ข้ามไปเนื้อหา

มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลเคาะวาริซมี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลเคาะวาริซมี
เกิดค.ศ.780
ควาเรซม์[1]
เสียชีวิตค.ศ.850
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
มีอิทธิพลต่ออบูกามิล[2]

มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลเคาะวาริซมี (อาหรับ: محمد بن موسى الخوارزمي) หรือ โมแฮมแมด เบน มูซอ ฆวอแรซมี (เปอร์เซีย: محمد بن موسی خوارزمی; ประมาณ ค.ศ. 780–850)[3][4][5] เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นนักเขียนและนักแปล

ประวัติ

[แก้]
อัลเคาะวาริซมี บนแสตมป์ของสหภาพโซเวียต ในโอกาสระลึกถึงชาตกาลครบรอบ 1,200 ปี

อัลเคาะวาริซมี เกิดในคอวาริซมฺ เขตการปกครองคุรอซาน ในเปอร์เซีย (ปัจจุบันมีชื่อว่าคีวา อยู่ในอุซเบกิสถาน) มีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องช่วงชีวิตของเขา บ้างก็ว่า เกิด ค.ศ. 780 และตาย ค.ศ. 840 ภาษาดั้งเดิมของเขาน่าจะเป็นภาษาเปอร์เซีย[ต้องการอ้างอิง] แต่งานเขียนของเขา เท่าที่ทราบ เขียนในภาษาอาหรับเท่านั้น หนังสือที่เขียนส่วนใหญ่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์และแผนที่ ดาราศาสตร์ ปฏิทินและเวลา นาฬิกาและแอสโตรแลบ

ชีวิตในวัยเยาว์ไม่เป็นที่ทราบกันมากนัก ทราบว่ามีชื่อเสียงอยู่ในสมัยอัลมะอ์มูน แห่งราชวงศ์อับบาซียะห์ ซึ่งได้สนับสนุนงานวิชาการเป็นอย่างสูงได้ตั้งสถาบันการเรียนรู้และห้องสมุดมีชื่อว่า ดาร อัลฮิกมะหฺ (ทำเนียบแห่งปัญญา) มีนักปรัญาและนักวิทยาศาสตร์ทำงานค้นคว้าและแปลตำราจากภาษากรีก ภาษาละติน และภาษาฮินดี ซึ่งนับเป็นห้องสมุดแห่งแรกของโลก หลังจากห้องสมุดในอเล็กซานเดรีย มีการสะสมงานที่สำคัญๆ ของโรมันมากมาย และได้มีการสร้างหอดูดาวขึ้นมา

อัลเคาะวาริซมีและคณะเช่น ผู้คนในตระกูลมูซา เป็นนักวิชาการของสถาบันการเรียนรู้แห่งแบกเดด งานส่วนหนึ่งคืองานแปลและศึกษาต้นฉบับงานทางวิทยาศาสตร์ของกรีก อัลเคาะวาริซมีได้เขียนตำราเสนอแก่ คอลีฟะหฺอัลมะอ์มูนหลายฉบับ เช่น ตำราทางคณิตศาสตร์ชื่อ "ฮิซาบ อัลญับริ วะ อัลมุกอบะละหฺ" ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากของอัลเคาะวาริซมี ชื่อของตำรานี้เป็นที่มาของคำว่า "Algebra" หรือ พีชคณิต คำว่า อัลญับรฺ หมายถึง การกลับคืนค่า (Restoring) เป็นกระบวนการทำให้ค่าทั้งสองข้างของสมการ มีค่าเท่ากัน และคำว่า อัลมุกอบะละหฺ หมายถึง การเปรียบเทียบ ทั้งสองข้างของสมการซึ่งมีค่าเท่ากัน

สิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

ศัพท์ Algebra (พีชคณิต) นั้นมีรากศัพท์มาจากชื่อหนังสือ Al-Jabr wa-al-Muqabilah ของเขา ซึ่งอัลเคาะวาริซมีได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของพีชคณิตอีกด้วย นอกจากนั้นหนังสือ Liber Algoritmi de numero Indorum ทำให้เกิดศัพท์ algorithm (อัลกอริทึม) ขึ้นในคณิตศาสตร์

นอกจากนี้แล้ว อัล คอวาริศมียังได้สร้างตารางค่า sine,เริ่มใช้ ระบบเลขฐานสิบ, ศึกษาระบบรูปทรงภาคตัดกรวย (conic section), calculus of 2 error, ใช้เลข 0 เป็นทศนิยม เป็นต้น ตำราของท่านใช้ในสถาบันต่าง ๆ ถึงปี 1600

ผลงาน

[แก้]
  1. ฮิซาบ อัลญับริ วะ อัลมุกอบะละหฺ (การคำนวณโดยหักออกและบวกเข้ามาใหม่) มีชื่อในภาษาละตินว่า Liber algebrae et almucabala
  2. กิตาบ อัลญัมอิ วะ อัตตัฟรีก บิ อัลฮีซาบ อัลฮินดีย์ (หนังสือของอัลกอริตมีว่าด้วยเรื่องคณิตศาสตร์อินเดีย) ซึ่งต้นฉบับภาษาอาหรับหายไป มีฉบับแปล มีชื่อในภาษาละตินว่า Liber Algoritmi de numero Indorum ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า อัลกอริทึม (Algorithm) ที่หมายถึงขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในตำราเล่มนี้ได้พูดถึง ระบบตัวเลข 1 ถึง 10 การใช้ทศนิยมและการใช้เลขศูนย์
  3. กิตาบ สูเราะหฺ อัลอัรฎิ (หนังสือรูปร่างธรณี) เป็นตำราทางภูมิศาสตร์ มีตาราง และแผนที่
  4. อิสติครอจญ์ ตารีค อัลยะฮูด (เกี่ยวกับปฏิทินยิว)
  5. กิตาบ อัตตารีค (หนังสือประวัติศาสตร์)
  6. กิตาบ อัรรุคมาต (หนังสือนาฬิกาอาทิตย์)
  7. อัลญัลรุ้ วัลมุกอบละฮุ (หนังสือ การแก้สมการกำลังสอง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Berggren 1986; Struik 1987, p. 93
  2. O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F., "Abū Kāmil Shujā‘ ibn Aslam", MacTutor History of Mathematics archive, University of St Andrews.
  3. Hogendijk, Jan P. (1998). "al-Khwarzimi". Pythagoras. 38 (2): 4–5. ISSN 0033–4766. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-19. สืบค้นเมื่อ 2010-01-06.
  4. Berggren 1986
  5. Struik 1987, p. 93