พูดคุย:พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ความเป็นกลางที่แท้จริง[แก้]

ข้อมูลต้องมี 2 ด้าน ต้องให้โอกาสกับผู้อ่าน ไม่ควรปกปิดข้อมูลฝ่ายที่ไม่เห้่นด้วยกับตน--Orashun.p 22:09, 16 กันยายน 2552 (ICT)

  • ครับ แต่ฟังหูไว้หูก็ดีนะครับ ว่าแต่ว่าทำไมมีข้อมูล 2 ด้าน แล้วคุณจึงโดนแปะไม่เป็นกลางล่ะครับ ผมเขียนมาเป็นสิบบทความ ไม่เห็นเคยโดน --Horus | พูดคุย 22:19, 16 กันยายน 2552 (ICT)

"นิพพาน" เป็นการดับแล้วไม่กลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตาย ฯลฯ จึงไม่ใช่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ครับ

Did the writer really know the truth ? How did they could be able to write those story without being proof ?

MYMLANNA (พูดคุย) 17:23, 22 มิถุนายน 2559 (ICT)

ความเป็นกลาง[แก้]

ได้มีความพยายามปรับเนื้อหาสำนวนให้ชัดเจนและเป็นกลางมากขึ้นแล้ว อีกทั้งตัดทอนเนื้อหาที่อาจมองว่าเป็นการโฆษนาออกไป

ตลอดระยะเวลาที่สร้างวัดพระธรรมกายมา ด้วยความเอาใจใส่ ทุ่มเท ในการทำงานเผยแผ่เพื่อพระพุทธศาสนาโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันของพระราชภาวนาวิสุทธิ์และหมู่คณะทีมงาน

รู้สึกว่ายังมีส่วนที่อ่านแล้ว เหมือนการโฆษณา อยู่นะครับ ซึ่งมุมมองการเขียนนั้นไม่ควรจะเป็นมุมมองของวัด แต่ควรจะเป็นมุมมองจากบุคคลที่สาม เพื่อให้อ่านเป็นรูปแบบสารานุกรมนะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 05:36, 14 มีนาคม 2007 (UTC)

แก้ไขเพิ่มเติม[แก้]

ตอนนี้ได้เข้าไปแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติม คาดว่าเนื้อหามีลักษณะความเป็นกลางมากขึ้นนะครับ จึงขอให้เอาหัวข้อไม่เป็นกลางออกด้วยนะครับ

ขอให้เขียนบทความนี้ ให้ตรงความเป็นจริง อย่าใช้ลักษณะชวนเชื่อ ให้ข้อมูลเป็นเท็จ[แก้]

  • ขอให้ คุณPhilothai แก้ไขข้อความทั้งหมดนี้ ให้ตรงตามความเป็นจริง อย่าใช้ข้อความ

ที่เป็น "ความเห็น" จากเว็บไซต์ที่เชื่อถือไม่ได้ ดังที่ปรากฏในบทความ *

"โดยกลุ่มบุคคลเหล่านี้พยายามอ้างว่า "เพราะตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกที่ทรงไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ระบุไว้ชัดเจนว่า พระราชภาวนาวิสุทธิ์มีพฤติกรรมยักยอกของสงฆ์ราคาเกิน 5 มาสกเป็นของส่วนตน เป็นผลให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ต้องอาบัติ ปาราชิก ขาดจากความเป็นพระไปในทันที" ซึ่งในข้ออ้างที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นข้อกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย"

  • การเขียนว่า"พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชในปี 2542 เป็นข้อกล่าวอ้างที่เลื่อนลอยนั้น" เป็นการเขียนที่ผิด

และ เป็น "ความเห็น"ที่ปราศจากหลักฐานใดๆทั้งสิ้น

  • ยิ่งกรณี "ห้องกระจก" ที่คุณยกมาเป็นตัวอย่าง ก็เป็นเพียง "ความเห็น"ที่ปรากฏในเว็บไซต์ที่นำมาอ้างอิงเป็นหลักฐานไม่ได้

