โจเซฟ เอสตราดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจเซฟ เอสตราดา
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ คนที่ 13
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2541 – 20 มกราคม พ.ศ. 2544
รองประธานาธิบดี กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย
ก่อนหน้า ฟิเดล รามอส
ถัดไป กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย
รองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ คนที่ 11
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน, พ.ศ. 2535 – 30 มิถุนายน, พ.ศ. 2541
ประธานาธิบดี ฟิเดล รามอส
ก่อนหน้า Salvador Laurel
ถัดไป กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย
นายกเทศมนตรีกรุงมะนิลา
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ก่อนหน้า Alfredo Lim
ถัดไป Isko Moreno
Chairman of the Presidential Anti-Crime Commission
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2540
ประธานาธิบดี ฟิเดล รามอส
Senator of the Philippines
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2530 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกเทศมนตรีเมืองซานฮวน เขตเมโทรมะนิลา
ดำรงตำแหน่ง
30 ธันวาคม พ.ศ. 2512 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2529
ก่อนหน้า Braulio Sto. Domingo
ถัดไป Reynaldo San Pascual
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด Jose Marcelo Ejercito
(1937-04-19) 19 เมษายน ค.ศ. 1937 (86 ปี)
Tondo, Manila, Philippines
พรรค PMP (1991–present)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
Nacionalista (1969–1987)
Liberal Party (1987–1991)
UNA (2012-present)
คู่สมรส Luisa Pimentel
บุตร Jinggoy Estrada
Jackie Ejercito Estrada
JV Ejercito
ศิษย์เก่า Mapúa Institute of Technology (Dropped out)
วิชาชีพ Actor
Businessperson
Politician
ศาสนา โรมันคาทอลิก
ลายมือชื่อ Estrada Sig.png
เว็บไซต์ Official website

โจเซฟ "เอรัป" เอเฮร์ซีโต เอสตราดา (Joseph "Erap" Ejercito Estrada) อดีตประธานาธิบดีคนที่ 13 ของฟิลิปปินส์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2544

เอสตราดาเกิดที่มะนิลา มีชื่อเสียงจากการเป็นพระเอกภาพยนตร์ โดยรับบทนำในภาพยนตร์กว่า 100 เรื่อง ในระยะเวลา 33 ปีที่ประกอบอาชีพนักแสดง จากนั้นได้หันมาเล่นการเมืองท้องถิ่น เป็นนายกเทศมนตรีเมืองซานฮวน ในเขตเมโทรมะนิลา เป็นเวลา 17 ปี แล้วลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสูงของฟิลิปปินส์ และดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในสมัยของฟิเดล รามอส

เอสตราดาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2540 และชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอย เนื่องจากชื่อเสียงเดิมในฐานะพระเอกภาพยนตร์ยอดนิยม เขาพ้นจากตำแหน่งหลังจากถูกยื่นถอดถอน ด้วยข้อหาคอร์รัปชัน และถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาฉ้อฉล ในปี พ.ศ. 2550 แต่ได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในสมัยของเอสตราดา

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2553 เอสตราดาได้ลงสมัครอีกครั้ง แต่พ่ายแพ้ให้กับเบนิกโน อากีโนที่ 3

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]