ข้ามไปเนื้อหา

มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มังกรหยก ภาค 2 ตอน จอมยุทธอินทรี
The Return of the Condor Heroes
โปสเตอร์วีซีดีภาพยนตร์
ประเภทWuxia
เค้าโครงจากมังกรหยก 2
โดย กิมย้ง
เขียนโดยเล่าฟง
หวูซา
ชิว จื้อขิน
เหลียง จื้อหมิง
หลินหลิง
ไว กาไฟ
เหลียง วิงมุ่ย
กำกับโดยเซ-โต ลับ กวง
ฟ่าน เส้าหมิง
ตาม สุ่ยหมิง
กุก กัวเหลียง
สิ่ว หินไฟ
แสดงนำหลิว เต๋อหัว
เฉิน อวี้เหลียน
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดHo Yat Tsoi Seung Kin
(何日再相見)
ขับร้องโดย เทเรสซ่า เจิ้ง
ดนตรีแก่นเรื่องปิด1. Ching Yi Leung Sum Kin (情義兩心堅) ขับร้องโดย เทเรสซ่า เจิ้ง
2. Man Sai Kan (問世間) ขับร้องโดย เทเรสซ่า เจิ้ง
3. Lau Chyu Gam Yat Ching (留住今日情) ขับร้องโดย เทเรสซ่า เจิ้ง
4. San Tiu Tai Hap (神鵰大俠) ขับร้องโดย หลิว เต๋อหัว
ผู้ประพันธ์เพลงโจเซฟ กู่
ประเทศแหล่งกำเนิดฮ่องกง
ภาษาต้นฉบับจีน
จำนวนตอน50
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตเซียวเซิง
สถานที่ถ่ายทำฮ่องกง
ผู้ลำดับภาพชิว จื้อหลิน
หวู่ซา
กล้องMulti camera
ความยาวตอน42 นาที
บริษัทผู้ผลิตTVB
ออกอากาศ
เครือข่ายTVB Jade
ออกอากาศ31 ตุลาคม ค.ศ. 1983 (1983-10-31) –
6 มกราคม ค.ศ. 1984 (1984-01-06)

มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย (อังกฤษ: The Return of the Condor Heroes) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงเรื่องราวของวรรณกรรมชิ้นเอกของ กิมย้ง เรื่อง มังกรหยก ภาค 2 ของละครไตรภาคในเรื่อง มังกรหยก และยังมีภาคต่อตามมา คือ เรื่อง ดาบมังกรหยก ตอน เทพบุตรมังกรฟ้า, โดยภาคสองเวอร์ชันนี้เป็นงานสร้างของฮ่องกงทางช่องทีวีบี (TVB) ที่ฮิตในฮ่องกง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในจีน นำแสดงโดย หลิว เต๋อหัว และ เฉิน อวี้เหลียน ได้มีการออกอากาศทางช่อง TVB Jade ในฮ่องกง และทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 62 จุดเปิด ของยอดคนดู และเรตติ้งกำลังดู 90% (ซึ่งสามารถทำลายเรตติ้งเวอร์ชันภาคสองของยุค 70 คือ มังกรหยก ภาค 2 ฉบับปี 1976 ฉบับหลี่ทงหมิง รับบท เซี่ยวเล่งนึ้ง ลงได้สำเร็จ) นับได้ว่าเป็นมังกรหยก ของภาค2 ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในเกาะฮ่องกง ส่งให้มังกรหยกชุดนี้เป็นอันดับ 2 ของละครชุดที่มีเรตติ้งเฉลี่ยยอดผู้ชมต่อตอนสูงสุดในเกาะฮ่องกงตลอดกาล ส่วนในประเทศไทย เคยออกอากาศทางช่อง 3 และมีการออกอากาศในจีนแผ่นดินใหญ่ด้วย แต่ได้เรตติ้งไม่สูงเท่า มังกรหยก ภาค 1 (1983) ในยุคเดียวกัน[1] [2]และในจีนยังแพ้เรตติ้งของมังกรหยก ภาค เอี๊ยก๊วย 1995 ฉบับ กู่เทียนเล่อ อีกด้วย

ถึงแม้เรตติ้งจะสูงเป็นอันดับสองในเกาะฮ่องกง แต่เรตติ้งคนดูยอดรวมในระดับเอเชียและทั่วโลกที่ละครเรื่องนี้นำไปฉายกลับได้เรตติ้งยอดรวมในระดับกลาง ๆ ทำให้ไม่ติดสิบอันดับละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงสุดทั่วมุกมุมโลก[3]

เนื้อเรื่อง

[แก้]

เรื่องราวเริ่มต้นด้วยการฆ่าล้างตระกูลเล็ก โดยลี้มกโช้ว จนกระทั่งไปเจอกับเอี้ยก้วยในวัยเด็ก จนเอี้ยก้วยได้ไปเป็นศิษย์ก๊วยเจ๋งที่เกาะดอกท้อ แต่โดนกลั่นแกล้งประจำ ต่อมาก๊วยเจ๋งฝากให้เป็นศิษย์สำนักช้วนจินก่า แต่ก็โดนอาจารย์กับศิษย์ดุด่ากลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา จนได้มาพบกับยายซุนและเซียวเล่งนึ่ง ที่สำนักสุสานโบราณ เอี้ยก้วยกราบเซียวเล้งนึ่งเป็นอาจารย์ ทั้งสองได้ฟันฝ่าอุปสรรคมากมายจนสุดท้าย ทั้งสองก็ครองรักกันอย่างมีความสุข

นักแสดงนำ

[แก้]

เรตติ้งในฮ่องกง

[แก้]

