พูดคุย:อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หมวดหมู่

มีหมวด นักการเมือง อยู่แล้ว เปลี่ยนจาก นักการเมืองไทย ไปเป็น นักการเมือง นะครับ -- Markpeak

โครงสร้างของหน้า

ช่วยแก้โครงสร้างให้เป็นแบบชีวประวัติได้ไหมครับ -- --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 131.227.231.92 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 10:58, 8 มกราคม 2006
คิดว่าตอนนี้มีการแก้ไขเรียบร้อยแล้วครับ --Manop | พูดคุย 05:30, 26 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

สาเหตุการล็อก

บทความนี้ถูกล็อกชั่วคราวเนื่องจากผู้ใช้ 131.227.231.155 และ/หรือ 131.227.231.92 พยายามทำบทความให้ว่าง ระหว่างที่บทความถูกล็อกคุณสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาได้ในหน้านี้ --Pi@k 09:15, 16 มกราคม 2006 (UTC)
ปลดล็อกแล้ว --Pi@k 03:58, 19 มกราคม 2006 (UTC)

ตระกูลเวชชาชีวะ

หัวข้อย่อย ตระกูลเวชชาชีวะ สำคัญต่อชีวประวัติมากขนาดไหนครับ ถึงต้องเอามาลงไว้ในบทความ แล้วสำหรับคนอื่นๆ ที่นามสกุลเวชชาชีวะ ไม่ต้องเอาไปใส่ให้เหมือนกันหมดเหรอครับ ผมขอเสนอให้ลบหัวข้อย่อยนี้ออก ขอความเห็นก่อน --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:53, 11 มกราคม 2551 (ICT)
ผมว่าน่าจะคงไว้นะครับ ถือเป็นส่วนหนึ่งของประวัติบุคคล ที่สามารถอ้างอิงต่อยอดได้ อย่างกรณีคุณสมัคร สุนทรเวช ยังอ้างอิงไว้มากมายทั้งข้างพ่อข้างแม่ jerasak 3:26, 11 มกราคม 2551 (ICT)

การหนีทหาร + การล็อกรอบสอง

เห็นว่ามีคนไม่ประสงค์ออกนามมาเขียน เรื่อง นายอภิสิทธิ์ หนีทหาร แต่ไม่ได้อ้างอิงว่าจริงหรือไม่ แล้วก็มีผู้ไม่ประสงค์อีกท่านมาลบออก เลยอยากรู้ว่าเป็นจริงหรืออย่างไรครับ ใครพอมีข้อมูลส่วนนี้บ้างครับ --Manop | พูดคุย 05:30, 26 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

บทความนี้ถูกล็อกชั่วคราวเนื่องจากผู้ใช้ 58.10.170.183 (ที่ไม่ได้ล็อกอิน) พยายามใส่ความเห็นส่วนตัวซ้ำแล้วซ้ำอีก "ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า คนที่ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร..." และมีการย้อนกลับหลายรอบ ซึ่งระหว่างที่บทความถูกล็อก ผู้ใช้ปกติยังสามารถใช้งานได้ทั่วไป --Manop | พูดคุย 01:15, 29 พฤศจิกายน 2007 (ICT)

เมื่อล็อกไม่ให้แก้แล้ว ผมจะลำดับเหตุการณ์ให้ดูนะครับ ว่าเกิดอะไรขึ้น ด้วยหลักฐานที่อ้างอิงได้เท่านั้น

1) นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2507 เลขประจำตัวบัตรประชาชน 3- 1009-01830-69-4 ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 ต่อมาในปี 2530 นายอภิสิทธิ์ มีชื่ออยู่ในบัญชีที่พ้นจากฐานะการยกเว้นผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหาร แขวงคลองตัน เขตพระโขนง อยู่ในลำดับ ที่ 299 เลขที่ สด 43 ลำดับที่ 675

2) ในปี 2531 ตามหลักฐานของกรมการกำลังสำรองทหารบก กลับไม่มีชื่อนายอภิสิทธิ์ปรากฏในบัญชีเรียกประจำปีนี้ และเมื่อตรวจสอบรายละเอียดตามข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า ในบัญชีเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปี 2536 ปรากฏชื่อนายอภิสิทธิ์ อยู่ในบัญชีคนขาดเข้ารับการตรวจเลือก ประจำแขวงคลองตัน ในลำดับที่ 148 ลำดับที่ 417 ลำดับที่ 685และ ลำดับที่ 641 ตามลำดับ ในขณะเดียวกันกับที่ เมื่อ ปี พ.ศ.2530 นายอภิสิทธิ์ ได้รับหมายเรียก หลังจากที่ได้แสดง ตนขอลงบัญชีทหารกองเกิน (เกินกำหนด) ณ สำนักงานเขตพระโขนง เมื่อวัน ที่ 4 กรกฎาคม 2529 แต่ได้มีการขอใบแทนใบสำคัญฉบับนี้เมื่อวัน ที่ 8 เมษายน 2531 โดยนายอภิสิทธิ์ไม่ยอมเข้ารับการตรวจเลือก เกณฑ์ทหาร

3) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อย จปร. และได้มีการออกบันทึกข้อความลับ ด่วนมาก ที่ กห.0421/54 ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2542 เรื่อง การตรวจสอบเอกสารการบรรจุนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการทหารที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ที่ลงนามโดย พล.อ.ชาญ บุญประเสริฐ เสนาธิการทหารบก ทำการแทนผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ได้มีการทุจริต บกพร่องต่อหน้าที่ ในการดำเนินการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเข้ารับราชการทหารในครั้งนั้นกระทำกันอย่างเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วยนายทหารบางนาย ซึ่งได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว บางนายรับราชการนอก สังกัดกองทัพบก และบางนายเป็นนายทหารชั้นนายพล ซึ่งไม่สามารถ รับโทษทัณฑ์ทางวินัยได้ จึงปรากฏเอกสารทางราชการให้มีผู้ต้องได้รับโทษ ทัณฑ์จากการกระทำทุจริตครั้งนี้ได้เพียงผู้เดียวคือ พ.อ.หญิงสายไสว มาสมบูรณ์ ตำแหน่งประจำกำลังพลทหาร กองทัพบก ขณะปฏิบัติ หน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกกองจัดการ กรมกำลังพลทหาร กอง ทัพบก และปรากฏในเวลาต่อมาว่า ได้มีการดำเนินคดีอาญาต่อพันตรี ทองคำ เดชเร ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยสมคบกันออก เอกสารทางราชการอันเป็นเท็จเพื่อให้นายอภิสิทธิ์หลีกเลี่ยงการเข้ารับการตรวจ เลือกฯด้วยการทำหลักฐานเท็จเพื่อบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่ง เป็นบุคคลที่มีลักษณะขัดต่อหลักเกณฑ์ของกองทัพบก ที่สามารถจะบรรจุเข้ารับ ราชการได้

เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ ได้ผ่านการตรวจเลือกและไม่ มีหลักฐานทางทหารนำมาส่งมอบ ประกอบเอกสารการบรรจุเข้ารับราชการทหารเพราะ เป็นคนขาดการตรวจเลือกฯเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2530 ถ้าหากจะดำเนินการบรรจุ เข้ารับราชการต้องกระทำภายหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถูกส่งตัวดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 27 และ มาตรา 45 พร้อมกับส่งตัวเข้ากองประจำการจนครบกำหนดเสียก่อน

