ซูเปอร์มาร์เก็ต
ซูเปอร์มาร์เกต (อังกฤษ: supermarket) คือร้านค้าแบบบริการตนเองอันเป็นรูปแบบหนึ่งของร้านขายของชำ ซึ่งเสนอขายสินค้าอาหารและของใช้ในครัวเรือนหลายประเภทโดยจัดจำแนกไว้ตามแผนก ซูเปอร์มาร์เก็ตมีขนาดใหญ่กว่าและมีสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลายมากกว่าร้านขายของชำแบบดั้งเดิม และยังจำหน่ายสินค้าที่พบได้ปกติในร้านสะดวกซื้อ แต่ก็ยังเล็กกว่าและมีสินค้าจำกัดประเภทกว่าไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือซูเปอร์สโตร์
ซูเปอร์มาร์เก็ตโดยทั่วไปประกอบด้วยแผนกเนื้อสัตว์ พืชผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์นม และขนมปัง พร้อมกับพื้นที่บนชั้นซึ่งสงวนไว้สำหรับสินค้าบรรจุกระป๋องและสินค้าหีบห่อ เช่นเดียวกับรายการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร เช่นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เภสัชกรรม และสินค้าเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนอื่น ๆ ที่มีการบริโภคอย่างสม่ำเสมอ เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ที่ได้รับอนุญาต) อุปกรณ์การแพทย์ และเสื้อผ้า และบางร้านก็จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารโดยกว้างขวางมากกว่าอาหาร
ซูเปอร์มาร์เก็ตในแถบชานเมืองแบบเดิมตั้งอยู่บนพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ซึ่งโดยปกติจะมีชั้นเดียว มักตั้งอยู่ใกล้เขตที่อยู่อาศัยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ความดึงดูดใจพื้นฐานของซูเปอร์มาร์เก็ตคือ ความพร้อมของสินค้าอย่างกว้าง ๆ ที่มีให้เลือกซื้อภายใต้หลังคาเดียวในราคาที่ค่อนข้างต่ำ ข้อได้เปรียบอื่น ๆ อาทิความสะดวกในการจอดรถ และความสะดวกในเรื่องเวลาของการจับจ่ายใช้สอย ที่บ่อยครั้งขยายเวลาไปจนค่ำหรือแม้แต่ยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่มักมีการจัดสรรงบประมาณจำนวนมากเพื่อการโฆษณา ซึ่งโดยทั่วไปผ่านหนังสือพิมพ์ นอกจากนี้ก็ยังมีการนำเสนออธิบายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตมักจะเป็นส่วนหนึ่งของร้านค้าสาขาในบรรษัทที่เป็นของตนเอง หรือควบคุมซูเปอร์มาร์เก็ตอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง (บางครั้งโดยแฟรนไชส์) หรือแม้แต่ควบคุมข้ามประเทศ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการประหยัดต่อขนาด
การจัดหาสินค้าเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตมักจัดการโดยศูนย์กระจายสินค้าของบรรษัทแม่ เช่นบริษัทลอบลอว์ในประเทศแคนาดาซึ่งดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตหลายพันแห่งทั่วประเทศ ลอบลอว์ดำเนินงานศูนย์กระจายสินค้าในทุกจังหวัด โดยปกติในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด[1]
ซูเปอร์มาร์เก็ตในไทย
[แก้]/ สำหรับซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย แห่งแรกที่มีการเปิดกิจการ ชื่อ เจนี สโตร์ เปิดกิจการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่ถนนพระราม 4 ตรงข้ามวังสระปทุม โดยนายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง นักธุรกิจชาวไทย [2]
ปัจจุบัน
[แก้]- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
- มินิบิ๊กซี
- บิ๊กซี มาร์เก็ต
- บิ๊กซี ฟู้ดเพลส
- เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล
- ท็อปส์ เดลี่
- ท็อปส์ มาร์เก็ต
- ท็อปส์ มาร์เก็ต ฟู้ด แอนด์ ไวน์
- ท็อปส์ ซูเปอร์คุ้ม
- แฟมิลี่มาร์ท
- ซีพี เฟรช
- ฟู้ดแลนด์
- กลุ่มเดอะมอลล์
- กูร์เมต์ มาร์เก็ต
- กูร์เมต์ ทูโก
- โฮม เฟรช มาร์ท
- จิฟฟี่
- ลอว์สัน 108
- สยามแม็คโคร (แม็คโคร)
- แม็กซ์แวลู
- ริมปิง ซูเปอร์มาร์เก็ต
- โลตัส
- โลตัส โก เฟรช
- โลตัส โก เฟรช ซุปเปอร์มาร์เก็ต
- วิลล่า มาร์เก็ต
- Golden Place
อดีต
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติความเป็นมา (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
- ↑ หน้า 48, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (พ.ศ. 2555) ISBN 978-974-228-070-3
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- groceteria.com - supermarket history and architecture from the 1920s to the 1970s