และเป็นข้อความต่างกรณี ที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2548 ไม่ได้ความเกี่ยวข้อง กับกรณีพระลิขิตทั้ง 5 ฉบับ ที่เกิดขึ้นในกรณียักยอกทรัพย์วัดตั้งแต่ ปี พ.ศ.2542 แต่อย่างใด

ขอให้เข้าไปตรวจสอบข้อความในพระลิขิตทั้ง 5 ฉบับดูได้

  • ดังนั้น ขอให้ลบข้อความที่สร้างความชอบธรรมให้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ด้วยวิธีไม่ชอบดังที่ปรากฏในบทความและความข้างล่างนี้ ออกไปเสียให้หมด เพื่อให้ข้อมูลที่ปรากฏตรงตามข้อเท็จจริงที่อัยการและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้กระทำการตกลงกันไว้ เพื่อการถอนฟ้อง ดังที่ได้เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2549 ด้วย

"เพราะจากพยานหลักฐานทางเอกสารและพยานบุคคล กลับพบว่าพระลิขิตนั้นไม่ได้ระบุชื่อของพระราชภาวนาวิสุทธิ์แต่อย่างเลย ที่สำคัญเอกสารที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นพระลิขิตก็ไม่เคยถูกส่งไปยังพระราชภาวนาวิสุทธิ์เลย อีกทั้งต่อมากลับพบว่าพระลิขิตเหล่านั้นได้กระทำขึ้นมาโดยกลุ่มบุคคลในห้องกระจกนั่นเอง ซึ่งจากวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเอกสารพบว่าเป็นพระลิขิตปลอมที่ทำขึ้นโดยกลุ่มห้องกระจกทั้งหมด และการวิเคราห์นี้ได้ผลสอดคล้องกับข้อมุลที่มีบุคคลได้แจ้งความดำเนินคดีกับบุคลลหลายคนที่ได้แอบอ้างทำพระลิขิตปลอมขึ้นมา[2] แม้กลุ่มห้องกระจกและขบวนการทำลายชื่อเสียงพยายามสร้างกระแสผ่านสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี และผ่านขั้นตอนการไต่สวนของศาลชั้นต้นเป็นเวลานานหลายปี ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่เมื่อถึงเวลาสืบพยานฝ่ายที่กล่าวหากลับหลบเลี่ยงและให้การโดยอ้างพยานหลักฐานแบบเลื่อนลอยตลอด

แม้ว่าสำนักงานอัยการสูงสุดจะถอนคดีออกจากระบบในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ แต่ก็ยังปรากฏมีบุคคลบางกลุ่มพยายามที่จะสร้างกระแสโจมตีต่อไป โดยมักจะกล่าวอ้างว่า "พระราชภาวนาวิสุทธิ์และพวกยักยอกทรัพย์และเงินบริจาคของวัดพระธรรมกาย จำนวน 6.8 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินเขาพนมพา ต.หนองพระ อ.วังทรายมูล จ.พิจิตร แล้วโอนกรรมสิทธิ์ใส่ชื่อนายถาวร จำเลยที่ 2 และเงินจำนวน 29,877,000 บาท ไปซื้อที่ดินเนื้อที่ 902 ไร่เศษ ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร และ ต.ท่าข้าม อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ แล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2

ซึ่งจากข้อมูลที่แท้จริงปรากฏว่า เงินที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์นำไปซื้อที่ดินนั้นเป็นเงินส่วนตัวของพระราชภาวนาวิสุทธิ์เอง ซึ่งเมื่อท่านได้ที่ดินมาก็มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบคือนายถาวร นำไปปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ต่อไป และที่สำคัญที่ดินต่างๆที่ท่านซื้อมาก็ด้วยตั้งใจจะพัฒนาพื้นที่ต่างๆเหล่านั้นให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและใช้ในกิจการของพระพุทธศาสนาในอนาคตทั้งสิ้น ดังนั้นข้อกล่าวหาต่างๆดังกล่าวจึงเป็นกล่าวได้ว่าข้อมูลเท็จ ที่มุ่งหวังทำลายชื่อเสียงของพระราชภาวนาวิสุทธิ์นั่นเอง"