4) แต่ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่กำลังพลของโรงเรียนนายร้อย จปร. กลับเพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของกองทัพบกที่ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นผู้อนุมัติระเบียบดังกล่าวนี้ จากเอกสารของทางราชการกองทัพบก ปรากฏว่ากรมสารบรรณ กองทัพบก ได้ทำการทักท้วงแล้ว แต่ผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ ขณะนั้นของโรงเรียนนายร้อย จปร. กลับไม่นำพา จึงเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่กำลังพลประกอบด้วย พ.อ.สมศักดิ์ พุ่มนิคม รอง ลก.บก.ทหารสูงสุด ขณะเป็นหก.กกพ.รร.จปร. ส่วน พล.อ.เผด็จ วัฒนะภูติ ขณะเป็นรองผบ.รร.จปร. ซึ่งรับผิดชอบงานด้าน กำลังพล และพล.อ.นิยม ศันสนาคม ขณะเป็น ผบ.รร.จปร.ทั้งสองนายพลนี้ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปแล้ว จึงไม่สามารถตามไปเอาผิดทางวินัยได้ในปัจจุบัน

5) จากพฤติการณ์ตามข้อ1-4 ข้างต้นนี้ แสดงให้ เห็นว่า การขอบรรจุ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการ ในตำแหน่งรักษาราชการ อาจารย์ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อย จปร. มี วัตถุประสงค์จงใจหลีกเลี่ยงความผิดที่จะเกิดขึ้นตามกฏหมายพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 45 ซึ่งมีบทบัญญัติพอสรุปได้ว่า บุคคลใด หลีกเลี่ยง หรือขัดขืน ไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ทำการตรวจ เลือกเข้ารับราชการทหารตามหมายเรียกของอำเภอ หรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจ เลือกหรือไม่อยู่ จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จ หรือหลีก เลี่ยง หรือขัดขืนด้วยประการใดก็ดี เพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการ ทหาร ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต้องระวางโทษไม่เกิน 3 ปี

6) ดังนั้นการที่ ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เมื่อได้รับคำสั่ง บรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรในตำแหน่ง รรก.อจ.สกศ.รร.จปร. แล้วเพียง 35 วัน ก็ได้ แจ้งความจำนงว่า จะขอลาออกจากราชการ ดังนั้นโดยสามัญสำนึก จึงแปลเจตนารมณ์ไปได้ว่า ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ ไม่มีเจตนาที่ จะปฏิบัติหน้าที่ในขณะรับราชการ ดังปรากฏหลักฐานทางราชการ ว่า ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ ได้ขอลากิจไปเยี่ยมญาติที่ประเทศ อังกฤษ 2 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2531 ถึง 30 กันยายน 2531 รวม 40 วัน และได้ขอลากิจอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ วันที่ 4 ตุลาคม 2531 ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2531 รวม 67 วัน พฤติการณ์เยี่ยงนี้ แสดงให้เห็นว่า นายอภิสิทธิ์ไม่มีเจตนาที่จะ เข้ารับราชการทหารอย่างแท้จริง การสมัครเข้ารับราชการทหาร จึงเป็นเพียงการหาเหตุผลที่จะแก้ปัญหาความผิดทางอาญาจากกรณีการขาดตรวจเลือกเข้าเป็น ทหารกองประจำการเท่านั้น

7) การณีการบรรจุให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอาจารย์ประจำส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อย จปร. จึงเป็นการ บรรจุที่ขัดระเบียบของกองทัพบก ซึ่งอนุมัติโดยผู้บัญชาการทหารบก(พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก) ตามท้ายหนังสือที่ กห.0401/1916 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2528 ประกอบกับหนังสือกรมกำลังพลทหารบกที่กพ. ทบ. 015/10006 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2522 ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจน ว่า การบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการ ทหาร เป็นการบรรจุผู้ไม่มีคุณสมบัติตามระเบียบกองทัพบกกำหนด

