ข้ามไปเนื้อหา

พื้นที่อพยพที่ 2

พิกัด: 14°07′35″N 102°53′49″E / 14.126359°N 102.896900°E / 14.126359; 102.896900
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พื้นที่อพยพที่ 2
พื้นที่อพยพที่ 2ตั้งอยู่ในจังหวัดสระแก้ว
พื้นที่อพยพที่ 2
พื้นที่อพยพที่ 2
ที่ตั้งในประเทศไทย
พื้นที่อพยพที่ 2ตั้งอยู่ในประเทศไทย
พื้นที่อพยพที่ 2
พื้นที่อพยพที่ 2
พื้นที่อพยพที่ 2 (ประเทศไทย)
พิกัด: 14°07′35″N 102°53′49″E / 14.126359°N 102.896900°E / 14.126359; 102.896900
ประเทศ ไทย
จังหวัด สระแก้ว
อำเภอตาพระยา
เปิดโดย รัฐบาลไทยมกราคม 2528
พื้นที่
 • ทั้งหมด7.5 ตร.กม. (2.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2532)
 • ทั้งหมด198,000 คน
 • ความหนาแน่น26,400 คน/ตร.กม. (68,000 คน/ตร.ไมล์)

พื้นที่อพยพที่ 2[a] หรือ พื้นที่อพยพ 2[1] (อังกฤษ: Site 2 หรือ Site II) หรือ ค่ายผู้อพยพพื้นที่ 2[b] (อังกฤษ: Site Two Refugee Camp) เป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดบนชายแดนไทย–กัมพูชา และเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลาหลายปี ค่ายนี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2528 ระหว่างการบุกโจมตีกองกำลังเวียดนามในช่วงฤดูแล้งระหว่าง พ.ศ. 2527–2528[2] ตั้งอยู่ที่พื้นที่ตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว[3]

พื้นที่อพยพที่ 2 ถูกปิดในกลางปี ​​พ.ศ. 2536 และประชากรส่วนใหญ่ถูกส่งตัวกลับกัมพูชาโดยสมัครใจ[4]

การก่อสร้างค่าย

[แก้]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2528 รัฐบาลไทยร่วมกับหน่วยบรรเทาทุกข์ชายแดนแห่งสหประชาชาติ (UNBRO) และหน่วยงานสหประชาชาติอื่น ๆ ตัดสินใจย้ายประชากรที่พลัดถิ่นจากค่ายผู้ลี้ภัยที่ถูกทำลายจากกิจกรรมทางทหารไปอยู่ในค่าย ๆ เดียว ซึ่งหน่วยงานบรรเทาทุกข์สามารถให้บริการร่วมกันได้[5] พื้นที่อพยพที่ 2 ตั้งอยู่ในประเทศไทย ห่างจากอรัญประเทศไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 70 กิโลเมตร ใกล้กับตาพระยา ห่างจากชายแดนกัมพูชาประมาณ 4 กิโลเมตร

ประชากรค่าย

[แก้]

พื้นที่อพยพที่ 2 คลุมพื้นที่ 7.5 ตารางกิโลเมตร (2.9 ตารางไมล์) ประกอบด้วยประชากรของค่ายผู้อพยพหนองเสม็ด (ฤทธิเสน), ค่ายผู้อพยพบางปู, ค่ายผู้อพยพหนองจาน, ค่ายผู้อพยพน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี (ค่ายที่ตั้งอยู่บนชายแดนไทย-กัมพูชาทางตะวันออก ใกล้กับลาว[6]) ค่ายซานโร (ค่ายซานโรชางอัน), ค่ายผู้อพยพโอบก จังหวัดบุรีรัมย์, ค่ายบานซังแก (ค่ายอัมพิล) และค่ายผู้อพยพพนมดงรัก[7][5]: 88  ซึ่งทั้งหมดถูกขับไล่จากการสู้รบระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 ค่ายเหล่านี้สนับสนุนการต่อต้านที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ซึ่งนำโดยแนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร (KPNLF) ของซอน ซาน[8] อย่างไรก็ตามพื้นที่อพยพที่ 2 นั้นมีความตั้งใจที่จะให้เป็นค่ายผู้ลี้ภัยสำหรับพลเรือนและต้องการให้กองกำลังของแนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร (KPNLAF) ไปตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่สถานที่อื่น[9]

