รถด่วนดุรนตุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถด่วนดุรนตุ
ขบวนรถด่วนดุรนตุที่ 12290 สายฉัตรปตี ศิวาจี-นาคปุระที่สถานีรถไฟฉัตรปตี ศิวาจี
ภาพรวม
ประเภทการเดินรถรถไฟด่วนเชื่อมระหว่างเมือง จอดเพียงไม่กี่สถานีระหว่างทาง
สถานะเปิดให้บริการ
เปิดเดินรถ2009; 15 ปีที่แล้ว (2009)
ผู้ดำเนินการปัจจุบันการรถไฟอินเดีย
เว็บไซต์http://indianrail.gov.in
เส้นทาง
จำนวนสถานีที่จอด24
บริการบนขบวนรถ
ชั้น1A, 2A, 3A, SL
การจองที่นั่งมี
บริการรถนอนมี
บริการอาหารมี
บริการสัมภาระใต้ที่นั่ง
ข้อมูลทางเทคนิค
ชุดรถเอ็ลเอ็ชเบ (เยอรมนี)
ไอซีเอฟ (อินเดีย)
เกจอินเดียนเกจ
1,676 mm (5 ft 6 in)
ความเร็วเฉลี่ย 60–85 km/h (37–53 mph)
สูงสุด 130 km/h (81 mph)
เจ้าของเส้นทางการรถไฟอินเดีย

รถด่วนดุรนตุหรือรถด่วนดูรอนโต (อังกฤษ: Duronto Express) [1]ตามการสะกดภาษาอังกฤษ เป็นชุดรถไฟด่วนทางไกลของการรถไฟอินเดีย ชื่อ "ดุรนตุ" มาจากคำในภาษาเบงกอล দুরন্ত (Durontu) ซึ่งแปลว่า "ไม่หยุด" โดยเริ่มแรกรถไฟชุดนี้จะไม่จอดรับผู้โดยสารที่สถานีใด ๆ ระหว่างต้นทางและปลายทาง แต่เริ่มเปิดรับผู้โดยสารระหว่างทางตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2016 ตู้โดยสารสีเหลือง-เขียวที่ใช้กับรถไฟชุดนี้มีลวดลายประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่สื่อถึงชื่อขบวน ได้แก่แม่น้ำที่ไหลผ่านทุ่งดอกไม้ และเด็กผู้ชายวิ่งเล่นในทุ่ง เส้นทางให้บริการของรถไฟชุดนี้เชื่อมระหว่างเมืองสำคัญและเมืองหลวงของรัฐในประเทศอินเดีย ในปัจจุบันรถด่วนดุรนตุที่เปิดเดินรถทุกวันมีเพียงสองขบวนได้แก่รถด่วนดุรนตุสายนาคปุระ-ฉัตรปตี ศิวาจี (มุมไบ) และสายรถด่วนดุรนตุปรับอากาศสายมุมไบเซ็นทรัล-ราชโกฏ

ประวัติ[แก้]

ใน ค.ศ. 2007 กระทรวงการรางของประเทศอินเดียได้ริเริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูง ในระยะแรก กระทรวงการรางเลือกเส้นทางช่วงเดลี-อมฤตสระ ความยาวประมาณ 500 กิโลเมตรเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ[2] ต่อมาในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2009 มอโมตา บอนโดปัทเย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการรางกล่าวว่าทางกระทรวงจะขอคำปรึกษาจากต่างประเทศเพื่อดำเนินกิจการรถไฟความเร็วสูง โดยนอกเหนือจากเส้นทางสายเดลี-อมฤตสระแล้ว จะพิจารณาเพิ่มอีก 4 เส้นทางได้แก่ปูเน-มุมไบ-อะห์มดาบาด สายไฮเดอราบาด-โฑรนกัล-วิชยวาฑะ-เจนไน สายเจนไน-บังคาลอร์-โกยัมปุตตูร-เอรณากุฬัม-ติรุวนันตปุรัม และสายฮาวรา-หลดิยา[3] รถด่วนดุรนตุสายแรกที่เปิดให้บริการเดินรถระหว่างนครโกลกาตา (สถานีสิยาลทหะ) และกรุงนิวเดลี (สถานีนิวเดลี) ซึ่งขบวนดังกล่าวได้ขยายระยะการให้บริการต่อจากนิวเดลีไปยังสถานีรถไฟชุมทางพิกาเนร์ในเมืองพิกาเนร์ รัฐราชสถาน ในช่วงต้น ค.ศ. 2020[4]

