พูดคุย:สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระมหากษัตริย์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

วันพระราชสมภพ[แก้]

ผมได้แก้วันพระราชสมภพจากวันที่ 15 ตุลาคม เป็น 10 กันยายน เนื่องจากมีแหล่งอ้างอิงหลายที่ เช่น [1] และ [2] ที่สำคัญคือมีปรากฏในหนังสือ "งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์" (รัฐบาลจัดพิมพ์ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พ.ศ. 2528) ซึ่งผมมีอยู่ในมือ ส่วนวันที่ 15 ตุลาคม เป็นวันตั้งพระนามพระราชทานและมีพระราชพิธีสมโภชเดือน (หมายเหตุ : วันพระราชสมภพดังกล่าวเคยถูกแก้ไขให้ถูกไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2549 โดยผู้ใช้ไม่ลงทะเบียน แต่ถูกแก้คืนไปเนื่องจากผู้ดูแลเข้าใจว่าเป็นการก่อกวน) --Pi@k 04:30, 26 เมษายน 2007 (UTC)

แก้วแขก[แก้]

@เอ็ดมัน: ขอเชิญอ่านตาม ลิงก์นี้ "...เป็นธิดาพระยาราชวังสันให้แก่เจ้าพระยาชํานาญบริรักษ์ ซึ่งต่อมาเจ้าจอมท่านนี้ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นท่านผู้หญิง มีบุตรชายด้วยกันคนหนึ่งชื่อ นายบุญนาก นกเล็ก ครั้งยังไม่เสียกรุง นายบุญนากได้เป็นที่พระหฤทัย ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพระยาวิเศษสุนทร (บุญนาก นกเล็ก) ท่านมีภรรยาชื่อคุณหญิงสั้น เป็นธิดาเจ้านครศรีธรรมราช มีบุตรธิดารวม 7 คน บุตรคนหนึ่งชื่อพระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก) เป็นต้นสกุลทางสายภูมิรัตนและศิริวัฒนกุล..." ไม่ได้กล่าวถึงสุจริตกุล ส่วนใน ลำดับสกุลเก่าบางสกุล ก็ไม่ได้ระบุไว้ และในงานเขียนของธำรงศักดิ์ หน้า 305 ระบุว่าสกุลสุจริตกุลมีต้นตระกูลคือหลวงอาสาสำแดง (แตง) ซึ่งเป็นจีน (หรือมีเชื้อจีนก็ได้) แต่ไม่ได้ระบุถึงเชื้อสายพราหมณ์ ซึ่งน่าจะโดดเด่นและอยู่ในแวดวงมากกว่าจีน ส่วนแหล่งข้อมูลที่อ้างถึงความสัมพันธ์กับพระยาชำนาญคืองานเขียนของจุลลดา ภักดีภูมินทร์ ลิงก์นี้ ก่อนอื่นควรหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อน แล้วค่อยลงมาใส่ดีกว่าไหม ? --Anderson (คุย) 01:17, 27 มีนาคม 2562 (ICT)

ขอเชิญคุณ @Horus:; @พุทธามาตย์: ร่วมพูดคุยด้วยครับ --Anderson (คุย) 01:20, 27 มีนาคม 2562 (ICT)

@แอนเดอร์สัน:*ตาม[3] ระบุว่า "...หลวงอาสาสำแดง (แตง) เป็นบุตรพระยาจินดารังสรรค์ จางวางกรมช่างสิบหมู่ แขกผู้นี้เกิดในตระกูลขุนนางอยุธยาสายพราหมณ์ศิริวัฒนะ เป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ..."

