พูดคุย:ดาวฤกษ์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวฤกษ์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิดาราศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับดาราศาสตร์และจักรวาลอันน่าพิศวงของเรา ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ดาวฤกษ์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เนื้อหาเดิมส่วนหัว[แก้]

ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดยกเว้นดวงอาทิตย์ คือ ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า อยู่ห่าง 39.9 ล้านล้านกิโลเมตร = 4.2 ปีแสง = 1.29 พาร์เซก หมายความว่าแสงจากดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าใช้เวลาเดินทาง 4.2 ปี จึงมาถึงโลก

นักดาราศาสตร์ประมาณว่ามีดาวฤกษ์อย่างน้อย 7 × 1022 ดวงในเอกภพ หรือ 70,000,000,000,000,000,000,000 ดวง มากกว่า 230,000 ล้านเท่าของดาวฤกษ์ 300,000 ล้านดวงในดาราจักรทางช้างเผือกของเราเอง

ดาวฤกษ์จำนวนมากมีอายุระหว่าง 1,000 - 10,000 ล้านปี บางดวงมีอายุเกือบ 13,700 ล้านปี ซึ่งเป็นอายุโดยประมาณของเอกภพ (ดู ทฤษฎีบิกแบงและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์)

ดาวฤกษ์มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าเมืองๆ หนึ่งอย่างดาวนิวตรอน (ซึ่งอาจกล่าวว่าเป็นดาวที่ตายแล้ว) ไปจนถึงดาวยักษ์ใหญ่อย่างดาวเหนือ (ดาวโพลาริส) และดาวบีเทลจุสในกลุ่มดาวนายพราน ที่มีขนาดประมาณ 1,000 เท่าของดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ดาวขนาดใหญ่จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าดวงอาทิตย์มาก ดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงที่สุด คือ HD 269810 ในกลุ่มดาวปลากระโทงแทง มีมวล 150 เท่าของมวลดวงอาทิตย์

วิทยาศาสตร์นิยามว่าดาวฤกษ์ คือ ทรงกลมพลาสมาที่คงอยู่ได้ด้วยความโน้มถ่วงของตัวเอง มีสภาวะสมดุลอุทกสถิต ผลิตพลังงานด้วยกระบวนการการหลอมนิวเคลียส พลังงานที่เกิดขึ้นในดาวฤกษ์แผ่ไปในอวกาศโดยการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (ส่วนใหญ่เป็นแสงสว่างที่มองเห็นได้) อยู่ในรูปของกระแสนิวตริโน ความสว่างปรากฏของดาวฤกษ์บอกด้วยความส่องสว่างปรากฏ

ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดที่เห็นปรากฏบนท้องฟ้าโดยไม่นับดวงอาทิตย์ คือ ดาวซิริอุส หรืออีกชื่อคือดาวโจร อยู่ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ ส่วนดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดที่มองไม่เห็นเคยเชื่อว่าคือ ดาวปืน แต่ในปัจจุบันพบว่ามีดาว LBV 1806-20 ที่สว่างมากกว่า

ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์ คือ การศึกษาดาวฤกษ์และปรากฏการณ์ในรูปแบบและช่วงต่างๆ ของวิวัฒนาการของดาว ดาวฤกษ์จำนวนมากผูกยึดด้วยแรงโน้มถ่วงกับดาวฤกษ์ดวงอื่น ทำให้เกิดดาวคู่ หากมีดาวจำนวนมากในระบบเดียวกันเรียกว่ากระจุกดาว ดาวฤกษ์ไม่ได้กระจัดกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของเอกภพ แต่รวมกลุ่มกันเป็นดาราจักร โดยทั่วไปแต่ละดาราจักรมีดาวฤกษ์หลายแสนล้านดวง --Horus | พูดคุย 23:21, 19 มิถุนายน 2553 (ICT)

ดาวฤกษ์ก่อนเกิด[แก้]

เมื่อกลุ่มก๊าซรวมตัวมาถึงขั้นดาวฤกษ์ก่อนเกิด จะยุบตัวลงมากขึ้นอีก เริ่มดูดมวลสารจากอวกาศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดเป็นจานรวมมวลรอบๆดาวฤกษ์ก่อนเกิด ทำให้ดาวฤกษ์ก่อนเกิดมวลสารเพิ่มขึ้น แกนกลางร้อนและเรืองแสงเพิ่มขึ้น และเริ่มหมุนรอบตัวเอง

จนเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง ดาวฤกษ์ก่อนเกิดจะปล่อยอนุภาคพลังงานสูงออกมาโดยรอบ และจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นเป็นลำอนุภาคพลังงานสูง พ่นออกมาจากดาวฤกษ์ก่อนเกิด

ในจุดนี้ หากมวลของดาวฤกษ์ก่อนเกิดมีน้อยกว่าร้อยละ 8 ของมวลดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ก่อนเกิดจะไม่สามารถยุบตัวจนมีอุณหภูมิสูงพอที่จะจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้ จึงเย็นลง ดับลง กลายเป็นดาวเคราะห์ธรรมดา ซึ่งดาวพฤหัสบดี ก็เคยมีลักษณะคล้ายดาวฤกษ์ก่อนเกิด แต่ก็เย็นลงกลายเป็นดาวเคราะห์ เพราะมีมวลเพียงร้อยละ 0.1 ของมวลดวงอาทิตย์เท่านั้น น้อยเกินไป

ในจุดนี้ หากดาวฤกษ์ก่อนเกิดหมุนรอบตัวเองเร็วเกินไป ดาวฤกษ์ก่อนเกิดจะถูกแรงเหวี่ยงของตนแยกดาวออกเป็นสองส่วน ทำให้กลายเป็นดาวฤกษ์คู่ ที่จะโคจรรอบกันและกัน

ในจุดนี้ หากมวลของดาวฤกษ์ก่อนเกิดมีมากกว่า 100 เท่าของดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่จะยุบตัวจนทำให้เกิดความร้อนขึ้นอย่างมหาศาลเกินจะรับ ดาวฤกษ์ก่อนเกิด จะระเบิดออกในทันที ไม่มีโอกาสได้เป็นดาวฤกษ์ แต่ก็ยังมีดาวฤกษ์ก่อนเกิดเพียงไม่กี่ดวงเท่านั้นที่รวมมวลได้เกิน 100 เท่าของดวงอาทิตย์แล้วสามารถเป็นดาวฤกษ์ได้โดยไม่ระเบิด เช่น ดาว HD 269810 ที่มีมวล 150 เท่า ของดวงอาทิตย์

ส่วนดาวฤกษ์ก่อนเกิดแบบปกติทั่วไป จะยุบตัวจนกระทั่งใจกลางมีอุณหภูมิประมาณ 10 ล้านองศาเซลเซียส ดาวฤกษ์ก่อนเกิดจะจุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของธาตุไฮโดรเจน ทำให้ดาวฤกษ์ก่อนเกิดเริ่มแผ่พลังงานนิวเคลียร์ออกมา กลายเป็นดาวฤกษ์โดยสมบูรณ์

วัยชราและจุดจบ[แก้]

ไฮโดรเจนรอบๆแกนกลางจะถูกอัดรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆ เคลือบแกนกลางฮีเลียม และเมื่อดาวยุบตัวลงเรื่อยๆ ดาวจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อบริเวณรอบนอกแกนกลาง มีอุณหภูมิครบ 10 ล้าน องศาเซลเซียส ไฮโดรเจนที่ถูกอัดเป็นชั้นบางๆ นี้ จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ซึ่งการที่ฟิวชันมาเกิดที่รอบนอกแกนกลาง ซึ่งลึกน้อยกว่า ทำให้พลังงานส่งมายังพื้นดาวมากขึ้น เร็วขึ้น ซึ่งปฏิกิริยาแบบนี้ เรยกว่า "ฟิวชันเปลือกไฮโดรเจน" ดาวจึงร้อนขึ้น และพองตัวออกถึง 100-1,000 เท่า มีสีแดงเรื่อขึ้น เรียกว่า "ดาวยักษ์แดง"

ฟิวชันเปลือกไฮโดรเจน จะเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมซึ่งหนักกว่า ทำให้ฮีเลียมที่ได้ จมลงจากชั้นเปลือกแกนกลาง ไปที่แกนกลาง ทำให้แกนกลางหนักขึ้น แต่ไม่ขยายตัวมากนัก (เพราะมีเปลือกไฮโดรเจนดันไว้) ทำให้แกนกลางมีความดันสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้แกนกลางร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อแกนกลางที่เต็มไปด้วยฮีเลียมมีอุณหูมิสูงครบ 170 ล้านองศาเซลเซียส ฮีเลียมในแกนกลางจะเกิดนิวเคลียร์ฟิวชันขึ้น (เปลี่ยนฮีเลียมเป็นคาร์บอน และมวลส่วนหนึ่งสลายเป็นพลังงานระหว่างการเกิดปฏิกิริยา)