ส่วนหนึ่งของค่ายได้รับการสงวนไว้สำหรับผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2531 ประเทศไทยได้ย้ายผู้อพยพทางเรือชาวเวียดนามไปยังพื้นที่อพยพที่ 2 โดยตรง[10][11]

ระหว่างปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2534 จำนวนประชากรในค่ายเพิ่มขึ้นจาก 145,000 คนเป็นมากกว่า 198,000 คน[12]

บริการในค่าย

[แก้]

ในช่วงแรก โครงการที่พื้นที่อพยพที่ 2 นั้นจำกัดอยู่แค่บริการสนับสนุนขั้นพื้นฐานที่สุดเท่านั้น ได้แก่ การดูแลทางการแพทย์ โปรแกรมสาธารณสุข สุขอนามัย การก่อสร้าง และการฝึกทักษะในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินการของค่าย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย "การป้องปรามอย่างมีมนุษยธรรม" ของไทย ซึ่งก็คือหลักการที่ว่าค่ายไม่ควรกลายเป็นที่ตั้งถิ่นฐานถาวรหรือให้ความช่วยเหลือในระดับที่เกินกว่าที่ผู้ลี้ภัยคาดว่าจะพบในกัมพูชา[5]: 100 

บริการในค่ายส่วนใหญ่จัดทำโดย คณะกรรมการผู้ลี้ภัยอเมริกัน (ARC), สำนักงานคาธอลิกเพื่อการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินและผู้ลี้ภัย (COERR), Concern, Christian Outreach (COR), Handicap International, International Rescue Committee, Catholic Relief Services (CRS), Japan International Volunteer Center (JVC), Malteser-Hilfsdienst Auslandsdienst (MHD), องค์การแพทย์ไร้พรมแดน, Operation Handicap International (OHI), International Rescue Committee (IRC), Japan Sotoshu Relief Committee (JSRC) และ YWAM[13] องค์กรเหล่านี้ได้รับการประสานงานโดย UNBRO ซึ่งรับผิดชอบโดยตรงในการแจกจ่ายอาหารและน้ำ[13]

อาหารและน้ำ

[แก้]

ในแต่ละสัปดาห์จะมีการแจกข้าว ปลากระป๋องหรือปลาแห้ง ไข่ 1 ฟอง และผัก 1 อย่างให้กับพื้นที่อพยพที่ 2 ส่วนของถั่วแห้ง น้ำมัน เกลือ และแป้งสาลีจะได้รับเดือนละครั้ง[14] ปริมาณที่แน่นอนของปันส่วนรายสัปดาห์และรายเดือนในปี พ.ศ. 2533 มีดังนี้:

  • ข้าว: 3.4 กิโลกรัม/สัปดาห์
  • ไข่: 100 กรัม/สัปดาห์
  • ผัก: 500 กรัม/สัปดาห์
  • ผลิตภัณฑ์จากปลา: 210 กรัม/สัปดาห์
  • ถั่วเมล็ดแห้ง: 500 กรัม/เดือน
  • น้ำมัน: 700 กรัม/เดือน
  • เกลือ: 280 กรัม/เดือน
  • แป้งสาลี: 700 กรัม/เดือน[5]: 134–140 

น้ำเป็นปัญหาเฉพาะที่พื้นที่อพยพที่ 2 UNBRO ได้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่บ้านวัฒนา ห่างจากค่ายประมาณ 12 กิโลเมตร น้ำส่วนใหญ่ของพื้นที่อพยพที่ 2 มาจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ แต่ในฤดูแล้ง แม้แต่แหล่งน้ำนี้ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของค่าย ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2533 UNBRO เริ่มเจาะบ่อน้ำบาดาลหลายแห่งในค่าย ซึ่งแหล่งน้ำเหล่านี้ได้กลายเป็นแหล่งน้ำเสริมที่ช่วยเติมความต้องการใช้น้ำภายในค่ายได้มาก[5]: 96 

การบริการด้านสุขภาพ

[แก้]

