วงโคจรพ้องคาบโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงโคจรพ้องคาบโลก (อังกฤษ: geosynchronous orbit, อักษรย่อ: GSO) เป็นวงโคจรที่มีคาบการโคจรเท่ากับคาบการหมุนรอบตัวเองของโลก วัตถุที่อยู่ในวงโคจรนี้จะกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับพื้นโลกเมื่อเวลาผ่านไปทุกๆ 1 วันดาราคติ (23 ชั่วโมง 56 นาที 4 วินาที) สำหรับวงโคจรพ้องคาบโลกที่อยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตร เราจะเรียกว่า วงโคจรค้างฟ้า (อังกฤษ: geostationary earth orbit, อักษรย่อ: GEO)

วงโคจรพ้องคาบโลก มีรัศมี 42,164 กิโลเมตร (26,199 ไมล์) วัตถุที่อยู่ในวงโคจรนี้ จะโคจรด้วยความเร็ว 3.076 กิโลเมตร/วินาที (11,074 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ใช้เวลาโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ 1,436 นาที

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]