รามมนเทียร (อโยธยา)
รามมนเทียร (อโยธยา) | |
---|---|
राम मंदिर, अयोध्या | |
![]() แบบจำลองมนเทียรขนาดย่อส่วน จัดแสดงชั่วคราวที่นิวเดลี | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เทพ | รามลัลล (ปางประสูติของพระราม) |
เทศกาล | รามนวมี, ทีปวลี, ทุสเสหร |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | รามชนมภูมิ, อโยธยา, รัฐอุตตรประเทศ, ประเทศ |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 26°47′44″N 82°11′39″E / 26.7956°N 82.1943°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 26°47′44″N 82°11′39″E / 26.7956°N 82.1943°E |
สถาปัตยกรรม | |
สถาปนิก | ตระกูลโสมปุระ (จันทรกันต์ โสมปุระ (Chandrakant Sompura)[1] , นิขิล โสมปุระ (Nikhil Sompura) และ อศิษ โสมปุระ (Ashish Sompura) [2]) |
ผู้สร้าง | ศรีรามชนมภูมิตีรถะเกษตร |
ลงเสาเข็ม | 5 สิงหาคม 2020 |
เสร็จสมบูรณ์ | เริ่มก่อสร้าง 2 ปี 11 เดือน 3 สัปดาห์ |
วัด | 1 |
รามมนเทียร (Ram Mandir แปลว่า มนเทียรพระราม) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นบนจุดแสวงบุญ รามชนมภูมิในอโยธยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย[3] ศาสนิกชนฮินดูจำนวนมากเชื่อว่าที่นี่เป็นสถานที่ประสูติของพระราม เทพเจ้าฮินดูที่นับถือเป็นอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ การก่อสร้างมนเทียรอยู่ภายใต้การดำเนินงานของศรีรามชนมภูมิตีรถะเกษตร ออกแบบโดยตระกูลโสมปุระแห่งคุชราต และสร้างอยู่บนพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของมัสยิดบาบรีที่ถูกทำลายไปเมื่อปี 1992
สถาปัตยกรรม[แก้]
การออกแบบดั้งเดิมของมนเทียรนั้นสร้างขึ้นในปี 1988 โดยตระกูลโสมปุระแห่งอะห์มดาบาด[2] ตระกูลโสมปุระเป็นผู้มีส่วนในการออกแบบมนเทียรมาแล้วกว่า 100 แห่งทั่วโลกเป็นระยะเวลา 15 รุ่นคนแล้ว[4] ผลงานออกแบบปัจจุบันในปี 2020 ได้มีการปรับแต่งบางประการโดยตระกูลโสมปุระ มนเทียรจะมีความกว้าง 235 ฟุต ยาว 360 ฟุต และสูง 161 ฟุต[5][4] หัวหน้าสถาปนิกของโครงการคือ จันทรกันต์ โสมปุระ (Chandrakant Sompura) และบุตรชายของเขาทั้งสองคนคือ นิขิล โสมปุระ (Nikhil Sompura) และ อศิษ โสมปุระ (Ashish Sompura)[5]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Umarji, Vinay (15 November 2019). "Chandrakant Sompura, the man who designed a Ram temple for Ayodhya". Business Standard. สืบค้นเมื่อ 27 May 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Pandey, Alok (23 July 2020). "Ayodhya's Ram Temple Will Be 161-Foot Tall, An Increase Of 20 Feet". NDTV. สืบค้นเมื่อ 23 July 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Bajpai, Namita (7 May 2020). "Land levelling for Ayodhya Ram temple soon, says mandir trust after video conference". The New Indian Express. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 Sampal, Rahul (28 July 2020). "Somnath, Akshardham & now Ram Mandir – Gujarat family designing temples for 15 generations". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.
- ↑ 5.0 5.1 Bajpai, Namita (21 July 2020). "280-feet wide, 300-feet long and 161-feet tall: Ayodhya Ram temple complex to be world's third-largest Hindu shrine". The New Indian Express. สืบค้นเมื่อ 23 July 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ram Mandir, Ayodhya