  • การเขียนให้"ความเห็น"ว่า พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ไม่ผิด เพราะใช้เงินส่วนตัวนำไปซื้อที่ดิน

ทั้งๆที่ข้อเท็จจริง ที่อัยการสรุปคือ พระราชภาวนาวิสุทธิ์และพวกยักยอกทรัพย์และเงินบริจาคของวัดพระธรรมกาย แล้วโอนกรรมสิทธิ์ใส่ชื่อนายถาวร ทั้งหมดรวม 35 ล้านบาท เช่นนี้ ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลเท็จแก่ผู้อื่น และเป็นข้อมูลเท็จที่ขัดแย้งกับข้อสรุปของอัยการที่ได้ตัดสินคดีนี้ไปแล้ว ว่า พระราชภาวนาวิสุทธิ์และพวกยักยอกทรัพย์และเงินบริจาคของวัดพระธรรมกาย เป็นการกระทำผิดจริง ตามที่ได้ถูกกล่าวหา

  • หาได้เป็นการสร้างกระแสโจมตี พระราชภาวนาวิสุทธิ์ แต่อย่างใด
  • แต่เป็นการเขียนที่ถูกต้องตามหลักฐานข้อเท็จจริง และเป็นไปตามความในพระลิขิตของ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกที่ทรงไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ทั้งสิ้น

wikitti

ผมขออนุญาตปรับเนื้อหาใหม่ ตามข้อเท็จจริงที่สามารถหาได้นะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 02:25, 3 กรกฎาคม 2007 (UTC)

แก้ไขและปรับเนื้อหาเพิ่มเติม[แก้]

ตอนนี้ได้แก้ไขบทความเพิ่มเติม มีการปรับเนื้อหาบางส่วนให้มีข้อมูลทั้งจากผู้ที่เห็นด้วยและกลุ่มผู้ที่สนับสนุนวัดธรรมกาย ทำให้บทความมีเนื้อหาทั้งสองฝ่าย โดยความเห็นส่วนตัวมองว่าน่าจะเอาประกาศเนื้อหาไม่เป็นกลางออกดีไหม Bandai

สวัสดีครับ เห็นการปรับแก้เนื้อหาหลายส่วนแล้ว ผมว่ามีความเป็นกลางมากขึ้น แต่ว่า ยังมีบางส่วนที่ยังมีความติดเห็นอยู่บ้าง โดยมากจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับการอธิบาย หรือแก้ข้อกล่าวหา ทำให้ดูไม่ค่อยเป็นกลาง เช่น

"ในการดำเนินงานในโครงการต่างๆของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หลายๆงานก็ต้องอาศัยทีมงานในการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ทางพระพุทธศาสนา และหลายๆครั้งเพื่อความคล่องตัวและสะดวกก็จำเป็นต้องอาศัยทีมงานแทนพระราชภาวนาวิสุทธิ์ในการจัดซื้อหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆบนที่ดินในบางแปลง โดยการดำเนินการต่างๆเพื่อประโยชน์และความก้าวหน้าแก่พระพุทธศาสนา ทางพระราชภาวนาวิสุทธิ์และทีมงานก็ได้ระมัดระวังและคำนึงถึงความถูกต้องแห่งกฎหมายและพระธรรมวินัยอย่างเคร่งคัดเสมอมา"
อันนี้ ไม่ค่อยเป็นข้อมูล แต่เป็นความเห็นมากกว่า หรือเหมือนกับพูดแทนท่าน, สำหรับย่อหน้าต่อไป -
สิ่งที่น่าคิดพิจารณาและน่าศึกษาติดตามคือ แม้ว่าพระราชภาวนาวิสุทธิ์เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายจะถูกวิพากย์วิจารณ์ทั้งจากกลุ่มที่มองว่าท่านขาดจากความเป็นพระไปแล้ว แต่ในขณะเดียวกันในส่วนราชการรวมถึงองค์กรพุทธใหญ่ๆระดับโลกหลายแห่งยังคงยอมรับความเป็นพระสงฆ์ของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่ายังคงความเป็นพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์สมบูรณ์ถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม และกฎหมายไทยทุกประการ ซึ่งการยอมรับนับถือจากคณะสงฆ์ในประเทศไทย และในประเทศต่างๆทั้งนิกายเถรวาท มหายาน และวัชรยาน สามารถดูได้จากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้คือในปีพ.ศ. ๒๕๔๙ องค์กรยุวพุทธสงฆ์โลก

