เกราะญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชุดเกราะ)
เกราะญี่ปุ่นของซามูไรในสมัยโบราณ

เกราะญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: โรมาจิyoroi) คือเครื่องสวมใส่สำหรับป้องกันอันตรายจากอาวุธ ของนักรบซามูไรในสมัยโบราณและทหารเดินเท้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักรบ ซามูไร ในการต่อสู้ ถูกเรียกว่า จิตวิญญาณแห่งเหล็กกล้า เกราะญี่ปุ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปประเภท คือ โยะโรย และ โดะมะรุ ซึ่ง โยะโรย คือเกราะสำหรับซามูไรขี่ม้า หรือแม่ทัพและไดเมียว ซึ่งลักษณะของเกราะจะมีน้ำหนักมากและมีแผงกำบังไหล่ สีสันฉูดฉาดสะดุดตา ส่วน โดะมะรุ คือเกราะสำหรับซามูไรเดินเท้า จะแตกต่างกับ โยะโรย ตรงที่เกราะจะมีน้ำหนักเบาและสวมพอดีตัวกับผู้สวมใส่ และสีสันค่อนข้างทึบ

ความเป็นมาของเกราะญี่ปุ่น[แก้]

เกราะญี่ปุ่น ของเหล่า ซามูไร ถูกนำมาจาก ประเทศจีน สร้างขึ้นจากเหล็กกล้าแผ่นบางๆ นำมาประกอบเข้าด้วยกัน ร้อยด้วยไหมหรือเชือก ชิ้นส่วนต่างๆ หลายๆ ชิ้นที่สามารถสวมใส่สามารถแยกออกจากกันได้ ตัวแผ่นของชุดเกราะถูกออกแบบอย่างชาญฉลาด ให้มีความหนาของเกราะมากกว่าหนึ่งชั้น มีแผ่นเหล็กอ่อนรองบริเวณด้านหลัง เพื่อที่จะช่วยดูดซับแรงกระแทกจากการปะทะในการต่อสู้ บริเวณด้านหน้าจะเป็นแผ่นเหล็กกล้าที่มีความแข็งกว่า และท้ายที่สุดเป็นการลงน้ำมันชักเงาหลายๆ ชั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกราะเป็นสนิมเวลาถูกน้ำ

ลักษณะของชุดเกราะที่สามารถแยกเป็นชิ้นๆ ของเกราะนั้นหมายความว่า ซามูไรที่ทำหน้าที่รักษาการณ์ในคฤหาสน์ของนายเหนือภายในจวนต่างๆ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสวมชุดเกราะที่เต็มอัตราศึกเช่นเวลาออกศึก สงคราม อาจจะสวมแค่ส่วนแขนของชุดเกราะไว้ภายใต้ชุด กิโมโน ปกติ แขนของชุดเกราะที่มีความยืดหยุ่นได้นี้ สร้างจากแผ่นเกราะชิ้นเล็กๆ ร้อยเข้าด้วยกันด้วยเส้นไหม เชือก หรือเชือกหนังเคลือบ แล้วใช้สายรัดบริเวณช่วงไหล่เพื่อยึดไว้ ในทางเดียวกันหากคาดการณ์ว่าข้าศึกศัตรูคงยังไม่บุกเข้าจู่โจม ซามูไรอาจจะสวมเกราะไว้เพียงบางชิ้นเท่านั้น ในขณะที่จะเก็บชิ้นส่วนที่หนักๆ ไว้ก่อน รอให้มีความจำเป็นแล้วค่อยสวมเกราะที่เต็มอัตราศึก