ลองพิจารณาดูกันนะครับ

ปลดล็อกแล้วครับตอนนี้ แก้ไขได้ตามปกติครับ --Manop | พูดคุย 16:32, 2 ธันวาคม 2007 (ICT)
สรุปแล้วผมก็ไม่ค่อยเข้าใจนะครับว่า หนีทหาร/ไม่ได้หนีทหาร อ่านแล้วเหมือนกับว่า ไม่มีหลักฐานว่าหนีทหาร แต่ก็เช่นเดียวกัน ไม่มีหลักฐานว่าได้เข้ารับการคัดเลือกการเกณฑ์ทหาร ถ้าอย่างไรฝาก"ผู้รู้" แก้ไขบทความด้วยครับ เพราะตอนนี้เหมือนมีคนใช้คำพูดสวยงามมา่แก้ต่างให้หมดเลย --Manop | พูดคุย 00:00, 4 ธันวาคม 2007 (ICT)
ผมอยากรู้แค่อย่างเดียวว่าไอ้ที่ยกมาทั้งหมดเนี่ยมันสามารถตรวจสอบได้จากปุถุชนคนทั่วไปหรือเปล่าครับ ถ้าเป็นหนังสือราชการ ความลับทางราชการ หรือเรื่องส่วนตัวที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณชน คงเอามาลงวิกิพีเดียไม่ได้นะครับ มันจะเกิดความไม่น่าเชื่อถือในตัวบทความ หรือกลายเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่ไม่เคยถูกกล่าวถึงในที่อื่นมาก่อน เพราะคนที่รู้ข้อเท็จจริงก็จะมีแต่เจ้าตัว กับคนในที่เอาเรื่องนี้มาลงเท่านั้น ผมอ่านทั้งหมดดูแล้วเหมือนเป็นบทวิเคราะห์คาดคะเน มากกว่าที่จะเป็นข้อเท็จจริง อาทิ "มีวัตถุประสงค์จงใจที่จะ..." หรือ "พฤติการณ์เยี่ยงนี้ แสดงให้เห็นว่า..." --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:50, 4 ธันวาคม 2007 (ICT)
ตรวจสอบได้ครับ ข้อเท็จจริงก็มีแค่สั้นๆก็คือ 'นายอภิสิทธิ์หนีทหาร' เท่านั้นเอง อันนี้แม้แต่นายอภิสิทธิ์เองก็ไม่ได้เถียง ย้ำนะครับว่าไม่ได้เถียงเลย เพราะฉะนั้นลงในวิกิได้ครับ แต่นายอภิสิทธิ์แก้ตัวว่าเขาได้เป็นอาจารย์ในโรงเรียนทหาร ตอนนี้จึงไม่ต้องไปเกณฑ์ทหารแล้ว นั่นเป็นอีกประเด็นนึง (แล้วก็มีประเด็นตามมาด้วยว่า คนหนีทหาร ไปเป็นอาจารย์โรงเรียนเตรียมทหารได้ไง) แต่ประเด็นที่ว่านายอภิสิทธิ์หนีทหาร อันนี้ไม่มีข้อโต้แย้งครับ เพราะคนอายุ 30 กว่าแต่ไม่ได้เรียนรด. และไม่ได้จับใบดำใบแดง ก็คือหนีทหารอย่างเดียว ย้ำอีกครั้งว่านายอภิสิทธิ์เองก็ไม่ได้เถียงตรงนี้ จึงสรุปได้ว่า 'นายอภิสิทธิ์หนีทหารจริง' ครับ --อภิสิทธิ์ ชินวัตร 18:39, 7 มกราคม 2551 (ICT)
มาอภิปรายกันก่อน อย่ารีบร้อนลบทิ้งหรือใช้การคาดคะเนในบทความ ให้อภิปรายจนกว่าจะได้ข้อสรุป หรือมีหลักฐานอ้างอิงที่แน่ชัด ข้อมูลบางส่วนจากทางด้านบน ก็ยังมีส่วนหนึ่งที่อ่านแล้วไม่ได้เป็นการให้ข้อมูลอย่างชัดเจน ซึ่งผมไม่ทราบว่าเจตนาปิดบัง หรือว่าไม่มีข้อมูล หรือเป็นการกล่าวหา หรือทั้งหมดรวมกัน ก็ยังไม่สามารถทราบได้ ผมสะกิดใจหน่อยหนึ่งว่า ทำไมสามารถสรรหาเอกสารทางราชการมาได้เยอะนัก ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นล้วนเป็นความลับทางราชการ ชาวบ้านทั่วไปไม่สามารถหาอ่านตามร้านหนังสือทั่วไปแน่ แต่ถ้ามีระบุไว้ในสิ่งตีพิมพ์อย่างอื่น ก็ให้อ้างอิงเป็นจุดๆ ไปครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 18:53, 7 มกราคม 2551 (ICT)
สงสัยจะไม่เข้าใจกัน เรื่องนี้ต้องแยกเป็น 2 ประเด็นคือ 1. เรื่องนายอภิสิทธิ์หนีทหาร และ 2. เรื่องคนหนีทหารได้บรรจุเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย สำหรับเรื่องแรกนั้นสรุปได้ทันทีว่า นายอภิสิทธิ์หนีทหารจริง เพราะไม่เคยเข้ารับการตรวจเรียก ไม่เคยจับใบดำใบแดง และไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ ตรงนี้สามารถใส่ในวิกิได้เพราะเป็น Fact ทั่วไปที่ใครๆก็ทราบ ไม่ต้องสรรหาเอกสารทางราชการใดๆมาชี้แจงทั้งสิ้นเพราะเป็นกฎหมายที่ทุกคนทราบ แล้วแม้แต่เจ้าตัวก็ไม่เคยโต้แย้งในจุดนี้ ส่วนเรื่องที่ 2. เรื่องที่นายอภิสิทธิ์ใช้เส้นสายเข้าไปเป็นอาจารย์รร.นายร้อยทั้งๆที่มีคดีหนีทหารติดตัว แล้วก็มีเอกสารลับเยอะแยะ (เปิดเผยโดยเสธ.แดง) อันนี้อาจจะยังไม่ต้องเอาลงก็ได้เพราะหลักฐานยังไม่ชัดแจ้ง --อภิสิทธิ์ ชินวัตร 07:57, 9 มกราคม 2551 (ICT)
ผมได้ปรับปรุงบางส่วนที่แฟนๆประชาธิปัตย์ "กลับดำเป็นขาว" ตามสไตล์สาวกปชป. แล้วนะครับ อาทิเรื่องนายอภิสิทธิ์เรียกร้องขอ ม.7 แต่กลับไม่กล้ารับผิดชอบลงนาม เรื่องไม่ดีแท้ๆ ดันกลับดำเป็นขาวเล่นแร่แปรธาตุเปลี่ยนเรื่องเป็นว่า "มีคนสับสนจำผิดว่านายอภิสิทธิ์ลงนามด้วย" ซึ่งนั่นไม่ใช่ประเด็นเลย เขาด่าเรื่องนายอภิสิทธิ์ไปเรียกร้อง (ไม่ได้สนใจเรื่องลงนาม)--อภิสิทธิ์ ชินวัตร 08:23, 9 มกราคม 2551 (ICT)
ส่วนเรื่องหนีทหาร ขอร้องว่าอย่ามาลบอีก ความจริงหนีกันได้ที่ไหน กฎหมายไทยเรื่องการเกณฑ์ทหารทุกคนก็เรียนมา เป็นหนึ่งในวิชาบังคับสมัยมัธยมศึกษา ใครมาลบทิ้งก็เท่ากับประจานตัวเองว่าเรียนไม่จบมัธยมนะ (สงสัยแฟนๆอภิสิทธิ์ไม่ค่อยเรียนหนังสือกัน ฮา) --อภิสิทธิ์ ชินวัตร 08:23, 9 มกราคม 2551 (ICT)
ผมยอมรับประเด็นที่หนึ่งครับ แต่คุณได้บอกไว้ว่าใครๆ ก็รู้ "ใครๆ" นี่หมายถึงเฉพาะคนในประเทศไทยหรือครับ ผมไม่เห็นรู้มาก่อนเลยว่าเขาหนีทหารหรือไม่ แล้วชาวต่างชาติจะรู้ได้อย่างไร ถ้ามีแหล่งข้อมูลอื่นระบุไว้ว่าเขาหนีทหารจริง ให้ใส่ไว้ด้วยครับ การพิสูจน์ยืนยันได้ในนโยบายวิกิพีเดีย คือการยืนยันว่ามีอยู่จริง ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นจริงครับ กล่าวคือ การกล่าวโจมตีเรื่องการหนีทหารนั้นมีอยู่จริง ได้อ้างอิงโดยข่าวสั้นในบทความแล้ว แต่อย่าเหมาเอาว่าเขาหนีทหารจริง จนกว่าจะได้หลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้โดยสาธารณชน (เน้นย้ำว่าโดยสาธารณชน) ผมอยากขอแหล่งอ้างอิงมากกว่านี้ (ถ้าเป็นพวกชีวประวัติจะดีมาก ไม่ใช่ข่าวสั้น) ถึงแม้จะเป็นข้อเท็จจริงก็ตาม --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 09:43, 9 มกราคม 2551 (ICT)

ออกตาครับ ขอถามเรื่องอภิสิทธิ์หน่อยว่าจะทำยังไงดี ผมคงข้อความที่ไทยรักไทยอ้างว่าคุณอภิสิทธิ์หนีทหารไว้ แต่ผมลบข้อความที่เขียนว่า "จึงเป็นที่น่าประหลาดใจว่าทำไมนายอภิสิทธิ์..." เพราะเป็นการใส่ความคิดเห็นส่วนตัว และออกแนวไม่เป็นกลาง ส่วนเรื่องปัญหาผู้ใช้ตอนนี้ผมอยากยกเข้าสภากาแฟจังเลย... เค้าแก้ได้อย่างไรกัน อ้างอิงไม่มี ถ้าเกิดว่ามีอ้างอิง... ผมจะขอชื่อ คนเขียน สำนักพิมพ์ ปีและเดือนที่พิมพ์ ISBN จำนวนหน้า พิมพ์ครั้งที่ ฯลฯ ไปให้ละเอียดเลยจนกว่าจะหาเจอแล้วจะยอมรับข้อมูล...ดีไหมครับ :P --Pพูดคุย 16:17, 9 มกราคม 2551 (ICT)

การหาที่อ้างอิงไม่ได้ ไม่ใช่ประเด็นครับ การอ้างอิงสิ่งพิมพ์เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่จะให้สามารถพิสูจน์ได้ (ดังเช่นการไปดูภาพยนตร์จริงก็เป็นการพิสูจน์ยืนยันต่อเนื้อเรื่องย่อ) แต่ปัญหาอยู่ที่ เรื่องดังกล่าวพิสูจน์ยืนยันไม่ได้ แม้จะมีเอกสารอ้างอิงเป็นหนังสือราชการซึ่งเป็นความลับ ประชาชนทั่วไปจึงไม่สามารถเอาเอกสารเหล่านั้นมาดูด้วยตาของตัวเอง แต่ใช้ความรู้วิเคราะห์คาดคะเนกันเอาเอง ดังนั้นตราบใดที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ ก็ต้องเก็บไว้ในหน้าอภิปราย เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่เป็นกลางในบทความ จนกว่าจะมีสิ่งอื่นใดที่สามารถตรวจสอบได้ คุณทำถูกแล้วที่เอาออกครับ
เรื่องข้อความสวยหรู ผมไม่อยากให้ทุกท่านใช้ถ้อยคำประเภทต่อต้านอย่างชัดเจน หรือสนับสนุนอย่างชัดเจน ช่วยใช้คำที่เป็นกลางๆ ด้วยครับ สำหรับคุณที่ชื่อและนามสกุลแปลกข้างบน กรุณาเข้าใจด้วยว่า การลบเนื้อหาออกไม่ได้หมายความว่าจงใจจะปกปิดนะครับ แต่เพื่อรักษาความเป็นกลางตามนโยบายเท่านั้น แต่หากคุณมีจุดประสงค์หลักคือต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของคุณอภิสิทธิ์ตั้งแต่แรก ผมก็คงไม่พูดอะไรมากไปกว่านี้ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:38, 9 มกราคม 2551 (ICT)

