มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2538)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย
ปกวีซีดี
ประเภทบันเทิงคดีกำลังภายใน
เขียนโดยกิมย้ง (แบบดั้งเดิม)
หว่อง กัวไฟ
ชิว ชิงยุง
กำกับโดยหยวน หยิงหมิง
เล่า ชุนเอิน
ซิน หยินฟง
เล่า กัวเหอ
กง กำหง
แสดงนำกู่ เทียนเล่อ
หลี่ ยั่วถง
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดกวางตุ้ง:
San Wa Ching Wa (神話情話) ขับร้องโดย วากิน เจ้า และ ชิ หยู
แมนดาริน:
Gui Qu Lai (歸去來) ขับร้องโดย วากิน เจ้า
ผู้ประพันธ์เพลงวากิน เจ้า
ลาม ซาย
ประเทศแหล่งกำเนิดฮ่องกง
ภาษาต้นฉบับจีน
จำนวนตอน32
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตหลี่ ทิมชิง
สถานที่ถ่ายทำฮ่องกง
ความยาวตอน45 นาที
บริษัทผู้ผลิตTVB
ออกอากาศ
เครือข่ายTVB Jade
ออกอากาศ31 กรกฎาคม 1994 –
9 กันยายน 1995
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
มังกรหยก

มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย (อังกฤษ: The Condor Heroes 95) เป็นละครโทรทัศน์ที่อิงเรื่องราวมาจากวรรณกรรมชิ้นเอกของจีนเรื่อง มังกรหยก ภาค 2 ของกิมย้ง นำแสดงโดย กู่ เทียนเล่อ, หลี่ ยั่วถง ,ไป่ เปียว, เว่ย ชิวหัว ออกอากาศทางช่อง 3 แฟมิลี่ เมื่อออกอากาศในจีน มีเรตติงชนะ มังกรหยก ภาค2 ฉบับ หลิวเต๋อหัว โดยเวอร์ชันนี้ (กู่เทียนเล่อ)เป็นแชมป์เรตติงในจีนอยู่หลายสัปดาห์ ทำให้กลายเป็น มังกรหยก ภาค 2 (เอี้ยก้วย) งานสร้างของฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จในจีนมากที่สุดมาจนถึงทุกวันนี้

นักแสดง[แก้]

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

ในวัยเด็กเอี้ยก้วยไปเป็นศิษย์ก๊วยเจ๋งที่เกาะดอกท้อ แต่เอี้ยก้วยมักโดนกลั่นแกล้งประจำ ก๊วยเจ๋ง จึงได้ฝากให้เป็นศิษย์สำนักช้วนจินก่า แต่ก็โดนอาจารย์กับศิษย์ดุด่ากลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา จนได้มาพบกับยายซุนและเซียวเล่งนึ่ง ที่สำนักสุสานโบราณ เมื่อเอี้ยก้วย ได้พบเซียวเหล่งนึ่ง ที่สุสานโบราณ เอี้ยก้วยนับถือนางเป็นอาจารย์ ทว่าความสนิทสนมและความห่วงใยทำให้ทั้งคู่รักกัน ทั้งสองได้ฟันฝ่าอุปสรรคมากมายเป็นความรักที่คงมั่นไม่มีวันแปรผัน และไม่ไหวหวั่นต่อคำคัดค้านของคนรอบข้าง แต่ทั้งสองก็ต้องพรากจากกัน ก๊วยเจ๋ง และอึ้งย้ง ตกลงยกกั๊วะฟู่ ให้แก่เอี้ยก้วย แต่เอี้ยก้วยมิได้รักนางแบบคู่รักจึงไม่ยอมรับ กั๊วะฟู่เสียใจจนก่อเกิดเป็นความเจ็บแค้น พลั้งมือฟันแขนซ้ายของเอี้ยก้วยขาด แต่เขาไม่ถือสา มุ่งมั่นตามหาเซียวเหล่งนึ่ง โดยมีนางมารบูรพาน้อย กั๊วะเอี้ยง คอยช่วยเหลือ เอี้ยก้วยจะได้พบเซียวเหล่งนึ่งหรือไม่ ฟ้าดินเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดชะตาของทั้งสอง[1]

เรตติง[แก้]

ในฮ่องกง[แก้]

เวอร์ชันนี้ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในฮ่องกง แต่ไม่เท่า มังกรหยก ภาค 2 (1983) เวอร์ชัน หลิวเต๋อหัว และได้เรตติ้งดังนี้

1. เรตติงเฉลี่ย คือ 29 จุด

2. เรตติงสูงสุด คือ 31 จุด

ตอนออกอากาศครั้งแรกในฮ่องกง เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เยอะมาก ถึงแม้พระเอก (กู่เทียนเล่อ) และ นางเอก (หลี่ยั่วถง) จะได้รับคำชมว่าเป็นคู่พระ-นาง ที่หล่อสวยมากก็ตาม แต่ผู้คนส่วนใหญ่ในฮ่องกงให้ความเห็นว่า การแสดงของทั้งคู่ไม่ตราตรึงเท่าเวอร์ชันเก่าของ หลิว เต๋อหัว และ เฉิน ยฺวี่เหลียน

ในจีน[แก้]

ตรงข้ามความนิยมในฮ่องกง เพราะได้รับความนิยมในจีน ถึงแม้ในฮ่องกงจะประสบความสำเร็จน้อยกว่า เวอร์ชันเก่าของยุค 80s คือ มังกรหยก ภาค 2 ฉบับ หลิว เต๋อหัว และ เฉิน ยฺวี่เหลียน นำแสดง ก็ตาม

แต่เรตติงในจีน กลับได้รับความนิยมมากกว่าเวอร์ชัน หลิวเต๋อหัว เพราะเวอร์ชัน กู่เทียนเล่อ ได้แชมป์เรตติงสูงสุดในจีนหลายสัปดาห์ ทำให้กลายเป็นมังกรหยกภาคสอง (เวอร์ชันภาคเอี้ยก้วย) ของเกาะฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จในจีนมากที่สุด มาจนถึงปัจจุบัน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย[แก้]

สำหรับในจีนแผ่นดินใหญ่ ถึงแม้ภาคก๊วยเจ๋ง คือ มังกรหยก ภาค 1 (1994) ซึ่งนำแสดงโดยจู อิน จะไม่ประสบความสำเร็จเท่า มังกรหยก ภาค 1 (1983) ซึ่งนำแสดงโดยองเหม่ยหลิง

แต่ตรงข้ามกับภาคเอี้ยก้วย เนื่องจาก มังกรหยก ภาค 2 (1995) ซึ่งนำแสดงโดยหลี่ยั่วถง กลับเป็นที่นิยมในจีนแผ่นดินใหญ่ และสามารถประสบความสำเร็จทางด้านเรตติงในจีน มากกว่า มังกรหยก ภาค 2 (1983) เวอร์ชันเก่าของยุค 80s ได้สำเร็จ

กล่าวโดยสรุป

  • ภาคก๊วยเจ๋ง: มังกรหยก ภาค 1 (1983) มีเรตติงชนะ มังกรหยก ภาค 1 (1994)
  • ภาคเอี้ยก้วย: มังกรหยก ภาค 2 (1983) มีเรตติงแพ้ มังกรหยก ภาค 2 (1995)

ส่งผลให้ทั้ง หลี่ยั่วถง และ องเหม่ยหลิง กลายเป็น เซียวเหล่งนึ่ง และ อึ้งย้ง ฉบับฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จในจีนมากที่สุด มาจนถึงทุกวันนี้

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]