การให้บริการ[แก้]

ต้นทาง ปลายทาง เลขขบวน
ยศวันตปุระ (บังคาลอร์) สรายะโรฮิลลา (เดลี) 12213/12214
ชุมทางสิกันดราบาด (สิกันดราบาด) โลกมานยะ ติฬกะ (มุมไบ) 12219/12220
ชุมทางปูเน (ปูเน) ชุมทางฮาวรา (ฮาวรา/โกลกาตา) 12221/12222
โลกมานยะ ติฬกะ (มุมไบ) ชุมทางเอรณากุฬัม (โกชิ) 12223/12224
มุมไบเซ็นทรัล (มุมไบ) ชุมทางอินเทาร์ (อินเทาร์) 12227/12228
มุมไบเซ็นทรัล (มุมไบ) ชุมทางชัยปุระ (ชัยปุระ) 12239/12240
ชุมทางฮาวรา (ฮาวรา/โกลกาตา) ยศวันตปุระ (บังคาลอร์) 12245/12246
สิยาลทหะ (โกลกาตา) ชุมทางพิกาเนร์ (พิกาเนร์) 12259/12260
ชุมทางฮาวรา (ฮาวรา/โกลกาตา) ฉัตรปตี ศิวาจี (มุมไบ) 12261/12262
ฮัซรัตนิซามุดดีน (นิวเดลี) ชุมทางปูเน (ปูเน) 12263/12264
สรายะโรฮิลลา (นิวเดลี) ชัมมูทวี (ชัมมู) 12265/12266
มุมไบเซ็นทรัล (มุมไบ) ชุมทางราชโกฏ (ราชโกฏ) 12267/12268
เจนไนเซ็นทรัล (เจนไน) ฮัซรัตนิซามุดดีน (นิวเดลี) 12269/12270
นิวเดลี (นิวเดลี) ชุมทางฮาวรา (ฮาวรา/โกลกาตา) 12273/12274
ภุพเนศวร (ภุพเนศวร) นิวเดลี (นิวเดลี) 12281/12282
ชุมทางเอรณากุฬัม (โกชิ) ฮัซรัตนิซามุดดีน (นิวเดลี) 12283/12284
ชุมทางสิกันดราบาด (สิกันดราบาด) ฮัซรัตนิซามุดดีน (นิวเดลี) 12285/12286
ฉัตรปตี ศิวาจี (มุมไบ) ชุมทางนาคปุระ (นาคปุระ) 12289/12290
โลกมานยะ ติฬกะ (มุมไบ) ชุมทางอลาหาบาด (ประยาคราช) 12293/12294
ชุมทางปูเน (ปูเน) ชุมทางอะห์มดาบาด (อะห์มดาบาด) 12297/12298
สิยาลทหะ (โกลกาตา) ปุรี (ปุรี) 22201/22202
วิศาขาปัตนัม (วิศาขาปัตนัม) ชุมทางสิกันดราบาด (สิกันดราบาด) 22203/22204
ศาลิมาร์ (โกลกาตา) ชุมทางปัฏนา (ปัฏนา) 22213/22214
มุมไบเซ็นทรัล (มุมไบ) นิวเดลี (นิวเดลี) 22209/22210

คลังภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "First ever non-stop train service 'Duronto' introduced". Government of India. Press Information Bureau. สืบค้นเมื่อ 3 July 2009.
  2. "Bullet Trains Expected in India". Rediff. 3 May 2007. สืบค้นเมื่อ 20 September 2009.
  3. "India plans High Speed rail Service for Railways". Rediff. January 2009. สืบค้นเมื่อ 22 September 2009.
  4. "Sealdah New Delhi Duranto extended up to Bikaner". railpost.in. 21 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]