  • [4] ระบุว่า "...7. "ภูมิรัตน์" ต้นสกุลคือ พระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก)

8. "สุจริตกุล" ต้นสกุลคือ หลวงอาสาสำแดง (แตง) กับภริยาคือ ท้าวสุจริตธำรง (นาค)

สกุลนี้เป็นราชินิกุล ด้วยลูกสาวของหลวงอาสาสำแดง (แตง) และท้าวสุจริตธำรง (นาค) คือ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 และเป็น “ยาย” ของรัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และเจ้าฟ้ามหิดล (“พ่อ” ของในหลวงรัชกาลที่ 9)

ดังนั้น หลวงอาสาสำแดง (แตง) และท้าวสุจริตธำรง (นาค) จึงเป็นตาทวดและยายทวดของรัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และเจ้าฟ้ามหิดลด้วย

โดยหลวงอาสาสำแดง (แตง) เป็นบุตรพระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก) ต้นสกุลภูมิรัตน์ ในข้อ 7"

  • [5] ระบุว่า "...พระยาจินดารังสรรค์ (แก้วแขก) มีบุตรธิดาหลายคน ได้เป็นพระยาถึง ๔ คน แต่บุตรชายคนที่ ๒ ที่ชื่อแตงนั้น รับราชการที่หลวงอาสาสำแดง แล้วก็สิ้นชีวิตเสียก่อนในรัชกาลที่ ๔ หลวงอาสาสำแดง (แตง) สมรสกับคุณนาค คุณนาคเข้ารับราชการฝ่ายในได้เป็นที่ท้าวทองพยศ ในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ได้เป็น ท้าวสุจริตธำรง (นาค)" ควรหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อน แล้วค่อยย้อนดีกว่าไหม ? --เอ็ดมัน ^____^ (ສົນທະນາ) 01:31, 27 มีนาคม 2562 (ICT)
หึหึ แคุณยังไม่เข้าใจอีกหรอ ว่าในกรณีที่หลักฐานมันขัดแย้งกัน คุณต้องเขียนเป็นเชิงอรรถมาอธิบายนะ ไม่ใช่จะยัดไปแบบนี้ แล้วอีกอย่างหนึ่งนะครับ และงานเขียนใน "อ่านเอา" ก็อาจจะอ้างอิงจากจุลลดามาก็ได้ และคุณก็คัดลอกมาโดยไม่ได้ research เพิ่มเติมอีกเลยสักนิด เหมือนในกรณีที่คุณใส่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว#พงศาวลี ว่าพระองค์มีพระราชบรรพบุรุษชื่อ อุ่น เชื่อม กิม หลง ผมไปสืบค้นดู ไม่ได้พบชื่อดังกล่าวนะครับ ควรหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนไหมนะ ? --Anderson (คุย) 01:39, 27 มีนาคม 2562 (ICT)
ขัดแย้งยังไง หลักฐานก็ระบุชัดเจนถึงพระยาจินดารังสรรค์เป็นบิดาของหลวงอาสาสำแดง ส่วนหลักฐานที่คุณหามาแค่ไม่ได้ระบุความสัมพันธ์ไว้เฉย ๆ ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่ใช่พ่อลูกกัน หรือถ้าคุณมีหลักฐานว่าหลวงอาสาสำแดง (แตง) เป็นลูกคนอื่นที่ไม่ใช่พระยาจินดารังสรรค์ นั่นสิถึงจะขัดแย้ง หรือคุณมีหลักฐานอันไหนที่ระบุชัดเจนว่าหลวงอาสาสำแดงไม่ใช่บุตรพระยาจินดารังสรรค์ --เอ็ดมัน ^____^ (ສົນທະນາ) 01:48, 27 มีนาคม 2562 (ICT)