ถ้าตัด ข้อความแรกออก จะเป็นกลางมากขึ้นนะครับ

รบกวนแก้ไขอีกสักนิด --ธวัชชัย 14:11, 13 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามคำแนะนำของคุณธวัชชัยแล้วนะครับ ขอบคุณครับ

Bandai

อ้างอิง[แก้]

บทความนี้มีแต่อ้างอิงจากเว็บบอร์ด ซึ่งเป็นความเห็นของบุคคลคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนะครับ โดยส่วนใหญ่ก็เป็นความเห็นผสมความจริงบ้าง หรือบางทีก็ความเห็นอย่างเดียว โดยด้านล่างคือข้อความที่โดนย้ายออกมา

หากรบกวนใครมีอ้างอิงที่เชื่อถือได้มากกว่าเว็บบอร์ด รบกวนเพิ่มเติมในเนื้อหาเพื่อให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นด้วยครับ ไม่ว่าจากข่าว หนังสือ หรือสื่อหนังสือพิมพ์หลัก --Manop | พูดคุย 00:25, 27 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

ความ {{ไม่เป็นกลาง}} อีกครั้ง[แก้]

ความไม่เป็นกลางไม่ได้วัดจากอ้างอิงมากหรือน้อยในบทความนะครับ เขาวัดจากเนื้อหาและมุมมองแกนหลักของบทความ

ในบทความดังกล่าวเห็นได้ชัดว่ากล่าวถึงความดีของหลวงพ่อโดยประการเดียว เพราะแม้จะกล่าวถึงคดีความแต่ก็สรุปจบเนื้อหาในหัวข้อย่อยโดยสรุปในย่อหน้าท้ายแสดงคุณความดีของท่าน อีกประการหนึ่ง เนื่องจากบทความดังกล่าวมีความละเอียดอ่อนมาก ดังนั้นการกล่าวอ้างถึงกลุ่มบุคคลหรือองค์กรควรมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนและถูกต้องและไม่ใช่แหล่งอ้างอิงที่ตายแล้ว (ใช้หนังสือก็ได้ครับ ถ้าไม่จำเป็นควรละเว้นหนังสือของผู้ได้รับประโยชน์จากการกล่าวอ้าง)

และเมื่อนำภาพรวมทั้งหมดของบทความมาพิจารณาด้วยนโยบาย วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง และ วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย ทำให้บทความนี้ยัง ขาดความเป็นกลาง อย่างที่ควรจะเป็นครับ ดังนั้นการนำป้ายออกจึงอาจเป็นการก่อกวนได้

แนะนำให้ลองดูที่บทความ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นแนวทางการเขียนก็ได้ครับ เพราะสมเด็จท่านก็ถูกโจมตีหนักหนาเหมือนกัน แต่ความดีท่านก็มากมายเหมือนกัน ซึ่งผู้เขียนสามารถเขียนให้มีความเป็นกลางและมีแหล่งอ้างอิงที่แม่นยำถูกต้องและเชื่อถือได้โดยไม่มีอคติหรือความเอนเอียงของข้อมูลครับ