บริการทางการแพทย์มีให้โดยโรงพยาบาลที่มีพื้นดินมุงจากไม้ไผ่ 5 แห่ง และคลินิกผู้ป่วยนอก 8 แห่ง ซึ่งมีแพทย์และพยาบาลจากหน่วยงานอาสาสมัครระหว่างประเทศ ตลอดจนแพทย์และพยาบาลชาวเขมร ไม่มีศูนย์ผ่าตัดและภาวะฉุกเฉิน การผ่าตัดจะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) ที่ศูนย์ฯ เขาอีด่าง[15] แม้ว่าสมาชิกในครอบครัวของทหารแนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร (KPNLAF) สามารถรับการรักษาพยาบาลและการผ่าตัดได้ที่โรงพยาบาลทหารเชียงดาว (Chiang Daoy Military Hospital) ซึ่งอยู่บริเวณนอกค่ายทางรอบนอกด้านเหนือ[5]: 75 

การศึกษา

[แก้]

การศึกษาที่พื้นที่อพยพที่ 2 ดำเนินไปอย่างช้า ๆ เนื่องมาจากนโยบาย "การป้องปรามอย่างมีมนุษยธรรม" ของรัฐบาลไทย ซึ่งขัดขวางโครงการและบริการที่จะดึงดูดผู้ลี้ภัยจากกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2531 ด้วยข้อตกลงของรัฐบาลไทย UNBRO ได้เปิดตัวโครงการความช่วยเหลือทางการศึกษาใหม่ที่สำคัญ โดยมุ่งเน้นที่ระดับประถมศึกษาและให้การสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร การพิมพ์สื่อการสอน การฝึกอบรมครูและการฝึกอบรมผู้ฝึกอบรมครู การจัดหาอุปกรณ์ การก่อสร้างและอุปกรณ์ในห้องเรียน

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2532 ระบบโรงเรียนประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษาประมาณ 50 แห่ง ซึ่งมีนักเรียนประมาณ 70,000 คน โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (collèges) 3 แห่งและโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (lycées) สามแห่งซึ่งมีนักเรียนประมาณ 7,000 คน และผู้ใหญ่มากกว่า 10,000 คนในโครงการทักษะการอ่านเขียนและอาชีพ การเรียนการสอนเป็นภาษาเขมรโดยครูประถมศึกษาประมาณ 1,300 คน และครูมัธยมศึกษาตอนปลายมากกว่า 300 คน ซึ่งคัดเลือกมาจากภายในค่ายเกือบทั้งหมด[16]

ความปลอดภัย

[แก้]

ตำรวจเขมรทำหน้าที่ดูแลหน้าที่ตำรวจแบบดั้งเดิมภายในพื้นที่อพยพที่ 2 จนถึงปี พ.ศ. 2530 การรักษาความปลอดภัยโดยรวมของพื้นที่อพยพที่ 2 เป็นความรับผิดชอบของหน่วยทหารพรานพิเศษที่รู้จักกันในชื่อ หน่วยเฉพาะกิจ 80 อย่างไรก็ตาม หน่วยนี้ถูกกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง[17][18][19] จนกระทั่งถูกยุบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2531[20] และแทนที่ด้วยหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา (นกค.88; Displaced Persons Protection Unit: DPPU) ซึ่งเป็นกำลังกึ่งทหารที่ได้รับการฝึกเป็นพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2531 เพื่อรักษาความปลอดภัยบนชายแดนไทย–กัมพูชา โดยมีหน้าที่ปกป้องขอบเขตค่ายและป้องกันไม่ให้โจรหรือกลุ่มใดรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ค่าย[5]: 104 

การปิดค่าย

[แก้]

พื้นที่อพยพที่ 2 ถูกปิดลงช่วงกลางปี ​​พ.ศ. 2536 และประชากรส่วนใหญ่ถูกส่งตัวกลับกัมพูชาโดยสมัครใจ[4]

การพัฒนา

[แก้]

