ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุรถไฟตกรางในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2552"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ยังเถียงกันอยู่ว่าใครผิด
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ปัจจุบัน}}
{{ปัจจุบัน}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Abhisit visit train accident.jpg|thumb|250px|ภาพจากหน้าจอ[[ช่อง 9]] นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เกิดเหตุ]]
[[ไฟล์:Abhisit visit train accident.jpg|thumb|250px|ภาพจากหน้าจอ[[ช่อง 9]] นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เกิดเหตุ]]
'''เหตุการณ์รถไฟตกรางที่หัวหิน พ.ศ. 2552''' เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 04.20 น. ของวันที่ [[5 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2552]] โดย[[ขบวนรถด่วน|รถด่วน]]ขบวนที่ 84 วิ่งจาก[[สถานีรถไฟตรัง|สถานีตรัง]]ปลายทาง[[สถานีรถไฟกรุงเทพ|สถานีกรุงเทพ]] เกิดตกรางที่[[สถานีรถไฟเขาเต่า|สถานีเขาเต่า]] [[อำเภอหัวหิน]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] ทำให้ตู้โดยสารทั้งหมด 15 ตู้ พลิกคว่ำเสีย 6 ตู้ มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 88 ราย และทำให้วันนั้นทั้งวัน [[รถไฟสายใต้]]ทุกขบวนต้องหยุดให้บริการทั้งหมด ในเบื้องต้น ทาง[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] ได้ประเมินค่าเสียหายทั้งหมดนับ 100 ล้านบาท{{อ้างอิง}}
'''เหตุการณ์รถไฟตกรางที่หัวหิน พ.ศ. 2552''' เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 04.20 น. ของวันที่ [[5 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2552]] โดย[[ขบวนรถด่วน|รถด่วน]]ขบวนที่ 84 วิ่งจาก[[สถานีรถไฟตรัง|สถานีตรัง]]ปลายทาง[[สถานีรถไฟกรุงเทพ|สถานีกรุงเทพ]] เกิดตกรางที่[[สถานีรถไฟเขาเต่า|สถานีเขาเต่า]] [[อำเภอหัวหิน]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] ทำให้ตู้โดยสารทั้งหมด 15 ตู้ พลิกคว่ำเสีย 6 ตู้ มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 88 ราย และทำให้วันนั้นทั้งวัน [[รถไฟสายใต้]]ทุกขบวนต้องหยุดให้บริการทั้งหมด ในเบื้องต้น ทาง[[การรถไฟแห่งประเทศไทย]] ได้ประเมินค่าเสียหายทั้งหมดนับ 100 ล้านบาท{{อ้างอิง}}
บรรทัด 17: บรรทัด 18:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


{{โครง}}


[[หมวดหมู่:อุบัติเหตุทางรถไฟ]]
[[หมวดหมู่:อุบัติเหตุทางรถไฟ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:49, 9 ตุลาคม 2552

ไฟล์:Abhisit visit train accident.jpg
ภาพจากหน้าจอช่อง 9 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เกิดเหตุ

เหตุการณ์รถไฟตกรางที่หัวหิน พ.ศ. 2552 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 04.20 น. ของวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยรถด่วนขบวนที่ 84 วิ่งจากสถานีตรังปลายทางสถานีกรุงเทพ เกิดตกรางที่สถานีเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้ตู้โดยสารทั้งหมด 15 ตู้ พลิกคว่ำเสีย 6 ตู้ มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 88 ราย และทำให้วันนั้นทั้งวัน รถไฟสายใต้ทุกขบวนต้องหยุดให้บริการทั้งหมด ในเบื้องต้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ประเมินค่าเสียหายทั้งหมดนับ 100 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]

หลังเกิดเหตุ ได้มีการระดมทีมกู้ภัยลงไปช่วย นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ได้ลงพื้นที่ไปดูสถานที่เกิดเหตุและเยี่ยมเยียนผู้ได้รับบาดเจ็บ การกู้ซากรถไฟและการซ่อมแซมรางแล้วเสร็จในเวลาใกล้เที่ยงของอีกวัน พร้อมกับเปิดให้บริการรถไฟสายใต้ทุกขบวนได้อีกครั้งตามปกติ

ต่อมา ทางสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศ ได้มีแถลงการณ์ออกมาว่า ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เหตุทั้งนี้เกิดขึ้นมาจากมติของคณะรัฐมนตรี ที่ปรับพนักงานออกทำให้เหลือพนักงานทำงานไม่มาก และต้องทำงานตลอดทั้ง 7 วัน ไม่มีเวลาได้พักผ่อน

เหตุการณ์ครั้งนี้นับว่าเป็นอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุดในประเทศไทยรอบในหลายปี ส่วนสาเหตุของเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น บ้างก็ว่าเกิดจากความผิดพลาดของพนักงานขับรถที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูงกว่า 105 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และไม่ยอมรับวิทยุสื่อสารที่บอกให้ชะลอความเร็วลง นายสถานีเขาเต่าจึงตัดสินใจสับรางเพื่อไม่ให้ต้องไปชนกับขบวนรถไฟสินค้าที่อยู่อีกขบวนหนึ่ง ทำให้เกิดการตกราง[ต้องการอ้างอิง] บ้างก็ว่าความเสื่อมของอุปกรณ์ไม่ใช่ความผิดพลาดของพนักงาน[1]

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 11.30 น. นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงสถานการณ์หลังเกิดเหตุรถไฟตกรางบริเวณสถานีเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่าสาเหตุที่ทำให้รถไฟตกราง เบื้องต้นคาดว่าอาจเกิดจากพนักงานขับรถไฟ (พขร.) หลับใน เพราะมีหลักฐานว่า พนักงานขับรถไฟซึ่งจะต้องแวะจอดเพื่อรอรับเอกสารใบสับหลีกขบวนรถที่บริเวณ สถานีวังก์พง แต่ปรากฎว่าขบวนรถคันดังกล่าวได้ขับขบวนรถฝ่าไฟแดงตรงไปยังสถานีเขาเต่า ซึ่งมีขบวนรถสินค้าขาล่องจอดรอสับหลีก แต่เมื่อได้รับการติดต่อว่าขบวนรถดังกล่าววิ่งฝ่ามาด้วยความเร็วสูงถึง 105 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พนักงานที่สถานีเขาเต่าจึงได้สับหลีกรางเพื่อไม่ให้ขบวนรถไปชนกับขบวนรถสินค้าที่จอดอยู่

ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวถึงความเสียหายเบื้องต้นว่าประมาณ 129 ล้าน จากขบวนรถไฟตู้โดยสารทั้งหมด 14 ตู้ ได้รับความเสียหาย 9 ตู้ และความเสียหายของราง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 120 ล้านบาท และความเสียหายจากการสั่งระงับการให้บริการรถไฟในเส้นทางสายใต้ 28 เที่ยว และขบวนรถสินค้า 5 เที่ยว เป็นเงิน 9 ล้านบาท [2]

อ้างอิง