ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ด้วงกว่าง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
pran boy
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
murmaidman
{{Taxobox

| name =
<br />
| image =Dynastes hercules - Sankt-Peterburg.jpg
| image_width = 240px
| image_caption = [[ด้วงกว่างเฮอร์คิวลิส]] (''Dynastes hercules'') [[เพศผู้|ตัวผู้]] (ซ้าย) และ[[เพศเมีย|ตัวเมีย]] (ขวา)
| regnum = [[Animal]]ia
| phylum = [[Arthropod]]a
| classis = [[Insect]]a
| ordo = [[Coleoptera]]
| subordo = [[Polyphaga]]
| superfamilia = [[Scarabaeoidea]]
| familia = [[Scarabaeidae]]
| subfamilia = '''Dynastinae'''
| subfamilia_authority = [[William Sharp MacLeay|MacLeay]], [[ค.ศ. 1819|1819]]
| subdivision_ranks = เผ่าและ[[genus|สกุล]]
| subdivision =<center>ดูในเนื้อหา</center>
}}
'''ด้วงกว่าง''' หรือ '''กว่าง''' หรือ '''แมงกว่าง''' หรือ '''แมงกวาง'''<ref>[http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-1-search.asp กว่าง ตาม[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]]]</ref> หรือ '''แมงคาม''' เป็น[[แมลง]]ใน[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์ย่อย]] Dynastinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ [[Scarabaeidae]] ใน[[อันดับแมลงปีกแข็ง]] (Coleoptera)


==ลักษณะ==
==ลักษณะ==
บรรทัด 33: บรรทัด 18:
ด้วงกว่างมีความผูกพันกับ[[มนุษย์]]มาอย่างยาวนาน โดยใช้ทำเป็น[[เครื่องประดับ]]หรือ[[กิน|รับประทาน]]เป็นอาหาร อีกทั้งยังเป็นที่นิยมในการเลี้ยงเป็น[[สัตว์เลี้ยง]]ด้วยในหลายพื้นที่ เพราะเหตุที่สามารถต่อสู้กันได้ จนเกิดเป็น[[เทศกาล]]หรือ[[ประเพณี]]ท้องถิ่น เช่น ที่[[ประเทศญี่ปุ่น]]และ[[ภาคเหนือ]]ของ[[ไทย]]
ด้วงกว่างมีความผูกพันกับ[[มนุษย์]]มาอย่างยาวนาน โดยใช้ทำเป็น[[เครื่องประดับ]]หรือ[[กิน|รับประทาน]]เป็นอาหาร อีกทั้งยังเป็นที่นิยมในการเลี้ยงเป็น[[สัตว์เลี้ยง]]ด้วยในหลายพื้นที่ เพราะเหตุที่สามารถต่อสู้กันได้ จนเกิดเป็น[[เทศกาล]]หรือ[[ประเพณี]]ท้องถิ่น เช่น ที่[[ประเทศญี่ปุ่น]]และ[[ภาคเหนือ]]ของ[[ไทย]]
[[ภาพ:Jbeetlelarva.jpg|thumb|200px|ตัว[[หนอน]]ของ[[ด้วงกว่างญี่ปุ่น]] (''Allomyrina dichotoma'')]]
[[ภาพ:Jbeetlelarva.jpg|thumb|200px|ตัว[[หนอน]]ของ[[ด้วงกว่างญี่ปุ่น]] (''Allomyrina dichotoma'')]]
[[ไฟล์:Xylotrupes gideon sumatrensis 2.JPG|thumb|200px|[[ด้วงกว่างโซ้ง]] หรือ ด้วงกว่างชน (''Xylotrupes gideon'') เป็นด้วงกว่างชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย]]
[[ไฟล์:Xylotrupes gideon sumatrensis 2.JPG|thumb|200px|[[ด้วงกว่างโซ้ง]] หรือ ด้วงกว่างชน (''Xylotrupes gideon'') เป็นด้วงกว่างชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย|link=Special:FilePath/Xylotrupes_gideon_sumatrensis_2.JPG]]
==การจำแนก==
==การจำแนก==
ปัจจุบันพบแล้วกว่า 300 ชนิด โดยแบ่งออกเป็น 25 สกุล<ref>Endrödi S. [[ค.ศ. 1985|1985]]. ''The Dynastinae of the World''. Dr. W. Junk Publishers</ref> <ref>Dechambre (R.-P.) & Lachaume (G.) ''The Beetles of the World'', volume 27, The genus Oryctes (Dynastidae), Hillside Books, Canterbury </ref>
ปัจจุบันพบแล้วกว่า 300 ชนิด โดยแบ่งออกเป็น 25 สกุล<ref>Endrödi S. [[ค.ศ. 1985|1985]]. ''The Dynastinae of the World''. Dr. W. Junk Publishers</ref> <ref>Dechambre (R.-P.) & Lachaume (G.) ''The Beetles of the World'', volume 27, The genus Oryctes (Dynastidae), Hillside Books, Canterbury </ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:12, 4 ธันวาคม 2562

