มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค
มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค | |
---|---|
Mustafa Kemal Atatürk | |
ประธานาธิบดีตุรกี คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 29 ตุลาคม ค.ศ. 1923 – 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 (15 ปี 12 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อิสเมท อีเนอนือ |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | อิสเมท อีเนอนือ |
นายกรัฐมนตรีรัฐบาลสมัชชาแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 – 24 มกราคม ค.ศ. 1921 (0 ปี 266 วัน) | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | เฟฟซี ชักมัค |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1881 เทสซาโลนีกี, ประเทศกรีซ , จักรวรรดิออตโตมัน |
เสียชีวิต | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 (57 ปี) อิสตันบูล ประเทศตุรกี |
คู่สมรส | ลาทีเฟ อูชักลือกิล |
ลายมือชื่อ | |
เคมัล อาทาทืร์ค[1] (หรือเขียนอีกอย่างว่า คามัล อาทาทืร์ค,[2] มุสทาฟา เคมัล พาชา; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1881 - 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938) เป็นจอมพล นักปฏิวัติ รัฐบุรุษ นักเขียนชาวตุรกี และเป็นบิดาผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีคนแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1923 จนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1938 การปกครองแบบเผด็จการอย่างมีเมตตากรุณาของเขาได้ยอมรับการปฏิรูปที่ก้าวหน้าอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้ตุรกีกลายเป็นประเทศที่เป็นรัฐฆราวาส และอุตสาหกรรมที่ทันสมัย[3][4][5] ด้วยอุดมการณ์ในฆราวาสนิยมและชาตินิยม นโยบายของเขาได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ ลัทธิเคมัล เนื่องจากความสำเร็จทางทหารและการเมืองของเขาทำให้อาทาทืร์คได้รับการยกย่องตามผลศึกษาว่า เป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20[6]
อาทาทืร์คได้มีชื่อเสียงในบทบาทของเขาในการรักษาชัยชนะของตุรกีออตโตมันในยุทธการที่กัลลิโพลี (ค.ศ. 1915) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[7] ภายหลังจากความปราชัยและการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน เขาได้นำขบวนการชาตินิยมตุรกี ซึ่งได้ต่อต้านการแบ่งแยกแผ่นดินใหญ่ของตุรกีท่ามกลางอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรผู้มีชัย ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลในเมืองหลวงตุรกีในปัจจุบันคือ อังการา เขาได้มีชัยเหนือกองกำลังที่ถูกส่งมาโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ดังนั้นชัยชนะที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ต่อมาถูกเรียกว่า สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี เขาได้ดำเนินทำการยุบจักรวรรดิออตโตมันที่เสื่อมโทรมและประกาศวางรากฐานของสาธารณรัฐตุรกีขึ้นมาแทน
ในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐตุรกีที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น อาทาทืร์คริเริ่มโครงการปฏิรูปทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างเข้มงวด โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการสร้างรัฐชาติแบบฆราวาสที่ก้าวหน้าและทันสมัย เขาได้ทำให้การเข้าศึกษาระดับชั้นประถมแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและเป็นภาคบังคับ เปิดโรงเรียนใหม่หลายพันแห่งทั่วประเทศ เขายังได้แนะนำอักษรตุรกีที่ใช้ภาษาละตินเป็นพื้นฐาน แทนที่ตัวอักษรตุรกีออตโตมันแบบโบราณ สตรีชาวตุรกีได้รับสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมืองในช่วงการขึ้นครองตำแหน่งของอาทาทืร์คได้นำหน้าไปหลายประเทศตะวันตก[8] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สตรีที่ได้รับสิทธิออกเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่นตามกฎหมายที่ 1580 เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1930 และไม่กี่ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1934 สิทธิในการออกเสียงการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเต็มรูปแบบเร็วกว่าประชาธิปไตยส่วนใหญ่ในโลก[9]
รัฐบาลของเขาได้ดำเนินนโยบาย Turkification พยายามที่จะสร้างชาติที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและรวมชาติเป็นปึกแผ่น[10][11][12] ภายใต้การปกครองอาทาทืร์ค ชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวตุรกีได้ถูกกดดันให้พูดภาษาตุรกีในที่สาธารณะ[13] ภูมินามวิทยาที่ไม่ใช่ภาษาตุรกีและนามสกุลของชนกลุ่มน้อยจะต้องเปลี่ยนเป็นการแปลเป็นภาษาตุรกี[14][15] รัฐสภาตุรกีได้มอบนามสกุลให้แก่เขาว่า อาทาทืร์ค ในปี ค.ศ. 1934 ซึ่งหมายความว่า "บิดาแห่งชาวเติร์ก" เพื่อเป็นการรับรู้ถึงบทบาทที่เขาเล่นในการสร้างสาธารณรัฐตุรกียุคสมัยใหม่[16] เขาถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ที่พระราชวังโดลมาบาห์เชในกรุงอิสตันบูล ด้วยวัย 57 ปี[17] เขาได้รับการสืบทอดตำแหน่งในฐานะประธานาธิบดีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งมายาวนานในสมัยของเขาคือ อิสเมท อีเนอนือ[18] และได้รับเกียรติด้วยงานศพของรัฐ สุสานที่เป็นสัญลักษณ์ของเขาในอังการา ซึ่งถูกสร้างและเปิดทำการในปี ค.ศ. 1953 ได้ถูกล้อมรอบด้วยสวนสาธารณะที่เรียกว่า สวนสาธารณะสันติภาพ เพื่อเป็นเกียรติแก่การแสดงความคิดเห็นของเขาที่มีชื่อเสียงด้วยคำว่า "สันติสุขที่บ้าน สันติภาพในโลก"