การสวมชุดเกราะที่เต็มอัตราศึกนั้น จะประกอบด้วยพิธีกรรมชุดหนึ่งที่ให้เริ่มสวมเกราะที่ มือ ขา หรือแขนก่อน จุดสำคัญของพิธีกรรมนี้ก็คือ จะช่วยให้ ซามูไร และคนรับใช้ ไม่ลืมชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของชุดเกราะไปในระหว่างการสวมเกราะ นอกจากนี้ยังช่วยในการจัดระเบียบของชุดเกราะเพื่อให้ชิ้นที่สวมทีหลัง เหลื่อมทับบนชิ้นที่อยู่ข้างใต้ที่สวมลงไปก่อน การปกป้องของเกราะจึงเพิ่มประสิทธิภาพแก่ผู้สวมใส่มากยิ่งขึ้น เพราะการฟันจะถูกหันเหออกจากผู้สวมเกราะ โดยผิวหน้าที่เอียงลาดจำนวนมาก ที่อยู่บนบริเวณไหล่ของซามูไรลงไปตามบริเวณลำตัว จะมีส่วนเพียงเล็กน้อยที่จะยื่นออกมาจากเกราะที่ทำให้การฟันเกาะเกี่ยวได้ และทำให้คมดาบเหเข้ามาหาตัวซามูไรลงไปด้านล่างแทน เกราะญี่ปุ่น ถูกสร้างขึ้นสำหรับนักรบ ซามูไร สมาชิกของชนชั้นนักรบผู้ทำหน้าที่คุ้มครองและรับใช้ ไดเมียว แม่ทัพ และ ทหาร เมื่อยามออกศึก สงคราม เกราะญี่ปุ่นนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • เกราะโยโรย
  • เกราะโดะมะรุ

เกราะโยะโรย[แก้]

เกราะโยะโรย สำหรับซามูไรขี่ม้า

เกราะญี่ปุ่น หรือ โยะโรย (yoroi (鎧) ) สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 5 และ 6 เพื่อใช้ในการศึกสงครามของเหล่าไดเมียว ซามูไร และกองกำลังทหาร นำวิธีการสร้างมาจาก ประเทศจีน โดยนำแผ่น เหล็ก กล้าขนาดบาง เป็นชิ้นเล็กๆ จำนวนมากกว่าร้อยชิ้น ต่อร้อยเชื่อมติดเข้าด้วยกันด้วยเส้น ไหม หรือเส้นหรือเชือกหนังให้เป็นแผ่นใหญ่ ก่อนจะเคลือบอีกชั้นด้วย แลคเกอร์ เพื่อป้องกัน น้ำ หลังจากนั้นนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นชุด โดยให้เส้นไหมที่ใช้เชื่อมยืดติดกันนั้นเกยกันระหว่างแผ่นเหล็ก ชุดเกราะไสตล์ ญี่ปุ่น โบราณมีชื่อเรียกว่า "โยะโรย" ในสมัยโบราณชุดเกราะโยะโรย ถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการขี่ม้าเวลาซามูไรออกศึกสงคราม เนื่องจากชุดเกราะโยะโรย ถูกสร้างจากแผ่นเหล็กจำนวนมาก ทำให้มีปริมาณน้ำหนักค่อนข้างมากและเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วน้ำหนักของชุดเกราะประมาณ 30 - 40 กิโลกรัม ซึ่งสร้างประสิทธิภาพในการต่อสู้แก่ซามูไรเป็นอย่างมาก ในการสวมใส่ชุดเกราะโยะโรย ผู้สวมจะต้องทนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะในบริเวณส่วนไหล่ ซึ่งเป็นข้อเสียของชุดเกราะชนิดนี้ เพราจะทำให้การเคลื่อนไหวค่อนข้างจำกัด เมื่อยามที่ต้องต่อสู้หรือกวัดแกว่งดาบ คะตะนะ เข้าใส่ศัตรู

ในระหว่างยุคสมัยสงครามโอนิน ชุดเกราะโยะโรยสำหรับนักรบซามูไรขี่ม้า เริ่มที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้น้ำหนักของชุดเกราะถ่ายเทไปยังส่วนร่างกายของผู้สวมใส่มากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยในการให้นักรบซามูไรใช้ดาบ คะตะนะ เพราะการเคลื่อนไหวในบริเวณช่วงไหล่ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทนฝืนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะที่สวมใส่ และน้ำหนักของดาบคู่สองเล่ม คือดาบยาว คะตะนะ และ ดาบสั้น วาคิซาชิ แต่การที่ใช้เส้นไหมหรือเชือกเชื่อมร้อยชิ้นส่วนต่างๆ ของชุดเกราะชนิดนี้ยังคงอยู่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในการผลิตและในการดูแลชุดเกราะชนิดวันต่อวัน เพื่อให้ชุดเกราะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สำหรับประเทศญี่ปุ่นสมัยโบราณที่พื้นที่ที่เต็มไปด้วยทุ่งนา การใช้ชุดเกราะโยะโรยที่ยึดด้วยเส้นไหมหรือเชือกร้อยดูจะเป็นเรื่องแปลกสำหรับบุคคลทั่วไป เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กนั้นสามารถดูดซับน้ำได้ง่าย จึงทำให้ชุดเกราะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และในสภาวะที่มีอากาศหนาวเย็น เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยจะแข็งตัวได้ง่าย

