มัสยิดบาบรี

พิกัด: 26°47′44″N 82°11′40″E / 26.7956°N 82.1945°E / 26.7956; 82.1945
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาบรีมัสยิด
มัสยิดอ์ชนมสถาน (Masjid-i-Janmasthan)
Babri Masjid
มัสยิดบาบรี ภาพถ่ายโดย Samuel Bourne ศตวรรษที่ 19
ศาสนา
ศาสนาศาสนาอิสลาม
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอโยธยา, รัฐอุตตรประเทศ, ประเทศอินเดีย
มัสยิดบาบรีตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
มัสยิดบาบรี
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
พิกัดภูมิศาสตร์26°47′44″N 82°11′40″E / 26.7956°N 82.1945°E / 26.7956; 82.1945
สถาปัตยกรรม
รูปแบบตุฆลัก (Tughlaq)
เสร็จสมบูรณ์1528–29
ทำลาย1992

มัสยิดบาบรี (ไอเอเอสที: Bābarī Masjid (บาบะรี มัสจิด); แปลตรงตัวว่า มัสยิดของ[จักรพรรดิ]บาบูร์) เป็นอดีตมัสยิดในเมืองอโยธยา, ประเทศอินเดีย ซึ่งสร้างอยู่บนสถานที่ที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม เทพเจ้าในศาสนาฮินดู และได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างชุมชนฮินดูและมุสลิมมาตลอดตั้งแต่ศควรรษที่ 18[1] จารึกของมัสยิดระบุว่ามัสยิดนั้นสร้างขึ้นในปี 1528–29 (ฮิจเราะห์ศักราช 935) โดยนายพลมีร์บากี ภายใต้พระราชกระแสรับสั่งของจักรพรรดิโมกุล จักรพรรดิบาบูร์ มัสยิดได้ถูกโจมตีและทุบทำลายลงในปี 1992 โดยกรเสวกฮินดู ซึ่งได้นำไปสู่ความรุนแรงทั่วอนุทวีปอินเดีย

มัสยิดตั้งอยู่บนเนินเขารามโกต (Ramkot; "ป้อมของพระราม")[2] ชาวฮินดูเชื่อกันว่ามีร์บากีได้ทุบทำลายโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมเพื่อสร้างขึ้นเป็นมัสยิด การมีอยู่หรือไม่ของโบสถ์พราหมณ์เดิมก่อนการมีอยู่ของมัสยิดนี้เป็นหนึ่งในประเด็นถกเถียงที่สำคัญ[3]

ความขัดแย้งหลายครั้งได้เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 19 ระหว่างชาวฮินดูและมุสลิม ในปี 1949 ได้มีนักกิจกรรมชาวฮินดูภายใต้กำกับดูแลของฮินดูมหาสภาได้แอบนำเทวรูปของพระรามไปประดิษฐานภายในมัสยิด ภายหลังรัฐบาลได้ล็อกมัสยิดเพื่อป้องกันการพิพาทที่อาจเกิดขึ้น ได้มีการยื่นเรื่องต่อศาลจากทั้งชาวมุสลิมและฮินดูเพื่อร้องขอให้รัฐบาลเปิดมัสยิดตามเดิม

ในวันที่ 6 ธันวาคม 1992 ได้มีกลุ่มนักกิจกรรมฮินดูจำนวนมากภายใต้กำกับดูแลของวิศวะฮินดูบริษัทและหน่วยงานเกี่ยวข้องได้เข้าทุบทำลายมัสยิดบาบรี ซึ่งต่อมาได้นำไปสู่เหตุจลาจลทั่วทั้งอนุทวีปอินเดีย มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คน[4][5][6][7]

ในเดือนกันยายน 2010 ศาลสูงอลาหาบาดได้ตัดสินให้พื้นที่เป็นของชาวฮินดูเพื่อก่อสร้างมนเทียรบูชาพระราม ในขณะที่ชาวมุสลิมได้รับแบ่งพื้นที่หนึ่งในสามเพื่อสร้างมัสยิด[8][9] คำตัดสินนี้ได้ถูกระงับในปี 2019 เมื่อศาลสูงสุดของประเทศอินเดียตัดสิน[9][9][10]ให้พื้นที่ทั้งหมดเป็นของรัฐบาลภายใต้คณะกรรมการบริหารเพื่อสร้างเป็นโบสถ์พราหมณ์ทั้งหมด และให้รัฐบาลจัดหาพื้นที่ใหม่ทดแทนขนาด 5 เอเคอร์สำหรับคณะกรรมการซุนนีวักฟ์ในการสร้างมัสยิดขึ้นใหม่แทนของเดิม[11]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Timeline: Ayodhya holy site crisis". BBC News. 6 December 2012.
  2. Hiltebeitel, Alf (2009), Rethinking India's Oral and Classical Epics: Draupadi among Rajputs, Muslims, and Dalits, University of Chicago Press, pp. 227–, ISBN 978-0-226-34055-5
  3. Udayakumar, S.P. (August 1997). "Historicizing Myth and Mythologizing History: The 'Ram Temple' Drama". Social Scientist. 25 (7). JSTOR 3517601.
  4. Fuller, Christopher John (2004), The Camphor Flame: Popular Hinduism and Society in India, Princeton University Press, p. 262, ISBN 0-691-12048-X
  5. Guha, Ramachandra (2007). India After Gandhi. MacMillan. pp. 582–598.
  6. Khalid, Haroon (14 November 2019). "How the Babri Masjid Demolition Upended Tenuous Inter-Religious Ties in Pakistan". The Wire. สืบค้นเมื่อ 30 May 2020.
  7. "As a reaction to Babri Masjid demolition, What had happened in Pakistan and Bangladesh on 6 December, 1992". The Morning Chronicle. 6 December 2018. สืบค้นเมื่อ 30 May 2020.
  8. The Three Way Divide, Outlook, 30 September 2010.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Ayodhya dispute: The complex legal history of India's holy site". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
  10. "Supreme Court hearing ends in Ayodhya dispute; orders reserved". The Hindu Business Line. Press Trust of India. 2019-10-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "Ram Mandir verdict: Supreme Court verdict on Ram Janmabhoomi-Babri Masjid case". The Times of India. 2019-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-11-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]