ปล. แนะนำให้ลองดูวิธีการอ้างอิงอีกครั้งนะครับ เพื่อให้เข้าใจว่ามาตรฐานการอ้างอิงในวิกิพีเดียที่ถูกต้องทำอย่างไร ไม่ใช่จับลิงก์ได้ก็เอามาใส่ ๆ ๆ ๆ จนเฝือไปทำให้ปรากฏรูปแบบการอ้างอิงที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างที่เห็น ซึ่งจะทำให้บทความขาดความเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง-- ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 16:39, 21 มิถุนายน 2552 (ICT)

ลองปรับแก้แล้ว กลางหรือยัง ลองดูอีกที คือ

  1. มีการกล่าวถึงการต่อต้านและการสนับสนุนในน้ำหนักที่เท่ากัน
  2. ไม่มีการสรุปความโดยผู้เขียนอันเนื่องมาจากการต่อต้านและการสนับสนุนนั้น
  3. ถอดความเห็นอัตวิสัยของผู้เขียนออก
  4. ไม่โฆษณา โน้มน้าวให้เชื่อ หรือเทศนาหลักธรรม (เพราะนี่เป็นบทความชีวประวัติ)

--octahedron80 02:40, 16 ตุลาคม 2552 (ICT)

ดีแล้วครับ ดูผ่านๆ คนอาจนึกว่าเนื้อหาน้อยไป แต่ผมคิดว่าเขียนมากกว่านี้แม้อีกนิดเดียวก็จะเอียง อย่างไรก็ตามขอแก้ชื่อหัวข้อนิดนึงครับ --taweethaも 04:51, 27 ตุลาคม 2552 (ICT)

เมื่อกี้อ่านรอบแรก ช่างน้ำหนักโดยรวม อ่านอีกทีดูภาษาแล้วพบปัญหาซ่อนลึกภายในครับ

  • ใช้จำนวนสักขีพยาน ข้อความแวดล้อมเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการมอบตำแหน่งคืน ถ้าจะใส่คิดว่าสำคัญต้องอ้าง
  • ใช้คำพิพากษาคดีฟ้องกลับเพื่อสร้างความชอบธรรม... ใช้คำว่าสื่อ "หลาย" สำนักเสนอข่าว "เท็จ" และ "ความผิดอาญา" หลายข้อหา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความถูกต้อง ความจริงแล้วโดยปกติการฟ้องกรณีเหล่านี้มักจะเป็นการฟ้องหมิ่นประมาท (หมิ่นประมาทบางกรณี ยิ่งเรื่องที่เสนอเป็นจริงก็ยิ่งผิด ถ้าไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ) กรณีนี้ต้องหาอ้างอิงคำพิพากษามาดูก่อนจะเขียนลงไปในรายละเอียดมากกว่านี้ครับ

--taweethaも 05:20, 27 ตุลาคม 2552 (ICT)

ไม่ใส่หลักธรรมคำสั่งสอน[แก้]

รบกวนไม่อธิบายหลักธรรมหรือเทศนาสั่งสอนในบทความชีวประวัติบุคคลนะครับ เพราะเนื้อหามันคนละประเด็น ลองคิดถึงหากบทความอื่นมีการอธิบายหลักธรรมในบทความพระเต็มไปหมด คงไร้ระเบียบกันไปหมดครับ --octahedron80 23:22, 15 กันยายน 2553 (ICT)

คำขอแก้ไขกึ่งป้องกัน เมื่อ 28 กรกฎาคม 2565[แก้]

ระบุว่าทั้งนี้ คดียังไม่สิ้นสุด ทั้งหมดเป็นเพียงข้อกล่างหา ยังไม่ได้รับการตัดสิน 49.228.167.203 00:48, 29 กรกฎาคม 2565 (+07)[ตอบกลับ]