รัมภา ภิรมย์ภักดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัมภา ภิรมย์ภักดี
นามปากกาภาวิต, พิกุลแก้ว, สุวิชา
อาชีพนักเขียนบทละคร
สัญชาติไทย
ผลงานที่สำคัญบทโทรทัศน์ละครโทรทัศน์
ดาวพระศุกร์ (พ.ศ. 2537), นางทาส (พ.ศ. 2551)

รัมภา ภิรมย์ภักดี (ชื่อเล่น ตุ้ม) เป็นนักเขียนบทละครโทรทัศน์ชาวไทย โดยเฉพาะละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ค่ายสามเศียร ภายใต้นามปากกา อาทิ "ภาวิต" และ "พิกุลแก้ว" รวมถึงมีผลงานเขียนบทละครที่มีชื่อเสียงอย่าง ดาวพระศุกร์ (พ.ศ. 2537), นางทาส (พ.ศ. 2551)

รัมภามีศักดิ์เป็นหลานของไพรัช สังวริบุตร จบการศึกษาจากแผนกวรรณคดีและภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วรับราชการครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ รัมภามีความเชี่ยวชาญด้านแต่งโคลงกลอน จึงได้ช่วยไพรัชแต่งโคลงกลอนเพื่อนำเสนอละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา[1] ก่อนจะเริ่มงานเขียนบทละครโทรทัศน์เมื่อ พ.ศ. 2528 ประจำบริษัทดีด้า เขียนบทละครโทรทัศน์เรื่องแรกคือ แม่ปูเปรี้ยว[2]

ก่อนจะขึ้นถึงจุดสูงสุดครั้งแรกในช่วงพุทธทศวรรษ 2540 เช่นดัดแปลงรามเกียรติ์มาเป็นละครพื้นบ้าน ใน เทพศิลป์ อินทรจักร (2542) การนำนิทานวัดเกาะผสมกับเทพปกรณัมกรีกเรื่อยไปถึงไซอิ๋วใน เทพสามฤดู (2546) รัมภาหายจากการเขียนบทละครโทรทัศน์ระยะหนึ่ง จนกลับมาเขียนบทละครโทรทัศน์จักร ๆ วงศ์ ๆ อีกครั้งใน สังข์ทอง (2561) ซึ่งออกอากาศเกิน 100 ตอน รวมถึง นางสิบสอง (2562)[3]

แนวทางการเขียนของรัมภายังได้นำแนวคิดเรื่องสิทธิสตรีเข้าไปในละคร เช่นเรื่องที่นางเอกต้องสู้คน อย่างเรื่อง นางพญาไพร เป็นนางเอกสู้คนไม่ยอมใครแม้แต่พระเอก ส่วนละครทั่วไปที่เขียนบทประพันธ์ ที่โด่งดังมากอย่าง ดาวพระศุกร์ ซึ่งดัดแปลงจากบทประพันธ์ ดั่งดวงหฤทัย (2539)[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "การทำงานของผู้เขียนบทละครเรื่องนางทาส".
  2. "ชีวิต-แนวคิดการเขียนบทละครจักรๆ วงศ์ๆ ของ "รัมภา ภิรมย์ภักดี" ต้นตอวลี "แม่ไม่ปลื้ม"". ศิลปวัฒนธรรม.
  3. "เบื้องหลังการเขียนบท "ละครจักรๆ วงศ์ๆ" ของ "รัมภา ภิรมย์ภักดี"". มติชนสุดสัปดาห์.
  4. "จากดาวพระศุกร์ถึงอีเย็น คุยกับ "รัมภา ภิรมย์ภักดี" คนเขียนบทละครโทรทัศน์". ศิลปวัฒนธรรม.