murmaidman


ลักษณะ

ด้วงกว่างมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแมลงปีกแข็งจำพวกอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้มีขนาดที่ใหญ่ แลดูบึกบึน มีปีกที่พัฒนาเป็นเปลือกแข็ง 1 คู่หุ้มลำตัวด้านบนที่นูนอยู่เหมือนสวมชุดเกราะ มีสีดำคล้ำหรือน้ำตาลเข้มที่เงางาม ขณะที่บางชนิดอาจมีสีอ่อนกว่าหรือแม้กระทั่งสีทองก็มี มีจุดเด่นที่เห็นได้ชัด คือ มีอวัยวะบริเวณส่วนหัวที่งอกยาวออกมาคล้ายเขาจำนวนอย่างน้อย 1 คู่ อยู่ด้านบนและด้านล่างของส่วนหัว ซึ่งจะมีจำนวนและลักษณะสั้น-ยาวแตกต่างกันออกไปตามสกุลและชนิด ซึ่งพบมากที่สุดได้ถึง 5 เขา ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา หรือมีแต่สั้นกว่ามาก มีผิวลำตัวที่ขรุขระหยาบและมีขีดร่องหรือเรียบกว่า จุดแทง ที่ส่วนปีกแข็งมาก ตามลำตัวในบางชนิดมีขนอ่อนคล้ายกำมะหยี่สีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่บริเวณใต้ท้องทั้งตัวผู้และตัวเมีย ขาคู่หน้ามีช่องที่อยู่ในแนวขวางสามารถบิดขยับได้ มีหนวดเป็นรูปใบไม้[1]

ด้วงกว่างจะใช้เขานี้ในการต่อสู้ป้องกันตัวและต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวเมียในการผสมพันธุ์ ซึ่งอาจจะต่อสู้กันข้ามสายพันธุ์หรือแม้แต่ต่างวงศ์กันได้ เช่น วงศ์ด้วงคีม (Lucanidae) ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน โดยจะใช้เขาอันนี้ขวิดและหนีบหรือแม้กระทั่งยกคู่ต่อสู้ให้ลอยพ้นพื้นได้ ซึ่งการต่อสู้ของด้วงกว่างนั้นไม่ดุเดือดจนถึงขั้นบาดเจ็บหรือล้มตายกันไปข้างเหมือนสัตว์ชนิดอื่น อย่าง ปลากัดหรือไก่ชน แต่อาจจะทำให้เขาหักกันได้

วงจรชีวิต

ด้วงกว่างทั้งหมดมีวงจรชีวิตที่คล้ายกัน คือ จะวางไข่และตัวอ่อน คือ ตัวหนอนและดักแด้ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหารทางระบบนิเวศ เช่น มีไม้ผุหรือมูลสัตว์ผสมอยู่ในนั้นเป็นจำนวนมากพอ ตัวหนอนของด้วงกว่างจะมีขนาดใหญ่และป้อมสั้นกว่าแมลงจำพวกอื่น มักมีลำตัวสีขาวหรือเหลืองอ่อนจะขดตัวเป็นรูปตัวซี (C) และจะมีความแตกต่างจากตัวหนอนของแมลงจำพวกอื่น คือ มีส่วนหัวขนาดใหญ่ที่มีสีเข้มกว่าลำตัวเรียกว่าหัวกะโหลก มีกรามหรือมีเขี้ยว และจะมีรูหายใจที่ข้างลำตัวโดยมีปล้องทั้งหมด 8 ปล้อง ปล้องละคู่ และจะมีขาจริงหลังส่วนหัวด้วยรวม 3 คู่ โดยปกติแล้วจะกินอาหารและอยู่เฉย ๆ ในดินเท่านั้นจะไม่เคลื่อนไหวเท่าใดนัก จึงมีลำตัวที่ใหญ่ ตัวหนอนจะกินธาตุอาหารต่าง ๆ ในดิน