ผมขอพูดว่า ผมไม่ได้กลับดำเป็นขาว อย่างที่ผู้ใช้ชื่อแปลก ๆ กล่าว เนื่องจากว่ามีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่หลังจากที่คุณมาแก้ไข อ้างอิงก็ไม่มี เป็นกลางก็หาไม่ และมีการใส่ความคิดส่วนตัว ดังนั้นผมจึงย้อนสิ่งที่คุณแก้ไข บางอันมีอ้างอิงอยู่ทนโท่แต่กลับไปลบ ขอบอกว่าหากคุณมีเจตนาไม่ชอบและก่อกวนขอให้หยุดเถิด ปิดบังไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร ถึงคนอื่นไม่รู้แต่ตนเองก็รู้อยู่แก่ใจ --Pพูดคุย 18:08, 9 มกราคม 2551 (ICT)

ผมก็บอกอยู่ว่าไม่ได้อ้างอิงจากข่าวการโจมตีว่าหนีทหาร แหกขี้ตาอ่านหน่อยสิคุณ (แต่ที่โคตรตลกก็คือ ทีคำแก้ตัวให้นายอภิสิทธิ์ ดันอ้างอ้างจากหนังสือชีวประวัติที่นายอภิสิทธิ์เขียนเอง โคตรอุบาทก์) จากคำพูดของคุณ แต่อย่าเหมาเอาว่าเขาหนีทหารจริง จนกว่าจะได้หลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้โดยสาธารณชน (เน้นย้ำว่าโดยสาธารณชน) ผมมีคำถามดังนี้
1. พรบ.การเกณฑ์ทหาร อันนี้ข้อมูลสาธารณะพอหรือไม่?
2. พรบ. กล่าวไว้ว่า ชายไทยที่อายุเท่านี้ๆ ไม่เป็นผู้พิการ ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ ครบกำหนดผ่อนผัน ฯลฯ ... ต้องเกณฑ์ทหาร อันนี้ก็ข้อมูลโคตรจะสาธารณะเลย ใช่หรือไม่?
3. แต่นายอภิสิทธิ์เลยกำหนดผ่อนผันแล้วแต่ยังไม่ไปเกณฑ์ อันนี้ก็ข้อมูลสาธารณะอีก ใช่หรือไม่? (อันที่จริง ถ้านายอภิสิทธิ์เกณฑ์ไปแล้วก็คงมาบอกว่าเกณฑ์ไปแล้วตั้งแต่ต้น เรื่องก็จบ ไม่ต้องแก้ตัวงูๆปลาๆแบบนี้หรอก)
4. จากข้อ 3. ปุถุชนที่ไอคิวเกินลิงก็น่าจะทราบว่ากรณีนี้ นายอภิสิทธิ์หนีทหาร ใช่หรือไม่?
แล้วลบทำไม?
ปล. คุณ Passawuth ใส่ข้อความชมนายอภิสิทธิ์ โดยอ้างอิงถึงหนังสือที่นายอภิสิทธิ์เขียนเอง คุณว่าอย่างงี้เป็นกลางหรือไม่? คอร์สปกติที่เขาเรียนกัน 3 ปี ก็เอามาเขียนโม้โอ้อวดให้เข้าใจผิดนึกว่านายอภิสิทธิ์เป็นอัจฉริยะจบก่อนคนอื่น ตลกบริโภคหรือไง--อภิสิทธิ์ ชินวัตร 01:24, 10 มกราคม 2551 (ICT)

คุณบอกอยู่ว่าไม่ได้อ้างอิงจากข่าวการโจมตีว่าหนีทหาร ก็ใช่ครับ แต่มันมีอยู่ในบทความอยู่แล้วที่เขียนโดยคนอื่นมาก่อนแล้ว ผมแค่ยกขึ้นมาประกอบ (เกี่ยวกับผมหรือเปล่า?)

คำถามของคุณ ข้อ 1 และ 2 เป็นสาธารณะครับ แต่สิ่งที่ผมสงสัยคือ ข้อ 3 ตรงนี้แหละคือสิ่งที่สำคัญที่สุด "นายอภิสิทธิ์เลยกำหนดผ่อนผันแล้วแต่ยังไม่ไปเกณฑ์" ประโยคนี้ผมจะสามารถหาอ่านได้ที่ไหน มีที่อื่นใดได้กล่าวไว้แล้วบ้าง และเชื่อถือได้ คุณมีให้ผมดูไหมครับ ที่ไม่ใช่หนังสือราชการหรือหนังสือส่วนตัว แต่เอาชีวประวัติที่เขียนโดยคนอื่น หรือบทสัมภาษณ์ ฯลฯ (ไม่ต้องเหมือนเป๊ะหรอก) จึงจะเป็นข้อมูลสาธารณะจริงในระดับหนึ่ง รบกวนช่วยหามาให้หน่อย ถ้าหามาได้ ผมก็จะยอมรับข้อ 4 อย่างไม่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม (คุณวุฒิก็ควรจะยอมรับเช่นกัน) เอารายละเอียดลงวิกิพีเดียได้เลย และจะได้ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงอีกแหล่งหนึ่ง (หรือหลายแหล่ง) ลงในบทความด้วย นอกเหนือจากข่าวสั้น

ยกตัวอย่าง ถ้ามีคนคนหนึ่งบอกว่า "ผมหนีทหาร" คุณจะรู้ว่าประโยคนี้มันมีจริงก็ต่อเมื่อมีแหล่งข้อมูลอื่นที่เป็นสาธารณะบอกว่า ผมหนีทหาร ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่ามีการกล่าวจริง พรบ.ก็สาธารณะ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผมหนีทหารจะเป็นความจริง ซึ่งข้อเท็จจริงผมเรียน ร.ด. แต่ไม่เคยเปิดเผยที่ใด เป็นต้น หรือคอลัมน์ซุบซิบดาราตามหนังสือพิมพ์ ที่บอกว่าคนนี้เป็นแฟนคนนั้น คนนั้นเลิกกับคนนี้ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีการกล่าวจริงในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าดาราจะเป็นแฟนหรือเลิกกันจริง ก็กรณีเดียวกันเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละครับ

ป.ล. ผมชอบแก้ข้อความพูดคุยหลายครั้ง คงไม่รำคาญนะ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 11:56, 10 มกราคม 2551 (ICT)