ใช่ครับ ผมไม่ได้เถียงว่า ทั้งสองเป็นพ่อลูก หรือไม่เป็นพ่อลูกกัน แต่ที่ให้เอาเนื้อหาส่วนดังกล่าวออกไป เพราะมันมีหลักฐานคัดง้างไงครับ ที่แน่ ๆ มีของธำรงศักดิ์แล้วหนึ่ง ที่ระบุโต้ง ๆ เลยว่าไม่เกี่ยวข้องกันเลย และทั้งสอง (คือทั้งคุณหลวงและคุณท้าว) ต่างเป็นจีน ส่วนหลักฐานที่คุณยกมาก็มีงานที่อ้างจากจุลลดา ที่สำคัญประวัติเหล่านี้บางส่วน มักถูก "แต่งเติม" ให้ดูมีความเป็นมายาวนาน ซึ่งก็ต้องรอดูแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือเพิ่มเติม --Anderson (คุย) 01:56, 27 มีนาคม 2562 (ICT)
หลักฐานที่คุณว่าก็เพียงระบุว่า มีเชื้อจีน แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าไม่มีเชื้อพราหมณ์ แถมก็ไม่ได้ระบุชื่อบิดามารดาโดยตรง มันมาคัดง้างตรงไหน ในขณะที่หลักฐานอื่นระบุอย่างชัดเจนเลยว่า หลวงอาสาสำแดงเป็นลูกพระยาจินดารังสรรค์ ซึ่งหากคุณมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและดูคัดง้างมากกว่านี้ก็ค่อยเอาเนื้อหาส่วนนี้ออก --เอ็ดมัน ^____^ (ສົນທະນາ) 02:12, 27 มีนาคม 2562 (ICT)
ตลก ก็เขาบอกเลยว่าเป็นจีน ชื่อก็ระบุว่าใคร ถ้าเป็นพราหมณ์ก็ต้องแจงมาแล้วว่าพราหมณ์ เพราะในหนังสือเล่มนี้ก็แจงมาทุกสกุล เจ้าจอมคนนี้มาจากสกุลรุนชาติอะไร ในครอบครัวมีใครเป็นข้าราชการหรือเป็นข้าเก่ามาก่อน ไม่เชื่อ ก็ลองไปยืมมาจากห้องสมุดที่ใดสักแห่งดูก็ได้ เผลอ ๆ คุณอาจจะเจอหนังสือมาอ้างอิงเพิ่มเติมก็ได้ ไม่ใช่ไล่เซิร์ชในกูเกิ้ลมายัน ถ้าคุณใส่มา ผมก็จะลบออกอยู่ดี รอให้ข้อมูลมันแน่นอนแล้วค่อยใส่ก็ได้ มันไม่ได้หายไปไหนนี่ --Anderson (คุย) 02:23, 27 มีนาคม 2562 (ICT)
ตลกเหมือนกัน ที่คุณเอาแหล่งอ้างอิง ที่แค่ไม่ได้ระบุว่าเป็นพราหมณ์ ไม่ได้ระบุว่าเป็นพ่อลูกกัน ไม่ได้ระบุว่าเกี่ยวข้องกัน แล้วก็มีอยู่แหล่งเดียวที่อ้างมาจากไหนไม่รู้ว่าเป็นจีน ซึ่งผมก็ไม่เถียงว่าท่านอาจจะมีเชื้อจีนทางใดก็ได้ มาแย้งอยู่ได้ว่าไม่ใช่พราหมณ์ ไม่ใช่พราหมณ์ ลบออกก็ใส่ใหม่ครับ ไม่มีปัญหา --เอ็ดมัน ^____^ (ສົນທະນາ) 02:45, 27 มีนาคม 2562 (ICT)
ตลกเหมือนกัน ตลกมากด้วย อธิบายมาตั้งนาน ก็ยังแย้งแถไปเรื่อย ความน่าเชื่อถือไม่มีเลย ถ้าคุณจะยังใส่มาอีกผมก็จะมองว่าคุณก่อกวนบทความ ลองเข้าไปวิกิพีเดียภาษาอังกฤษดูบ้าง เผื่อจะเข้าใจขึ้น --Anderson (คุย) 02:52, 27 มีนาคม 2562 (ICT)
ถ้าถามความเห็นผมนะ ก็ใส่ไปทั้งคู่นั่นแหละ แต่ก็ดูด้วยว่าประวัติศาสตร์กระแสหลักพูดถึงอย่างไร ถ้ามีข้างใดข้างหนึ่งเป็นกระแสหลักชัดเจน อาจจะ note เพิ่มในทำนองว่า มีแหล่งอ้างอิงที่กล่าวไว้อีกอย่างด้วย --Horus (พูดคุย) 17:21, 27 มีนาคม 2562 (ICT)