ตัวแปรเรตติ้งจำนวนประชากรในเกาะฮ่องกง เมื่อปีพ.ศ. 2526 (1983) คือ 5.345 ล้านคน

มังกรหยก ภาค2 เวอร์ชันนี้ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีเรตติ้งเฉลี่ย 62 จุดเปิด หรือราว ๆ 3,207,000 คน ของยอดคนดูเฉลี่ยต่อตอน โดยมีเรตติ้งน้อยกว่า มังกรหยก ภาค1 เวอร์ชันของ หวงเย่อหัว และ องเหม่ยหลิง ที่สร้างในปีเดียวกัน ที่มีเรตติ้งเฉลี่ยที่ 65 จุดเปิดและทำเรตติ้งสูงสุดได้ถึง 99%

แต่ก็นับได้ว่าเป็นมังกรหยก ภาค2 ที่ประสบความสำเร็จมากครั้งหนึ่ง และกลายเป็นซีรัย์อันดับที่ 2 ที่มียอดผู้ชมเฉลี่ยมากที่สุดในเกาะฮ่องกง ด้วยเรตติ้งที่สูงในฮ่องกงส่งให้ หลิวเต๋อหัว และ เฉินอวี้เหลียน กลายเป็น เอี๊ยก๊วย และ เซี่ยวเหล่งนึ้ง ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในฮ่องกง

แต่ทว่าเมื่อออกฉายทั่วเอเชียและทั่วโลก ยอดรวมเรตติ้งทุกประเทศ กลับได้ไม่สูงมาก[4]

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

[แก้]

มีการเข้าใจผิดว่า มังกรหยกภาค 2 ชุดนี้ ทุบเรตติ้ง มังกรหยก ภาค 1 ในยุคเดียวกัน เพราะ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2526 ในขณะที่ละครเรื่องนี้ยังฉายไม่ถึงตอนอวสาน (อวสานวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2527 โดยปกติแล้วต้องรอให้ฉายถึงตอนจบก่อนถึงจะรวมเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนได้ และยังเหลืออีกราว ๆ 20 ตอนกว่าจะอวสาน)

ทางทีมงานได้จัดงานเลี้ยงฉลองทำลายสถิติที่โรงแรม Holiday Seaview Hotel ใน จิมซาจุ่ย โดยในงานมีโปรดิวเซอร์ เซียวเซิง และนักแสดงนำต่าง ๆ รวมถึง เฉินอวี้เหลียน และ หลิวเต๋อหัว ต่างเข้าร่วมงาน แต่นั้นคือการทำลายเรตติ้งของ มังกรหยก ภาค 2 ฉบับปี 1976 ที่มี หลอเล่อหลิน และ หลี่ทงหมิง นำแสดงต่างหาก โดยในความจริง คือ มังกรหยก ภาค 2 (1983) ทำลายเรตติ้งของ มังกรหยก ภาค 2 (1976) ซึ่งทั้ง 2 เวอร์ชันแต่คนละค่ายต่างมีผู้อำนวยการผลิตคนเดียวกัน คือ "เซียวเซิง"

การฉายในจีน

[แก้]

ละคร มังกรหยก ภาค 2 (1983) ชุดนี้ ทีวีบีนำไปออกอากาศในจีน แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่า มังกรหยก ภาค 1 (1983) [5]

และในยุคถัดมาเมื่อมีการนำ มังกรหยก ภาค 2 (1995) ฉบับ กู่เทียนเล่อ ออกอากาศในจีน กลายเป็นแชมป์เรตติ้งสูงสุดหลายสัปดาห์ในจีนของปีนั้น (เฉพาะรายสัปดาห์) และเรตติ้งได้รับความนิยมมากกว่า มังกรหยก ภาค 2 (1983) ฉบับ หลิวเต๋อหัว ทำให้ทั้ง กู่เทียนเล่อ และ หลี่ยั่วถง ผู้รับบท เอี๊ยก๊วย และ เซี่ยวเหล่งนึ้ง เวอร์ชันยุค 90s ได้รับการยกย่องในจีนว่า เป็น เอี๊ยก๊วย และ เซี่ยวเหล่งนึ้ง ฉบับฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จในจีนมากที่สุด

การฉายในเมืองไทย

[แก้]

มังกรหยก ภาค 2 หรือ ชื่อเก่า คือ มังกรหยก ภาค 4 มีการฉาย 2 ครั้งทางทีวี (หลัก) ในไทยผ่านช่อง3

1.ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2527 ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00-23.00

2 ครั้งสอง ฉายในปีพ.ศ. 2537 ครบรอบ 10 ปีความโด่งดังของละครชุดนี้ ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-18.00

ครั้งอื่น ๆ ตามช่องพิเศษต่าง ๆ เช่น เคเบิล และช่องทางยูทูป

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข้อมูลและเรตติ้งของ มังกรหยก ภาค2" (ภาษาจีน). โดย Sina. 13 กันยายน พ.ศ. 2548. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 東方日報1983年12月14日及16日,明報1983年12月14日,成報1983年12月16日,《香港電視》雜誌第842期第46頁
  3. 电影聚焦. "สิบอันดับละครของทีวีบี ที่มียอดคนดูสูงสุดทั่วเอเชีย". โดย ทีวีบีโทรทัศน์ไต้หวัน. สืบค้นเมื่อ January 3, 2022.
  4. (1992年以前%2B外购剧集) 《เรตติ้ง》จัดทำโดยทีวีบีฮ่องกง:
  5. 澎湃新闻 (2022-02-18). "ละครทีวีบี, เอทีวี ที่นำไปออกอากาศในจีน". daynews. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]