3. แต่นายอภิสิทธิ์เลยกำหนดผ่อนผันแล้วแต่ยังไม่ไปเกณฑ์ อันนี้ก็ข้อมูลสาธารณะอีก ใช่หรือไม่? (อันที่จริง ถ้านายอภิสิทธิ์เกณฑ์ไปแล้วก็คงมาบอกว่าเกณฑ์ไปแล้วตั้งแต่ต้น เรื่องก็จบ ไม่ต้องแก้ตัวงูๆปลาๆแบบนี้หรอก) --> อุตส่าห์ใส่วงเล็บไว้ให้แล้ว เพราะคิดว่าคงจะมามุขนี้ แล้วก็มาจริงๆ (มีการกระแนะกระแหนว่าอ้างอิงคอลัมน์ซุบซิบดารา แต่ที่อ้างอิงจากหนังสืออภิสิทธิ์ชมตัวเองเนี่ยไม่ยิ่งแย่กว่าเรอะ?) --อภิสิทธิ์ ชินวัตร 18:43, 10 มกราคม 2551 (ICT)
ก็มุขนี้แหละครับ จะให้มามุขไหน เพราะมันเป็นจุดยืนของผม เป็นนโยบายของวิกิพีเดีย WP:V (ขนาดยกตัวอย่างประกอบด้วยแล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจอีกคงเกินความสามารถ) เรื่องการอ้างอิงไม่ได้ห้ามว่าอ้างอิงหนังสือที่ตัวเองเขียนไม่ได้ แต่คุณก็สามารถปรับแต่งข้อความใหม่ได้ไม่ให้ชมตัวเอง WP:REF (ซึ่งผมและคุณมานพได้แก้ไขไปแล้ว) ผมอยากให้บทความนี้เป็นกลางเท่านั้น WP:NPOV (การเขียนที่ปราศจากอคติ) กรุณาเชื่อว่าทุกคนต้องการปรับปรุงบทความให้ดีขึ้น ไม่ได้ทำให้เลวลง และกรุณาอย่าว่าร้ายผู้อื่น WP:EQ (ถ้าผมไม่แคร์ผมคงไม่มาพิมพ์ให้เมื่อย) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 21:47, 10 มกราคม 2551 (ICT)
ปล. ผมไม่ได้แก้ต่างให้คุณวุฒิ และผมก็ไม่ได้เป็นผู้ชื่นชอบคุณอภิสิทธิ์เป็นพิเศษ

ล็อกอีกครั้งนะครับ เพราะส่อแววว่าเริ่มจะมีการโต้ตอบกันในบทความแล้ว ดู [2]

-- ผู้ใช้ Tmd | พูดคุย 02:12, 10 มกราคม 2551 (ICT)

ปรับปรุงเนื้อหา

ขอหน่อยนึงนะครับ ย่อหน้าที่กล่าวถึงเรื่องการรับราชการทหาร มีหัวข้อย่อยรองรับในเนื้อหาแล้ว ไม่ต้องใส่ซ้ำในย่อหน้าแรก ผมจึงได้ลบตรงนั้นออกไป เรื่องการศึกษา เขาเรียนมา 3 ปีตามหลักสูตร ก็ใส่ 3 ปีตามหลักสูตร ไม่ต้องเอาไปเปรียบเทียบกับอะไรครับ จะไม่เป็นกลางเปล่าๆ นอกนั้นก็เพิ่มการต้องการอ้างอิงเฉพาะจุดเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ดังนั้นอย่าเพิ่งย้อนโดยไม่ดูอะไร

ตอนนี้ผมได้รวมชีวิตครอบครัวลงไปในประวัติแล้วครับ เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน และปรับแต่งข้อความใหม่ในบางส่วน ไม่ให้เกิดความเยิ่นเย้อในภาษา ส่วนรายละเอียดที่หายไป อาทิความชื่นชอบส่วนตัว หรือความรู้สึกนึกคิดต่อเหตุการณ์อย่างนั้นอย่างนี้ ไม่เป็นสารานุกรมครับ ตอนนี้เอาป้ายไม่เป็นกลางออกได้ยัง? ลองอ่านดูนะ

ผมได้แยกหนังสือที่คนอื่นเขียนถึง ออกจากผลงานหนังสือของอภิสิทธิ์ และเอาไปไว้ที่แหล่งข้อมูลอื่นแทน (คาดว่าคนที่ให้ข้อมูลคงสับสน นึกว่าเขาเขียนเอง) พร้อมทั้งใส่ ISBN ซึ่งสามารถหาได้จาก search engine (ผมอาจพบข้อมูลที่ต้องการได้จากหนังสือเหล่านี้ โดยไม่ต้องรอใครช่วยหา ต้องไปหาอ่านก่อน) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 22:17, 10 มกราคม 2551 (ICT)

ผมได้หาข้อมูลเพิ่มมาเล็กน้อยเรื่องการรับราชการทหาร แต่ผมไม่แน่ใจว่า คนที่เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกฉบับนั้นคือคุณวีระจริงหรือเปล่า เพราะผมค้นมาได้แค่ว่า (1) "คุณวีระจะแฉ" (2) "มีการแจกจ่ายข้อมูลให้กับสื่อมวลชน" (3) "มีการส่งจดหมายเปิดผนึกไปยังพรรคประชาธิปัตย์" ผมจึงเข้าใจว่าคุณวีระเป็นคนแจกจดหมายเปิดผนึก ใช่หรือไม่ ช่วยตรวจสอบด้วย (รบกวนอย่าเอาแหล่งอ้างอิงออก เพราะผมหามาลำบาก) --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 00:47, 11 มกราคม 2551 (ICT)
ปล. กระทู้ที่เก็บอย่างถาวร น่าจะใช้อ้างอิงได้ เพราะเป็นข้อมูลนิ่ง (static)
ผมได้ย้ายข้อมูลฎีกากับแถลงการณ์ ไปไว้ที่วิกิซอร์สทั้งหมดแล้วครับ เพราะไม่เป็นสารานุกรม แต่เป็นเอกสารที่ต้องการคงไว้ซึ่งต้นฉบับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:25, 11 มกราคม 2551 (ICT)


ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการรับราชการทหาร

การให้ข่าวเรื่องการรับราชการทหาร คุณวีระมาทีหลังครับ ความจริงต้นเรื่องมันย้อนไปได้ถึงปี 2542 สมัยรัฐบาลชวน 1 ครับ สาเหตุเริ่มมาจากลูกๆ ของ คุณเฉลิม อยู่บำรุง รองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านตอนนั้น ลูกๆ แกไปใช้เอกสาร สด.43 ปลอม สมัครเข้าเป็นนายตำรวจ แล้วถูกจับได้ ทำให้เกิดการตอบโต้ทางการเมือง โดยขุดคุ้ยเรื่องการรับราชการทหารของ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลหลายคน ทำนองว่า "ข้าผิดเอ็งก็เลว" ซึ่งหนึ่งในนั้นที่โดนก็คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รมต.สำนักนายกฯ โดยในตอนนั้นตัวตั้งตัวตีของฝ่ายค้านคือ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ ที่ถึงขนาดถูกนายอภิสิทธิ์ฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท และในที่สุดฝ่าย นพ.เปรมศักดิ์ ต้องลงหนังสือพิมพ์ขอขมา
ถ้าอยากอ่านข่าวเก่าๆ ในสมัยนั้น ผมรวบรวมเอาไว้ที่ลิงค์นี้นะครับ http://forum.serithai.net/index.php?topic=18240.0 คิดว่ามีข้อมูลให้ศึกษามากพอสมควร
จากนั้นเรื่องก็เงียบไปจนเมื่อ ปี 2550 มีการขุดคุ้ยขึ้นมาใหม่อีกโดยกลุ่ม นปก. ตัวตั้งตัวตีก็กลุ่มเดิมครับคืออดีตสมาชิกพรรคความหวังใหม่ ที่ยุบไปรวมกับพรรคไทยรักไทย ตอนนั้นจุดประสงค์หลักๆ พุ่งเป้าไปที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในประเด็นที่ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ ตั้งแต่สมัยปี 2542 ที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เป็น ผบ.ทบ. แต่ปลุกกระแสไม่ขึ้นเพราะแค่เริ่มต้นก็พบว่าคดีหมดอายุความ จนกระทั่งมาถึงปลายปี 2550 ใกล้เลือกตั้งถึงมีการขุดขึ้นมาโจมตี นายอภิสิทธิ์ อีกรอบ จุดประสงค์หลักรอบนี้ ก็น่าจะเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือ ของนายอภิสิทธิ์ ที่ได้รับการคาดหมายเป็นหนึ่งใน ว่าที่นายกฯ คนใหม่
เหตุการณ์สมัยที่นายอภิสิทธิ์จะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารมันยืดยาว ถ้าจะลงในวิกิพีเดียก็จะไม่ใช่สารานุกรม เราก็คุยที่นี่แล้วกันนะครับ
ประเด็นที่พยายามตั้งกันขึ้นมาก็คือ นายอภิสิทธิ์ไม่ปฏิเสธแสดงว่ายอมรับ ทั้งที่โดยสภาพความจริงนายอภิสิทธิ์ไม่สะดวกจะตอบโต้เรื่องนี้ระหว่างหาเสียง เหมือนกับกรณีการโจมตี พล.อ.เปรม ที่ท่านก็ไม่สะดวกจะตอบโต้เหมือนกัน ในขณะที่เอกสารจากทาง นปก. ก็เป็นเอกสารที่ นปก. อ้างเอาเอง ไม่มีหน่วยงานราชการที่ไหน ยืนยันความถูกต้อง อาจถูกแก้ไขตรงไหนก็ได้ เหมือนกรณีเอกสารลับ คมช. และไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ ที่ใครจะสามารถตรวจสอบ เรื่องก็เลยยันกันอยู่แค่ที่ นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่าได้สมัครเข้ารับราชการทหาร จนได้รับยศเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรมาแล้ว
ส่วนถ้าจะบอกว่า "หนีทหาร" คำนี้ถ้าใช้ให้ตรงความหมายจะใช้กับกรณีเป็นทหารเกณฑ์อยู่แล้วหนีราชการครับ ส่วนกรณีไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือก จะเรียกว่า "ขาดการตรวจเลือก" ซึ่งจะถูกนำชื่อไปลงใน "บัญชีคนที่ขาดการตรวจเลือก" แล้วรอให้มารับการตรวจเลือกในปีต่อไป สถานะระหว่างนี้จะยังเป็น "ทหารกองเกิน" เมื่อมารับการตรวจเลือกถ้าต้องเป็นทหารก็จะบรรจุเป็น "ทหารกองประจำการ" โดยจะรอให้มาตรวจเลือกไปจนอายุเกิน 29 ปี ก็จะจำหน่ายออกเป็น "ทหารกองหนุน" คนที่ไม่มารับการตรวจเลือกถ้าจะเรียกให้ถูกน่าจะใช้ว่า "หนีเกณฑ์ทหาร"
มีอีกเรื่องที่ควรทราบคือ ขณะนั้นนายอภิสิทธิ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ถ้าจะต้องเป็นทหารก็เป็นเพียง 6 เดือน ไม่ใช่ 2 ปี ตามเกณฑ์ทั่วไป
ที่นี้่กรณีของนายอภิสิทธิ์ มีกำหนดให้ไปรับการตรวจเลือกในเดือนเมษายน 2530 แต่เชื่อว่ามีหลักฐานบันทึกว่า "ขาดการตรวจเลือก" ซึ่งแนวทางปกติก็คือ จะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกใหม่ในเดือนเมษายนของปี 2531 แต่ 4 เดือนถัดมาคือเดือนสิงหาคม 2530 นายอภิสิทธิ์ได้ไปสมัครเข้าเป็น ข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร (ตามกฎหมายนับเป็น ข้าราชการทหาร แม้จะมีคำว่า "พลเรือน") ตำแหน่งอาจารย์ โรงเรียนนายร้อย จปร. ได้ผ่านหลักสูตรการฝึกทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ส่วนที่สงสัยกันว่าสมัครเข้าไปได้อย่างไร จากที่ผมประมวลข่าวดูคิดว่านายอภิสิทธิ์ สมัครโดยขาดส่งเอกสาร สด.9 ซึ่งมีฐานความผิดแค่โทษปรับครับ และต่อมาได้ไปขอออกเอกสาร สด.9 ฉบับใหม่มายื่นในการขอติดยศร้อยตรี โดยระหว่างการเป็นอาจารย์ ผมพบว่ามีกฎหมายยกเว้น ให้ไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือก แต่ผมไม่ทราบว่ามีการขอยกเว้นหรือเปล่า จนมาถึงปี 2531 นายอภิสิทธิ์ก็ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี แล้วลาออกจากราชการไปเรียนต่อ ป.โท ที่ประเทศอังกฤษ กลับมาเป็นอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์ ตามประวัติที่เรารู้กันครับ
สรุปว่านายอภิสิทธิ์น่าจะ "หนีเกณฑ์ทหาร" แต่ก็ไปสมัครเข้าเป็นทหารในอีก 4 เดือนต่อมา ได้บรรจุเข้าเป็น "ทหารกองประจำการ" ผ่านหลักสูตรฝึกทหาร และรับราชการทหารมาแล้วจริงๆ นานกว่า 1 ปี ไม่ใช่หนีหายไปเฉยๆ อย่างที่เขาหนีกันทั่วไป การที่นายอภิสิทธิ์ลาออกจากราชการทหาร ผมเข้าใจว่าตอนนี้เขามีสถานะเป็น "ทหารกองหนุน" และอีกประมาณ 2 ปีก็จะมีอายุเกิน 45 ปี พ้นราชการทหารโดยสมบูรณ์ครับ
ส่วนที่ผ่านมาจะมีความผิดหรือไม่อย่างไร ที่แน่นอนคือขาดอายุความหมดแล้ว และที่ผ่านมาทางกองทัพไม่เคยติดใจดำเนินคดีใดๆ ทั้งสิ้น ผู้บริหารกองทัพยังรับรองสถานะ นายทหารชั้นสัญญาบัตรของนายอภิสิทธิ์ด้วยซ้ำ มีแต่ฝ่ายการเมืองที่เคลื่อนไหวโจมตีในเรื่องนี้มาโดยตลอด แต่ไม่เคยหาเหตุว่า นายอภิสิทธิ์ทุจริตคอร์รัปชั่น ในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้สักเรื่องเดียว
อธิบายมายืดยาวหวังว่าคงพอจะเป็นประโยชน์ ให้เข้าใจเรื่องราวได้ชัดเจนขึ้นนะครับ ที่สำคัญผมอยากทบทวนประเด็นว่า เรื่องนี้เริ่มต้นมาจาก การตอบโต้ทางการเมือง ที่ลูกคุณเฉลิม ใช้เอกสาร สด.43 ปลอม สมัครเป็นนายตำรวจ แล้วถูกจับได้ ไม่ได้เกิดจากความบริสุทธิ์ใจ ในการทำงานตรวจสอบ เพราะแม้แต่ในตอนเริ่มต้นเมื่อปี 2542 คดีก็ขาดอายุความไปหมดแล้วครับ กองทัพไม่เคยติดใจใดๆ มีแต่ฝ่ายการเมืองที่เคลื่อนไหวมาโดยตลอด จะดำเนินคดีอะไรก็ไ่ม่ได้ มุ่งแต่ทำลายความน่าเชื่อถือทางการเมืองกันเท่านั้น jerasak 3:26, 11 มกราคม 2551 (ICT)
ถ้ามีความเห็นเพิ่มเติม ฝากช่วยสรุปใส่ลงในตัวบทความได้ครับ ตัวเนื้อหาบทความจะได้มีการพัฒนาเป็นระยะ --Manop | พูดคุย 20:57, 17 ธันวาคม 2551 (ICT)
หลักฐานการหนีทหาร ของ หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ "อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ" นี่เป็นหลักฐานที่มีการเปิดเผยขึ้นมาว่านายอภิสิทธิ์หนีทหารครับ แต่ว่าในตอนอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา "นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวหานายอภิสิทธิ์ว่าไม่ได้รับการเกณฑ์ทหาร แต่กลับสามารถสมัครรับราชการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ โดยอาจมีการสร้างหลักฐานเท็จขึ้นว่าได้เป็นทหารกองเกิน ต่อมานายอภิสิทธิ์ได้ชี้แจงในประเด็นนี้ว่าตนได้รับการผ่อนผันตามระเบียบ อีกทั้งยังได้แสดงหลักฐานเป็นใบ สด.9 ที่ระบุวันที่บรรจุเป็นทหารกองเกิน" ก็เลยไม่ทราบว่าหนีทหารหรือไม่ เพราะมีหลักฐานกันทั้ง 2 ฝ่าย --KungDekZa 11:59, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)