ในปี ค.ศ. 1981 เมื่อครบรอบร้อยปีของการเกิดของอาทาทืร์ค ความทรงจำของเขาได้รับการยกย่องจากสหประชาชาติและยูเนสโก ซึ่งได้ประกาศว่าเป็นปีแห่งอาทาทืร์คในโลก และได้รับรองมติการครบรอบร้อยปีของอาทาทืร์ค ได้มีการอธิบายถึงเขาว่า"เป็นผู้นำแห่งการสู้รบครั้งแรกที่ต่อต้านลัทธิการล่าอาณานิคมและจักรวรรดินิยม" และ "เป็นผู้ก่อตั้งที่น่าทึ่งของความเข้าใจระหว่างประชาชนและความสงบสุขที่ยั่งยืนระหว่างประชาชาติของโลก และเขาทำงานมาตลอดทั้งชีวิตของเขาเพื่อการพัฒนาความสามัคคีและความร่วมมือระหว่างประชาชนโดยปราศจากความแตกต่าง"[19][20] อาทาทืร์คได้กลายเป็นบุคคลที่ถูกรำลึกไว้อาลัยถึงโดยอนุสรณ์สถานหลายแห่งและสถานที่ที่มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในตุรกีและทั่วโลก อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซได้เป็นผู้ส่งต่อชื่อของอาทาทืร์คสำหรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี ค.ศ. 1934[21]
ชีวิตในวัยเด็ก
[แก้]ชื่อเดิมของมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์คมีเพียงแค่ มุสทาฟา เท่านั้น ส่วนชื่อ เคมัล นั้นได้มาจากครูคณิตศาสตร์ของเขา ที่ตั้งให้เพราะผลการเรียนที่ดีเยี่ยม[22] ในช่วงวัยเด็ก แม่ของเขาได้พยายามให้เขาเข้าเรียนในโรงเรียนศาสนา ซึ่งเขาก็อิดออดที่จะไปเรียน แต่ก็ได้เข้าเรียนอยู่ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ต่อมาเขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียน Şemsi Efendi ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีหลักสูตรเกี่ยวกับศาสนาน้อยกว่าตามคำแนะนำของพ่อของเขา ต่อมาเขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมต้นทหารในเมืองซาโลนิกา (ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน) ในปีค.ศ. 1893 และได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมปลายทหารในเมือง Manastır (ปัจจุบันคือเมือง Bitola ในมาซิโดเนีย) ในปีค.ศ. 1896 ในปีค.ศ. 1899 เข้าได้เข้าเรียนในวิทยาลัยสงครามในเมืองอิสตันบูล และจบการศึกษาในปีค.ศ. 1902 และได้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาระดับสูงทางด้านสงครามอีกแห่งหนึ่งในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1905
อาชีพทหาร
[แก้]หลังจากจบการศึกษา เขาได้รับแต่งตั้งยศร้อยโทและไปประจำการที่ดามัสกัส เขาได้เข้าร่วมสมาคมปฏิวัติที่ตั้งขึ้นมาอย่างลับ ๆ ชื่อ "มาตุภูมิและเสรีภาพ" (Vatan ve Hürriyet) ในปีค.ศ. 1907 เขาได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยเอกและย้ายไปประจำการที่ Manastır เขาเข้าร่วม Committee of Union and Progress แต่ต่อมาเขาก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านนโยบายของบรรดาผู้นำองค์กร ในปีค.ศ. 1908 เขามีบทบาทในการปฏิวัติยังเติร์กซึ่งเขายึดอำนาจจากสุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ในปีค.ศ. 1910 เขามีส่วนร่วมใน Picardie army maneuvers ในฝรั่งเศส ในปีค.ศ. 1911เขาทำงานในกระทรวงสงครามในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และได้รับคำสั่งให้ไปต่อสู้ในสงครามอิตาลี - ตุรกี เขากลับมายังเมืองหลวงในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1912หลังจากสงครามบอลข่านเริ่มต้นขึ้น ระหว่างสงครามบอลข่านครั้งแรก เขาได้ต่อสู้กับกองทัพบัลแกเรียที่เมือง Gallipoli และ Bolayır บนชายฝั่งเธรซ ในปีค.ศ. 1913 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นทูตทหารประจำโซเฟีย และได้เลื่อนยศเป็นพันโท
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ID card from 1934
- ↑ ID card from 1935
- ↑ "Atatürk, Kemal", World Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ), Philip's, 2014, doi:10.1093/acref/9780199546091.001.0001, ISBN 9780199546091, สืบค้นเมื่อ 9 June 2019
- ↑ Books, Market House Books Market House (2003), Books, Market House (บ.ก.), "Atatürk, Kemal", Who's Who in the Twentieth Century (ภาษาอังกฤษ), Oxford University Press, doi:10.1093/acref/9780192800916.001.0001, ISBN 9780192800916, สืบค้นเมื่อ 9 June 2019
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWolf
- ↑ "EINSTEIN AND ATATURK (Part 1), National Geographic Society Newsroom". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-22. สืบค้นเมื่อ 2020-07-15.
