 2 สร้างเมื่อ พ.ศ 2517 กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 16 เมตร สร้างเพื่อบรรจุพระพุทธรูปที่ขุดมาจากกู่ กุดแห่น้อยเมื่อ พ.ศ 2519 การบริหารการศึกษาและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระจันทร์แดง ขนฺติโก การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2512 ศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ 2518

อาคารต่างๆในวัดธาตุ[แก้]

ภาพพระอุโบสถวัดธาตุ

สิม พระอุโบสถ[แก้]

ซุ้มประตูโขง
หลวงพ่อพระเจ้าใหญ่มิ่งเมือง (ปางสมาธิ)
หลวงพ่อองค์แสน (ปรางค์มารวิชัย)
หลวงปู่บุญจันทร์ เกศาโร

สิม (พระอุโบสถ) ตั้งอยู่ส่วนกลางของวัดธาตุ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ เนื่องจากสิมวัดธาตุเป็นสิมเก่าแก่ เดิมที่เป็นอาคารโครงไม้เนื้อแข็งเช่น มะคา ไม้เต็งรัง ก่ออิฐฉาบปูนมีอายุกว่าสองร้อย ถึงสามร้อยปี ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง มีบันทึกเหตุการณ์สำคัญไว้ 2 ครั้ง จากหลักศิลาจารึก ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2468 และอีกครั้ง ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ 2527 แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2531 ได้ใช้ช่างชาวเวียดนามในการบูรณ ซึ่งแต่ละครั้งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่าง หรือแตกต่างกันไปตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย

ซุ้มประตูโขง[แก้]

ซุ้มประตูโขงวัดธาตุ เป็นสถาปัตยกรรมศิลปะแบบช่างชาว ที่มีคุณค่าแห่งหนึ่ง ทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรม และประติมากรรมตกแต่งที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2513

พระพุทธรูปสำคัญภายในพระอุโบสถ[แก้]

1.พระประธานประจำองค์เจดีย์ พระปางสมาธิทรงเครื่อง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระพุทธรูป ปูนปั้นปางสมาธิทรงเครื่อง ศิลปะสกุลช่างชาว กรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง เวียงจันทน์ สร้างเมื่อ พ.ศ 2221 ขนาดหน้าตัก ซม. สูง ซม.

2.พระประธานประจำพระอุโบสถ ปรางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูป ปูนปั้นปรางมารวิชัย ศิลปะสกุลช่างชาวลาว สร้างเมื่อ พ.ศ 2474 ขนาดหน้าตัก 80 ซม. สูง 150 ซม.

3.พระพุทธรูปหินแกะสลัก พระปรางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูป หินทรายแกะสลัก ขนาดหน้าตัก 54 ซม. สูง 100 ซม.

4.พระพุทธรูป ปางประทานพร พระพุทธรูป ปางประทานพร ( ยืน) ขนาดหน้าตัก 17 ซม. สูง 26 ซม.

ศาสนวัตถุ[แก้]

  1. เจดีย์องค์เก่าสร้าง สมัยกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง เวียงจันทน์ มีพระพุทธรูป ปางสมาธิ ประดิษฐ์สถานอยู่ 1 องค์ บูรณปฏิสังขรณ์ฐานเจดีย์สร้างเมื่อ ปี พ.ศ 2525
  2. หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ 2512
  3. ซุ้มประตูโขง สร้างเมื่อ พ.ศ 2513
  4. ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 17 เมตร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว สร้างเมื่อ พ.ศ 2514-2516
  5. เจดีย์องค์จำลอง กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 16 เมตร สร้าง เพื่อบรรจุพระพุทธรูปที่ขุดมาจากกุดแห่น้อย พ.ศ 2517-2519
  6. พระอุโบสถ กว้าง 5.50 เมตร ยาว 15 เมตร บูรณปฏิสังขรณ์สร้างเมื่อ ปี พ.ศ 2468 ปี พ.ศ 2527-2531
  7. กุฎิสงฆ์ 4 หลัง เป็นอาคารไม้ 1 หลังครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง ตึก 1 หลัง และศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง เป็นอาคารไม้

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

ลำดับเจ้าอาวาสวัด วัดธาตุ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
ลำดับที่ รายนาม/สมณศักดิ์ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
01 ญาท่านเก้า ญาท่านสมุ พ.ศ. พ.ศ.
02 ญาท่านจันทร์ พ.ศ. พ.ศ.
03 ญาท่านบุญ พ.ศ. พ.ศ.
04 ญาท่านจันทร์ พ.ศ. พ.ศ.
05 ญาท่านจันสี พ.ศ. พ.ศ.
06 ญาท่านโค้ง พ.ศ. พ.ศ.
07 ญาท่านจันทร์ พ.ศ. พ.ศ.
08 ญาท่านอาคม พ.ศ. 2477 พ.ศ. 2485
09 ญาท่านเหมือน ธมฺมรโล พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2409
10 ญาท่านบุญจันทร์ เกษโว พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2499
11 ญาท่านพิพัฒน์ ฐาพุตโม พ.ศ. 2499 พ.ศ. 2506
12 ญาท่านนวลจันทร์ พ.ศ. 2506 พ.ศ. 2512
13 ญาท่านสะอาด เตชพโล พ.ศ. 2512 พ.ศ. 2520
14 ญาท่านไพบูลย์ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2527
15 ญาท่านสังวาลย์ พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2533
16 ญาท่านจันทร์แดง ขนฺติโก พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2536
17 พระครูบวรเจติยานุรักษ์ (หนูเรียน นาควโร/ภิรมย์ไกรภักดิ์) พ.ศ. 2538 ปัจจุบัน

สมุดภาพ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วัดธาตุ บ้านแห่[ลิงก์เสีย]

อ้างอิง[แก้]

[1] [2]


  1.  กองพุทธสถาน,กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 12 หน้าที่ 151 ,กรุงเทพฯ : กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา, 2526.
  2. ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ ลำดับที่ : 3 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 57 หน้า 2527 ประกาศเมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2483