หนังสือ

ผลงานหนังสือที่แต่งโดยท่านอภิสิทธิ์ ยังมีอีกไหมครับ --Octra Dagostino 18:56, 23 ธันวาคม 2551 (ICT)

ตารางคะแนน

ตารางคะแนนการลงมติในหัวข้อ "การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี" ผมว่าน่าจะใส่เป็นพรรคพลังประชาชน (เดิม) นะครับ เพราะกลุ่มเพื่อนเนวินและพรรคกิจสังคมที่ย้ายไปจากพรรคพลังประชาชนไม่ได้สังกัดพรรคเพื่อไทย เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าจะใส่เป็นพรรคเพื่อไทยไม่ได้ครับ --KungDekZa 18:49, 26 ธันวาคม 2551 (ICT)

รูปดีกว่านี้ไม่มีหรอครับ

-- 00:54, 16 เมษายน 2552 75.27.235.215

  • ขอบคุณสำหรับความเห็น คำแนะนำ และคำวิจารณ์ในบทความ เมื่อคุณเห็นว่าบทความไหนควรปรับปรุงอย่าลังเลที่จะแก้ไข วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ในลักษณะวิกิที่ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้ โดยเลือกที่ แก้ไข ในส่วนบนของแต่ละบทความ ซึ่งการแก้ไขนั้นไม่จำเป็นจะต้องล็อกอิน (แม้ว่าจะมีข้อดีหลายอย่างถ้าล็อกอินก็ตาม) ทางวิกิพีเดียสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแก้ไขบทความ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันลงมือพัฒนาบทความให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไร สามารถดูได้ที่การเริ่มต้นในวิกิพีเดีย และคำสั่งพื้นฐานในการใช้งาน และถ้าต้องการทดสอบสามารถลองได้ที่ทดลองเขียน ปล. วิกิพีเดียไม่มีนโยบายในการใช้ภาพที่มีการสงวนลิขสิทธิ์ครับ --lovekrittaya gwperi 06:58, 16 เมษายน 2552 (ICT)

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

หัวข้อนี้ผมจำเป็นต้องเอาลงไว้ เพื่อเป็นการสรุปการทำงานของนายกรัฐมนตรี ซึ่งบทความอื่นๆเขาก็ทำกันอย่างนี้ ผมอยากถามว่าคุณมีปัญหาอะไรถึงย้ายบทความนี้ออกไป ถ้ามีปัญหาอะไรกรุณาถามผมก่อนได้มั๊ยในฐานะที่ผมเป็นคนเขียน จู่ๆเล่นเอาที่ผมเขียนออกเฉยเลย ยังไงก็ฝากพิจารณาด้วย ขอบคุณครับ --Pitt 17:16, 18 เมษายน 2552 (ICT)

กรุณาแยกการทำงานของรัฐบาลไปไว้ที่คณะรัฐมนตรีครับ เพราะรัฐบาลไม่ได้มีนายกเป็นอยู่คนเดียว บทความเกี่ยวกับบุคคลควรจะเป็นชีวประวัติ ไม่ใช่ที่แถลงผลงานของรัฐบาล ผมก็ทำลิงก์บทความหลักที่ย้ายไปเอาไว้แล้ว คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย ไม่ได้ลบออกไปเฉย ๆ เสียหน่อย --Octra Dagostino 17:33, 18 เมษายน 2552 (ICT)

ผมเข้าใจครับ คือแบบนี้ที่เขียนไว้ในหน้าต่างของอภิสิทธิ์นี้เป็นแค่สรุปเฉยๆครับ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมดค่อยเอาไว้ลงในที่คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย ซึ่งกรณีนี้ก็จะเหมือนบารัก โอบามาที่สรุปเอาไว้แค่สั้นๆ แต่รายละเอียดปลีกย่อยค่อยเอาไปลงไว้ในที่ การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา นอกจากนี้ยังมี ทักษิณ ชินวัตร สุรยุทธ์ จุลานนท์ สมัคร สุนทรเวช สมชาย วงศ์สวัสดิ์ คือผมจะทำให้มันเป็นมาตรฐานเดียวกันน่ะครับ --Pitt 20:55, 18 เมษายน 2552 (ICT)

เสนอให้ล๊อคบทความคะ

เสนอให้ล๊อคบทความนี้คะ จากประวัติของบทความนี้ ผู้ที่เข้ามาก่อกวนและเขียนข้อความใส่ร้ายล้วนแต่เป็นคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก และผู้ดูแลก็ไม่สามารถดูแลอย่างครอบคลุมและทันท่วงที เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน่าจะล๊อคบทความและให้เฉพาะสมาชิกแก้เท่านั้นค่ะ --161.200.255.162 18:24, 2 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

 สำเร็จ เรียบร้อยครับ --Ken-Z! Talk I hate Grean & Vandalism on Wikipedia ! 18:28, 2 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

นำออก: SMS อภิสิทธิ์

เมื่ออภิสิทธิ์ก้าวขึ้นมาสู้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการเป็นลำดับแรกคือ ส่งSMS ไปยังหมายเลขผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 10 ล้านคน ปรากฏข้อความว่า "Your PM" เชิญชวนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาวิกฤตของชาติ หากผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรายใดสนใจ ให้ส่งข้อความตอบกลับทางไปรษณีย์ในราคา 3 บาท อภิสิทธิ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเข้าข่ายละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคล จากกรณีที่ส่งSMS ไปยังผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า ได้ตั้งข้อกำหนดในระบบโทรศัพท์มือถืออาจไม่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าบางราย รวมไปถึงหมายเลขโทรศัพท์นั้นๆ โดยที่ลูกค้ารายนั้นไม่ยินยอม อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครออกมาต่อต้านการกระทำของอภิสิทธิ์แต่อย่างใด [1][2] --Horus | พูดคุย 18:04, 21 มีนาคม 2553 (ICT)

  1. Bangkok Post, PM's text message an 'invasion of privacy', 19 December 2008
  2. Asia News, [1], 19 December 2009

ไม่เป็นกลาง

เหตุใดบทนำของบทความนี้จึงเน้นการโจมตีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอย่างเห็นได้ชัด ความเป็นกลางในการเขียนบทความนี้อยู่ตรงไหน--58.8.110.209 00:38, 15 เมษายน 2553 (ICT)

  • โจมตียังไงหรอครับ ผมเห็นในบทความกล่าวทั้ง 2 ด้านนะครับ
    • เช่น "ข้อกล่าวหาการหนีราชการทหาร" ไม่ได้มีแต่ข้อกล่าวหาเท่านั้นนะครับ แต่มีการตอบโต้จากเจ้าตัวด้วย หรือจะให้เอาข้อกล่าวหาออกเลย แบบนั้นต่างหากที่เรียกไม่เป็นกลาง และไม่เหมาะสมกับการเป็นบทความคุณภาพ -- KungDekZa | กล่องรับความคิดเห็น | ผลงาน 03:15, 15 เมษายน 2553 (ICT)

ทั้งหมดเน้นไปยังข้อขัดแย่งระหว่างอภิสิทธิ์กับ ทักาิณ และ นปช. โดยพยายามโจมตีอภิสิทธิ์ แบบนี้เรียกว่าเป็นกลางยังไง