ขณะเข้าสู่ระยะดักแด้ จนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัยผุดขึ้นมาจากดิน กินระยะเวลานานราว 1 ปี ขณะที่บางชนิดอาจนานกว่านั้น คือ 2-3 ปี ขณะที่ช่วงระยะเวลาของการเป็นตัวเต็มวัยจะมีอายุเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น แต่บางชนิดอาจอยู่ได้นานถึง 6 เดือนถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ด้วงกว่างจึงจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่อุดมเท่านั้น โดยปกติแล้วจะพบชุกชุมในช่วงฤดูฝน อันเป็นช่วงที่ตัวเต็มวัยจะผุดขึ้นมาดินและผสมพันธุ์ เมื่อตัวเต็มวัยปริตัวออกจากเปลือกที่เป็นดักแด้จะเริ่มปริจากส่วนหัวก่อน และจะรูดตัวออกจากทางส่วนปลายท้องคล้ายกับผีเสื้อ แต่การออกมาของด้วงกว่างนั้นมักวางอยู่พื้นดินเพื่อให้ขยับตัวหรือพลิกตัวคล่ำลงได้ง่ายเพื่อให้ส่วนปีกยืดกางได้เป็นอิสระ ขณะที่ออกมาระยะแรกตัวจะยังขาวซีด ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานเป็นวันเพื่อพัฒนาสีและความแข็งของเปลือกลำตัวให้สมบูรณ์ ขณะที่บางชนิดอาจจะอยู่ในเปลือกดักแด้อีกระยะหนึ่ง จึงค่อยผุดขึ้นมา[2][pai]

พฤติกรรมหากินและความผูกพันกับมนุษย์

หากินในเวลากลางคืน โดยจะกินยางไม้จากเปลือกไม้ของต้นไม้ใหญ่ในป่า รวมถึงผลไม้หรือพืชบางชนิดเป็นอาหารด้วย จึงจัดเป็นแมลงศัตรูพืชอย่างหนึ่ง และเหมือนกับแมลงอย่างอื่น คือ เมื่อพบแสงไฟก็จะบินเข้าหา

ด้วงกว่างมีความผูกพันกับมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับหรือรับประทานเป็นอาหาร อีกทั้งยังเป็นที่นิยมในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงด้วยในหลายพื้นที่ เพราะเหตุที่สามารถต่อสู้กันได้ จนเกิดเป็นเทศกาลหรือประเพณีท้องถิ่น เช่น ที่ประเทศญี่ปุ่นและภาคเหนือของไทย

ตัวหนอนของด้วงกว่างญี่ปุ่น (Allomyrina dichotoma)
ไฟล์:Xylotrupes gideon sumatrensis 2.JPG
ด้วงกว่างโซ้ง หรือ ด้วงกว่างชน (Xylotrupes gideon) เป็นด้วงกว่างชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย

การจำแนก

ปัจจุบันพบแล้วกว่า 300 ชนิด โดยแบ่งออกเป็น 25 สกุล[3] [4]

เผ่า Agaocephalini Burmeister, 1847

เผ่า Cyclocephala

เผ่า Dynastes

เผ่า Hexodon

เผ่า Coelosis Hope, 1837

เผ่า Oryctoderini

เผ่า Pentodontini Mulsant, 1842

เผ่า Phileurini Burmeister, 1847

หมายเหตุ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. พิสุทธิ์ เอกอำนวย, คู่มือคนรักแมลง 2 การเลี้ยงด้วง (มีนาคม พ.ศ. 2552) หน้า 152 ISBN 978-974-660-832-9
  2. พิสุทธิ์ เอกอำนวย, คู่มือคนรักแมลง 1 ด้วงปีกแข็ง แมลงลึกลับ กับเทคนิคการเพาะเลี้ยง (สิงหาคม พ.ศ. 2551) หน้า 28-29 ISBN 978-974-8132-25-9
  3. Endrödi S. 1985. The Dynastinae of the World. Dr. W. Junk Publishers
  4. Dechambre (R.-P.) & Lachaume (G.) The Beetles of the World, volume 27, The genus Oryctes (Dynastidae), Hillside Books, Canterbury
  5. สัตว์ ที่ แข็งแรงที่สุดในโลก (Strongest animal)
  6. กว่างนักสู้ภาคสอง
  7. Chalcosoma caucasus (Fabricius 1801)
  8. ด้วงกว่างญี่ปุ่นหรือมูชิคิง