มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ.2566
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการเศรษฐา ทวีสิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 มีนาคม พ.ศ. 2521 (46 ปี)
จังหวัดนนทบุรี
พรรคการเมืองพรรคเพื่อไทย

มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ (เกิด 31 มีนาคม พ.ศ. 2521) เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี 2 สมัย

ประวัติ[แก้]

มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ เกิดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2521 เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายถวิล และ นางพิมพา จันทร์ประสงค์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด จากประเทศอังกฤษ และ ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขา Computer Engineering Management จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

งานการเมือง[แก้]

มานะศักดิ์ ประกอบอาชีพเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว[1] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรีครั้งแรกใน พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) ต่อมาเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้ยุบพรรคพลังประชาชนจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 เขาก็ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย [2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ซึ่งกลับมาใช้ระบบเขตเลือกตั้งแบบเขตเล็กหรือแบบเขตเดียวเบอร์เดียวอีกครั้ง มานะศักดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 3 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นางวไลพร อัจฉริยะประสิทธิ์ จากพรรคเพื่อไทย [3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เขาได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับมารดา [4] [5]

และในปี พ.ศ. 2561 หลังจากที่นางวไลพร อัจฉริยะประสิทธิ์ พร้อมบุตรชายและหลานชายย้ายไปร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ มานะศักดิ์ก็ย้ายมาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และได้กลับมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่เดิมอีกครั้ง โดยสามารถเอาชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดนนทบุรี ในปีต่อมาได้สำเร็จ [6] [7] แต่ในปี 2566 เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[8]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคพลังประชาชนพรรคภูมิใจไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดนนทบุรี. ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2553
  2. https://www.thairath.co.th/news/politic/1525463
  3. https://www.ect.go.th/nonthaburi/ewt_dl_link.php?nid=217
  4. อดีตส.ส.'พิมพา'ควงลูกชายซบเข้า'ประชาธิปัตย์'
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
  6. https://www.ch3thailand.com/เลือกตั้ง62?page=provice&id=12
  7. https://www.ect.go.th/nonthaburi/ewt_dl_link.php?nid=550
  8. ครม.เศรษฐา เห็นชอบตั้ง ขรก.การเมือง 34 ตำแหน่ง - ชัย วัชรงค์ โฆษกป้ายแดง
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