ดู วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง --Horus | พูดคุย 20:17, 28 เมษายน 2553 (ICT)

ประโยคไม่สมบูรณ์

เพิ่งผ่านมาเห็น บางประโยคถูกตัดหายไปหรือเปล่าคะ ในย่อหน้าที่สอง "นายอภิสิทธิ์ได้เคยตัดสินใจคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 โดยไม่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจาก[4]" โดยที่ประโยคหน้าและหลังประโยคนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย --Tinuviel | พูดคุย 12:32, 15 เมษายน 2553 (ICT)

เข้าใจว่าประโยคหลังอธิบาย "การคว่ำบาตร" ในประโยคหน้าครับ (ซึ่งมันก็ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไหร่) --Horus | พูดคุย 20:19, 28 เมษายน 2553 (ICT)

ยอดผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ประท้วงเมษา 52

ในบทความดังกล่าวไม่ได้มีการกล่าวถึงผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการที่กลุ่มนปช.ร่วมชุมนุมกันขับไล่นายกอภิสิทธิ์ โดยเฉพาะผู้เสียชีวิตจากชุมชนนางเลิ้งและในชุมชนมุสลิมย่านเพชรบุรี(ยังไม่รวมการบุกปล้นเตาแก๊สของประชาชนย่านนางเลิ้ง) ในขณะที่อ้างว่ามีผู้ศูนย์หายจากการปราบปรามนั้น มีการพิสูจน์ปรากฏชัดแล้วว่าผู้ศูนย์หายนั้นได้พบรักกันและหนีตามกันไป หากยืนยันได้ว่ามีผู้ศูนย์หายเพียง 2 คนจริงๆ(นอกเหนือจากที่พบรักหนีตามกันไป) น่าจะมีการระบุชื่อให้ชัดเจนด้วย เพื่อความยุติธรรมในข้อมูล

รวมไปถึงมูลเหตุของการประท้วง และการโฟนอินของทักษิณด้วยวลีเด็ด"เมื่อเสียงปืนนัดแรกดังขึ้น ผมจะกลับไปเดินนำหน้าพี่น้องเอง"..ก็เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางการเมืองที่ชัดเจนในยุคของนายกอภิสิทธิ์กับทักษิณเช่นกัน

บทความนี้เน้นกล่าวถึงประวัติของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คนอ่านอาจไม่ต้องการรู้อย่างละเอียดว่า "พบรักและหนีตามกันไป" เช่นเดียวกับวลีของทักษิณ ชินวัตร เพราะไม่เกี่ยวกับประวัติของอภิสิทธิ์แต่อย่างใด (ควรแยกที่จะลงให้ถูก) --Horus | พูดคุย 23:56, 22 พฤษภาคม 2553 (ICT)

ชอบพระคุณครับ...อย่างไรก็ตาม ยอดผู้เสียชีวิต และผู้เสียหายจากเหตุการณ์นางเลิ้งและถ.เพชรบุรีนั้น(ผู้เสียหายที่เป็นประชาชน) หากไม่นำมาลงด้วยจะเหมาะสมเหรอครับ เนื่องจากเป็นเหตุการคาบเกี่ยวกัน

ถ้าเป็นไปได้คุณอาจจะนำข้อมูลมาลงเองก็ได้ครับ แต่ขอให้มีแหล่งอ้างอิงยืนยัน --Horus | พูดคุย 01:00, 23 พฤษภาคม 2553 (ICT)

วิทยา แก้วภารดัยไม่ได้ถูกพบว่ามีความผิดครับ..

สืบเนื่องจากผลสอบของคณะกรรมการสอบสวนการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข ที่มี นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน ระบุถึงความไม่ชอบมาพากล ในการตั้งงบประมาณโครงการดังกล่าวจำนวน 8.6 หมื่นล้านบาท มีพฤติกรรมและพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าส่อไปในทางที่อาจทำให้เกิดการทุจริต พร้อมระบุเป็นความรับผิดชอบของนักการเมือง 4 ราย รวมถึงข้าราชการระดับสูงทั้งในอดีตและปัจจุบัน ส่อไปในทางที่อาจทำให้เกิดการทุจริต นั้น น่าจะมีความหมายถึงน่าสงสัยว่าจะกระทำ หรือ เอื้อให้เกิดการกระทำ ซึ่งยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าเจ้าตัวนั้นได้กระทำผิดไปแล้วหรือตั้งใจจะกระทำความผิดนั้นๆหรือไม่ หากพบว่ามีการกระทำความผิดแล้วนั้นจะต้องมีการสอบสวนจากปปช.รวมถึงศาลอาญาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองครับ จึงอยากขอให้มีการแก้ไขคำใหม่.. ขอบพระคุณครับ

ปล.ในกระทู้อภิปรายก่อนหน้านี้นั้นอยากให้ช่วยตรวจสอบดูด้วยครับ ถึงจำนวนผู้สูญหาย รวมทั้งจำนวนประชาชนชาวนางเลิ้งและถ.เพชรบุรีผู้เสียชีวิตจากเหตุการดังกล่าว หากพบเจอหลักฐาน จะนำแจ้งเพิ่มเติมทันทีครับ แต่มั่นใจว่าตัวเลขด้านบนนั้นยังเป็นตัวเลขที่ให้เครดิตกับกลุ่มนปช.มากเกินไปครับ ขอบพระคุณครับ

ตอบข้อข้างบนครับ ส่วน "ให้เครดิตกับกลุ่ม นปช." ผมคิดว่าคุณท่าจะมีอคติแล้วล่ะครับ เพราะเท่าที่ดูเขาก็มี ref ให้แล้ว --Horus | พูดคุย 01:00, 23 พฤษภาคม 2553 (ICT)

ขอโทษด้วยครับที่คุณHorusมองว่าการวิพากษ์ของผมเป็นเรื่องอคติ เพียงแต่พยายามเสนอแนะข้อมูลที่เป็นจริงที่ได้รับมา เนื่องจากวิคิพิเดียเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคนอ้างอิงเยอะมาก(รวมทั้งผมด้วย) จึงไม่อยากให้ผู้ใช้นำไปตำหนิเรื่องความแม่นยำของข้อมูลที่นำไปใช้ จนเกิดความไม่น่าเชื่อถือของ วิคิพีเดีย.ประเทศไทยในที่สุด ยอมรับครับว่ารู้สึกแปลกใจที่ไม่ได้รับคำตอบในการตั้งกระทู้หลัก แต่มีการตำหนิกลับมาในกระทู้รอง...หากการวิพากษ์ วิจารณ์เพื่อพัฒนาของผู้ใช้มือใหม่ตามข้อมูลที่มีอยู่นั้นถูกมองว่าโง่เขลานั้น(ซึ่งผมแปลกใจที่ไม่ได้รับการเชื่อถือว่ามีเจตนาดี เข้าใจว่ากล่าวร้ายผู้อื่น รวมไปถึงไม่ได้รับการต้อนรับในฐานะมือใหม่) ผมกราบขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วย และขอภาวนาให้ทีมงานได้ช่วยกันแก้ไขพัฒนาข้อมูลให้ดียิ่งๆขึ้นต่อไปครับ...ขอบพระคุณทีมงานเป็นอย่างสูงครับ

อ้าว ผมไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้นเสียหน่อย คุณอยากเพิ่มอะไรก็เพิ่มไปสิครับ แต่ข้อมูลที่อ้างอิงไปแล้วเขาห้ามลบ มันเป็นหลักการที่เขามีมานานนมแล้ว จะมาเอาอะไรกับผมละครับ --Horus | พูดคุย 08:13, 23 พฤษภาคม 2553 (ICT)