- ↑ Zürcher, Turkey : a modern history, 142
- ↑ Mastering Modern World History by Norman Lowe, second edition
- ↑ Türkiye'nin 75 yılı, Tempo Yayıncılık, İstanbul, 1998, p. 48, 59, 250
- ↑ Sofos, Umut Özkırımlı & Spyros A. (2008). Tormented by history: nationalism in Greece and Turkey. New York: Columbia University Press. p. 167. ISBN 9780231700528.
- ↑ Toktaş, Şule (2005). "Citizenship and Minorities: A Historical Overview of Turkey's Jewish Minority". Journal of Historical Sociology. 18 (4): 394–429. doi:10.1111/j.1467-6443.2005.00262.x. สืบค้นเมื่อ 7 January 2013.
- ↑ Jongerden, Joost; Verheij, Jelle, บ.ก. (3 August 2012). Social relations in Ottoman Diyarbekir, 1870–1915. Leiden: Brill. p. 300. ISBN 978-90-04-22518-3.
- ↑ Kieser, Hans-Lukas, บ.ก. (2006). Turkey beyond nationalism: towards post-nationalist identities ([Online-Ausg.] ed.). London: Tauris. p. 45. ISBN 9781845111410. สืบค้นเมื่อ 7 January 2013.
- ↑ Öktem, Kerem (2008). "The Nation's Imprint: Demographic Engineering and the Change of Toponymes in Republican Turkey". European Journal of Turkish Studies (7). doi:10.4000/ejts.2243. สืบค้นเมื่อ 18 January 2013.
- ↑ Aslan, Senem (29 December 2009). "Incoherent State: The Controversy over Kurdish Naming in Turkey". European Journal of Turkish Studies. Social Sciences on Contemporary Turkey (10). doi:10.4000/ejts.4142. สืบค้นเมื่อ 16 January 2013.
the Surname Law was meant to foster a sense of Turkishness within society and prohibited surnames that were related to foreign ethnicities and nations
- ↑ "Mustafa Kemal Atatürk'ün Nüfus Hüviyet Cüzdanı. (24.11.1934)". www.isteataturk.com. สืบค้นเมื่อ 26 June 2013.
- ↑ "Turkey commemorates Atatürk on 78th anniversary of his passing". Hürriyet Daily News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 November 2017.
- ↑ Jayapalan, N. (April 1999). Modern Asia Since 1900 (ภาษาอังกฤษ). Atlantic Publishers & Dist. ISBN 9788171567515.
- ↑ "ATATURK: Creator of Modern Turkey". www.columbia.edu. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
- ↑ Landau, Jacob M. (1984). Atatürk and the Modernization of Turkey (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-9004070707.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnobel
- ↑ "Mustafa Kemal Atatürk". Turkish Embassy website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-07.
ก่อนหน้า | มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สถาปนาสาธารณรัฐ | ประธานาธิบดีแห่งตุรกี (29 ตุลาคม พ.ศ. 2466 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481) |
อิสเมท อีเนอนือ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2424
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2481
- มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค
- ประธานาธิบดีตุรกี
- นายกรัฐมนตรีตุรกี
- พาชา
- จอมพลชาวตุรกี
- นายพลชาวออตโตมัน
- นายพลในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ทหารในสงครามอิตาลี-ตุรกี
- ทหารชาวออตโตมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- บุคคลจากเทสซาโลนีกี
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์