มานูเอล เอเล. เกซอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มานูเอล เกซอน)
มานูเอล เอเล. เกซอน
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
ก่อนหน้าเอมิลิโอ อากินัลโด
ถัดไปโฮเซ ลอเรล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2421
เสียชีวิต1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 (65 ปี)
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคนาซิโอนาลิสตา
คู่สมรสเอาโรรา เกซอน
ลายมือชื่อ

มานูเอล ลุยส์ เกซอน อี โมลีนา (สเปน: Manuel Luis Quezón y Molina) หรือ มานูเวล ลูวิส โมลีนา เคโซน (ฟิลิปปินส์: Manuel Luis Molina Quezon; 19 สิงหาคม พ.ศ. 2421 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487) เป็นรัฐบุรุษ ทหาร และนักการเมืองฟิลิปปินส์ที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ระหว่างปี พ.ศ. 2478–2487 เกซอนเป็นคนฟิลิปปินส์คนแรกที่ได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลของฟิลิปปินส์ทั้งหมด[1] (เมื่อเทียบกับรัฐบาลของรัฐฟิลิปปินส์ก่อนหน้านี้) และถือว่าเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่สองหลังจากเอมิลิโอ อากินัลโด (พ.ศ. 2442–2444) เขาเป็นชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายสเปน โดยพ่อและแม่ของเขาเป็นเมสติโซ (ลูกครึ่งชาวพื้นเมืองกับชาวสเปน)

เกซอนเป็นประธานวุฒิสภาคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งจากการเลือกตั้งระดับชาติ และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งในการเลือกตั้งใหม่ (เป็นวาระที่สองต่อเนื่องมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2478)[2] สำหรับการผลักดันรัฐบัญญัติฉบับที่ 184 เพื่อจัดตั้งสถาบันภาษาแห่งชาติและกำหนดภาษาประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ เกซอนได้รับการติดยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งภาษาประจำชาติ" ของประเทศ

ในช่วงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เกซอนจัดการปัญหาของชาวนาไร้ที่ดินในชนบท การตัดสินใจที่สำคัญอื่น ๆ ของเขา ได้แก่ การปฏิรูปการป้องกันประเทศของหมู่เกาะ การอนุมัติข้อเสนอแนะในการปฏิรูปของรัฐบาล การส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาในมินดาเนา[3] การจัดการกับการค้าประเวณีและการค้าแรงงานของฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ ข้อเสนอสำหรับการปฏิรูปที่ดินและการต่อต้านการรับสินบน และการทุจริตภายในรัฐบาล เขาได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในสหรัฐอเมริกาหลังการปะทุของสงครามและการรุกรานของญี่ปุ่น

ในช่วงที่เขาพลัดถิ่นในสหรัฐอเมริกา เขาถึงแก่อสัญกรรมจากวัณโรคที่หมู่บ้านแซราแน็กเลก (Saranac Lake) ในนิวยอร์ก ศพของเขาถูกฝังอยู่ในสุสานแห่งชาติอาร์ลิงตันจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ศพของเขาจึงถูกย้ายไปที่กรุงมะนิลา สถานที่พักผ่อนสุดท้ายของเขาคือวงเวียนอนุสรณ์เกซอน (Quezon Memorial Circle)[4]

ในปี พ.ศ. 2558 คณะกรรมการมูลนิธิราอูล วัลเลินแบร์ย นานาชาติ ได้มอบรางวัลเหรียญวัลเลินแบร์ยให้แก่ประธานาธิบดีเกซอนและประชาชนชาวฟิลิปปินส์จากความพยายามช่วยเหลือเหยื่อพันธุฆาตชาวยิวในช่วงปี พ.ศ. 2480–2484 ประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโนที่ 3 และมารีอา เซเนย์ดา เกซอน อาบันเซญญา ซึ่งมีอายุ 94 ปี และเป็นบุตรสาวของอดีตประธานาธิบดีได้รับมอบรางวัลแทน

อ้างอิง[แก้]

  1. National Historical Commission of the Philippines. "History of Baler". National Historical Commission of the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-03-09. When military district of El Príncipe was created in 1856, Baler became its capital...On June 12, 1902 a civil government was established, moving the district of El Príncipe away from the administrative jurisdiction of Nueva Ecija...and placing it under the jurisdiction of Tayabas Province.
  2. Quezon, Manuel Luis (1915), "Escuelas públicas durante el régimen español", Philippine Assembly, Third Legislature, Third Session, Document No.4042-A 87 Speeches of Honorable Manuel L. Quezon, Philippine resident commissioner, delivered in the House of Representatives of the United States during the discussion of Jones Bill, 26 September-14 October 1914 [Asamblea Filipina, Tercera Legislatura, Tercer Período de Sesiones, Documento N.o 4042-A 87, Discursos del Hon. Manuel L. Quezon, comisionado residente de Filipinas, Pronunciados en la Cámara de representantes de los Estados Unidos con motivo de la discusión del Bill Jones, 26, septiembre-14, octubre, 1914] (ภาษาสเปน), Manila, Philippines: Bureau of Printing, p. 35, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-18, สืบค้นเมื่อ July 24, 2010, ...there were public schools in the Philippines long before the American occupation, and, in fact, I have been educated in one of these schools, even though my hometown is such a small town, isolated in the mountains of the Northeastern part of the island of Luzon. (Spanish). [...había escuelas públicas en Filipinas mucho antes de la ocupación americana, y que, de hecho, yo me había educado en una de esas escuelas, aunque mi pueblo natal es un pueblo tan pequeño, aislado en las montañas de la parte Noreste de la isla de Luzón.] {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |trans_chapter= ถูกละเว้น แนะนำ (|trans-chapter=) (help)
  3. Office of History and Preservation, United States Congress. (n.d.). Quezon, Manuel Luis, (1878–1944). Biographical Directory of the United States Congress. Retrieved September 30, 2010.
  4. Reyes, Pedrito (1953). Pictorial History of the Philippines.