ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นราพร จันทร์โอชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กึ่งล็อก2}}
{{Infobox Person
| name = นางนราพร จันทร์โอชา
| image =
| imagesize = 250px
| caption =
| birth_date = นราพร โรจนจันทร์<br>{{วันเกิดและอายุ|2497|6|20}}
| birth_place =
| residence =
| nationality = ไทย
| known_for = [[รายนามคู่สมรสนายกรัฐมนตรีของไทย|คู่สมรสของนายกรัฐมนตรีไทย]]
| employer =
| occupation = อาจารย์
| height =
| term =
| parents = พล.ต.จ. จำรัส โรจนจันทร์<br>นางสุทิน โรจนจันทร์
| spouse = [[นายกรัฐมนตรีไทย]] <small>(2557—ปัจจุบัน)</small>
| children = ธัญญา จันทร์โอชา<br>นิฏฐา จันทร์โอชา
| relatives =
| signature =
| website =
| footnotes =
}}


.
รองศาสตราจารย์ '''นราพร จันทร์โอชา''' (สกุลเดิม: โรจนจันทร์; เกิด: 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497) มีชื่อเล่นที่เรียกโดยทั่วไปว่าอาจารย์'''น้อง''' ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3 ในคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ตามพระบรมราชโองการ [[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/009/T_0001.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม] </ref>
อดีตนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก<ref name="แม่บ้าน">{{cite web|url=http://www2.crma.ac.th/CRMAMW/pdf/book_555.pdf|title=สมาคมแม่บ้านทหารบก|author=|date=|work= |publisher=สมาคมแม่บ้านทหารบก|accessdate=31 สิงหาคม 2557}}</ref> อดีตอาจารย์ประจำสถาบันภาษา [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และเป็นภรรยาของ[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา|พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] และอดีตหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:37, 22 กรกฎาคม 2563

.

ประวัติ

รศ. นราพร จันทร์โอชา ชื่อเล่น น้อง เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497 มีบิดาชื่อ พ.ต.อ.จำรัส โรจนจันทร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2497) และมารดาชื่อ นางสุทิน โรจนจันทร์ ด้วยเหตุนี้จึงตั้งนามให้บุตรสาวนี้ว่า "นราพร" มีพี่สาวชื่อ สุวรรณา โรจนจันทร์ ชื่อเล่น หมู[1] หลังจาก รศ.นราพร เกิดได้ไม่กี่เดือน บิดาก็ย้ายเข้ากรุงเทพฯ ระหว่างที่บุตรสาวทั้งสองเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ คอนแวนต์ มารดาดูแลเอาใจใส่อย่างดีจนเป็นที่ชินตาของเพื่อนในโรงเรียน [1]

รศ. นราพร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ระดับปริญญาตรีทางด้านภาษาอังกฤษ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโททางด้านการสอนภาษาอังกฤษจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[1][2]

ชีวิตส่วนตัว

รศ. นราพร พบรักกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เข้ามาเรียนภาษาอังกฤษหลักสูตรระยะสั้นที่สถาบันภาษา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานสมรสเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2527[1] มีบุตรสาวฝาแฝด[3] คือ ธัญญา และนิฏฐา จันทร์โอชา[2] ซึ่งทั้งสองเป็นสมาชิกวงแบดซ์ สังกัดอาร์เอส[4]

รศ. นราพร ได้รับคำกล่าวถึงว่า "เป็นอาจารย์ที่ขยันทำงาน เป็นคนฉลาด คนเก่ง คนตรง และมีความชัดเจนในการทำงาน..." แต่ก็เป็นคนที่ยากจะเข้าถึง[1] ทั้งยังเป็นคนที่เงียบขรึม ค่อนข้างเก็บตัว และจะออกงานสังคมที่มีบทบาทโดยตรงเท่านั้น[2]

การทำงาน

รศ. นราพร จันทร์โอชา เริ่มเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษ ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5] ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดสอนวิชาภาษาอังกฤษให้กับคณะต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นเคยเป็นนายกสมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย[2] จนกระทั่งลาออกจากราชการใน พ.ศ. 2549[1] และเริ่มเข้าช่วยงานในมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาใน พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก และเคยเป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3 ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย (24 สิงหาคม 2557). "สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง "รศ.นราพร จันทร์โอชา"". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ดุษฎี สนเทศ (28 สิงหาคม 2557). ""นราพร จันทร์โอชา" แม่บ้านนายกฯ ตู่". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "เปิดใจ 'ทส.ผบ.ทบ.' เงาสะท้อนตัวตน 'บิ๊กตู่'". คมชัดลึก. 21 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "รู้จัก 'รศ.นราพร จันทร์โอชา' ว่าที่สตรีหมายเลข1ของไทย". เอ็มไทย. 22 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ลมใต้ปีก "ประยุทธ์" นราพร จันทร์โอชา". ข่าวสด. 29 สิงหาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ แม่บ้าน
  7. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย หน้า ๑๐ เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๐ ข, ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๓๐ เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข, ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา หน้า ๑๒๘ เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข, ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ก่อนหน้า นราพร จันทร์โอชา ถัดไป
อนุสรณ์ อมรฉัตร คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(24 สิงหาคม 2557 – ปัจจุบัน)
อยู่ในตำแหน่ง