หลังจากการปิดพื้นที่อพยพที่ 2 รวมถึงค่ายผู้อพยพอื่น ๆ และประชากรในค่ายถูกส่งตัวกลับกัมพูชาแล้ว พื้นที่ดังกล่าวถูกทูลเกล้าถวายข้อมูลโครงการฟื้นฟูศูนย์อพยพจำนวน 3 แห่งในคราวที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนกองกำลังบูรพาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2536 โดยได้พระราชทานชื่อว่า "โครงการทับทิมสยาม" มีจุดประสงค์ในการเป็นหมู่บ้านยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ที่เสื่อมโทรม ลดการบุกรุกพื้นที่ป่า และการอนุรักษ์แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งพื้นที่อพยพที่ 2 ได้พัฒนาเป็นโครงการทับทิมสยาม 03 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และก่อตั้งเป็นหมู่บ้านทับทิมสยาม 03 ในปี พ.ศ. 2536 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์[21]และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในพื้นที่[3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชื่อที่ใช้เรียกขานและติดบนป้ายหน้าศูนย์เป็นภาษาไทย จากแหล่งข้อมูลเปิดที่สืบค้นได้บนภาพถ่ายในเฟสบุ๊กแฟนเพจ อดีตนักรบ หน่วยเฉพาะกิจ 80 ฉก.80
  2. ชื่อแปลตามภาษาอังกฤษที่เรียกขานโดยชาวต่างชาติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. กาลานุกรม หน่วยรบพิเศษกองทัพบกไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ.
  2. Robinson C. Terms of refuge: The Indochinese Exodus and the International Response. London ; New York, New York: Zed Books; Distributed in the USA exclusively by St. Martin's Press, 1998, p. 92.
  3. 3.0 3.1 โครงการหมู่บ้านทับทิมสยาม 03 (PDF). กรมพัฒนาที่ดิน.
  4. 4.0 4.1 Grant M, Grant T, Fortune G, Horgan B. Bamboo & Barbed Wire: Eight Years as a Volunteer in a Refugee Camp. Mandurah, W.A.: DB Pub., 2000.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 French LC. Enduring Holocaust, Surviving History: Displaced Cambodians on the Thai-Cambodian Border, 1989-1991. Harvard University, 1994.
  6. Lynch, James F. Border Khmer: A Demographic Study of the Residents of Site II, Site B,and Site 8. The Ford Foundation, 1989.
  7. "TRẠI TỊ NẠN ĐƯỜNG BỘ VIỆT NAM TẠI BIÊN GIỚI". ttnbg.blogspot.com.
  8. Normand, Roger, "Inside Site 2," Journal of Refugee Studies, 1990;3:2:156-162, p. 158.
  9. Reynell J. Political Pawns: Refugees on the Thai-Kampuchean Border. Oxford: Refugee Studies Programme, 1989.
  10. Robinson, p. 96.
  11. "TRẠI TỊ NẠN ĐƯỜNG BỘ VIỆT NAM TẠI BIÊN GIỚI". ttnbg.blogspot.com.
  12. "Site II Demographic Survey,"
  13. 13.0 13.1 "Services at Site II,"
  14. Reynell, J., "Socio-economic Evaluation of the Khmer camps on the Thai/Kampuchean Border," Oxford University Refugee Studies Programme. Report Commissioned by World Food Programme, Rome, 1986.
  15. Soffer, Allen and Wilde, Henry, "Medicine in Cambodian Refugee Camps," Annals of Internal Medicine, 1986;105:618-621, p. 619.
  16. Gyallay-Pap, Peter, "Reclaiming a Shattered Past: Education for the Displaced Khmer in Thailand," Journal of Refugee Studies, 1989;2:2:257-275, p. 266.
  17. Abrams F, Orentlicher D, Heder SR. Kampuchea: After the Worst: A Report on Current Violations of Human Rights. New York: Lawyers Committee for Human Rights, 1985. ISBN 0-934143-29-3
  18. Lawyers Committee for Human Rights (U.S.). Seeking Shelter: Cambodians in Thailand: A Report on Human Rights. New York: Lawyers Committee for Human Rights, 1987. ISBN 0-934143-14-5
  19. Al Santoli, Eisenstein LJ, Rubenstein R, Helton AC, Refuge Denied: Problems in the Protection of Vietnamese and Cambodians in Thailand and the Admission of Indochinese Refugees into the United States. New York: Lawyers Committee for Human Rights, No.: ISBN 0-934143-20-X, 1989.
  20. New York Times, "Thailand to Phase Out Unit Accused of Abusing Refugees," April 7, 1988.
  21. "พื้นที่ดำเนินงาน". Chulabhorn Research Institute.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]