มหายุคคริปติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหายุคคริปติก (อังกฤษ: Cryptic era) เป็นคำที่ใช้อย่างไม่เป็นทางการสำหรับการวิวัฒนาการด้านธรณีในช่วงต้นสุดของโลกและดวงจันทร์ เป็นมหายุคที่เก่าที่สุด (อย่างไม่เป็นทางการ) ของบรมยุคเฮเดียน ซึ่งยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเริ่มต้นขึ้นใกล้กับประมาณ 4,533 ล้านปีก่อนเมื่อโลกและดวงจันทร์กำเนิดขึ้น ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานใดปรากฏเพื่อใช้ทำการกำหนดการเปลี่ยนผ่านจากมหายุคคริปติกไปยังมหายุคกลุ่มแอ่งซึ่งอยู่ถัดไปของดวงจันทร์ (ดูเพิ่มที่ ยุคพรีเน็กแทเรียน) แม้ว่าบางครั้งจะมีการระบุว่ามหายุคนี้สิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 4,150 ล้านปีก่อนสำหรับดาวดวงใดดวงหนึ่งหรือทั้งสองดวงก็ตาม[1] โดยมหายุคนี้หรือการแบ่งย่อยใด ๆ ของบรมยุคเฮเดียนนั้นไม่ถูกยอมรับอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมาธิการการลำดับชั้นหินสากล

ช่วงเวลานี้นั้นมีความคลุมเครือ (ตามชื่อ cryptic) เนื่องจากมีหลักฐานทางธรณีวิทยาน้อยมากที่หลงเหลือจากช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ธรณีสัณฐานและหินต่าง ๆ ส่วนใหญ่นั้นอาจอาจถูกทำลายไปหมดแล้วในช่วงการถล่มของอุกกาบาตช่วงต้น หรือโดยผลกระทบอย่างต่อเนื่องของการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค โดยการพอกพูนมวลของโลก ภายในของโลกที่แปรสภาพไปแล้ว และการหลอมละลายของพื้นผิวนั้นรวมกันอย่างแน่นในระหว่างมหายุคคริปติกนี้ โดยนอกจากนี้ยังมีเสนอสมมุติฐานการชนขนาดใหญ่จนนำไปสู่การกำเนิดของดวงจันทร์ในช่วงมหายุคนี้ด้วย ทั้งนี้แร่ที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันนั้นมาจากมหายุคคริปติก[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Harland, Walter Brian , et al. (1989) A Geologic Time Scale 1989 Cambridge University Press, Cambridge, UK, Fig. 1.7 on page 10
  2. Wilde, S. A.; Valley, J. W.; Peck, W. H.; Graham, C. M. (January 2001). "Evidence from detrital zircons for the existence of continental crust and oceans on the Earth 4.4 Gyr ago". Nature. 409 (6817): 175–178. doi:10.1038/35051550. PMID 11196637.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]