อย่างไรก็ดี เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กๆ เข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ชุดเกราะมีความยืดหยุ่นในตัว สามารถสวมใส่ได้ง่ายและเมื่อเกราะเกิดชำรุดก็สามารถซ่อมแซมได้ง่ายด้วย การใช้สีของเส้นไหมหรือเชือกร้อยเช่นสีแดง สีดำ สีเหลือง เป็นการบ่งบอกสถานะของแม่ทัพในศึกสงคราม ทำให้สามารถระบุสถานะของกองทัพ แม่ทัพ และขุนพลทหารแต่ละคนว่า สังกัดตระกูลไหน ยามอยู่ในสนามรบ ในการต่อสู้ที่แสนสับสนวุ่นวาย การที่จะทุกคนในสนามรบจะสามารถแยกแยะว่าใครคือมิตรหรือศัตรู สามารถที่จะรู้ได้โดยสีของเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยชุดเกราะอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญของชุดเกราะ

และเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กจำนวนมากเข้าด้วยกันนี้เอง ทำให้เกราะโยะโรยของญี่ปุ่น สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ ดูมีสีสันฉูดฉาด สะดุดตาและดึงดูดสายตาจากคนยุคใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซามูไรผู้สวมเกราะโยะโรยนั้น ค่อนข้างจะพิถีพิถันและช่างเลือกเกราะของพวกเขา และไม่ได้ยอมรับชุดเกราะที่มีสีสันสดใสแต่เพียงเพราะมันแลดูงดงามเสมอไป ที่สำคัญที่สุดก็คือ สีย้อมเส้นไหมหรือเชือกบางสี จะทำให้เส้นไหมมีความเปราะมากขึ้น และอาจทำให้เชือกร้อยยุ่ยหลุดหลุ่ยออกจากกัน ซึ่งจะทำให้มันไม่สามารถเชื่อมยึดแผ่นเกราะเข้าด้วยกันได้ และเป็นอุปสรรคสำคัญในระหว่างการทำศึกสงคราม

อย่างไรก็ดี ในภายหลัง แฟชั่น ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม หลังจากปี ค.ศ. 1570 สีย้อมเส้นไหมสีดำเป็นเงาเริ่มมีให้ใช้และเข้ามามีบทบาทกับชุดเกราะ ชุดเกราะที่มีเส้นไหมหรือเชือกร้อยสีดำก็ได้รับความนิยมในหมู่ซามูไรอย่างกว้างขวาง สิ่งสำคัญที่สุดคือชุดเกราะนั้นเปรียบเสมือน “เครื่องมือทำมาหากิน” สำหรับซามูไร ที่สามารถช่วยให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถรอดชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่อันตรายอย่างยิ่งยวดของสนามรบ

เกราะโยะโรย สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ จะมีหมวกเกราะที่มีขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่ หมวกเกราะสำหรับเกราะโยะโรย อาจจะติดเขากวาง เขาสัตว์ ขนนกขนาดใหญ่หรือหงอนขนาดใหญ่ รูปแฉกแสงอาทิตย์หรือดวงอาทิตย์ ที่ทำให้ผู้ที่สวมเกราะโยะโรยนั้นดูน่าเกรงขามและประทับใจในคราวเดียวกัน มอน หรือ ตราประจำตระกูล ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหมวกเกราะที่นิยมประดับลงบนหมวกเกราะ เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะและตระกูลของผู้สวมใส่

เกราะโดะมะรุ[แก้]

ไฟล์:Yoroi samurais.jpg
เกราะโดะมะรุ สำหรับซามูไรเดินเท้า

เกราะโดะมะรุ (Domaru (ドマル) ) คือชุดเกราะสำหรับ ซามูไร เดินเท้า สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 5 และ 6 เช่นเดียวกับ เกราะโยะโรย จากแผ่นเหล็กกล้าชิ้นบางๆ นับร้อยชิ้น ร้อยเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นแผ่นใหญ่ด้วยเส้นไหมหรือเชือก ซ้อนทับกันหลายชั้น เกราะโดะมะรุ จะแตกต่างกับ เกราะโยะโรย เนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่า สวมใส่พอดีตัวและไม่มีแผงกำบังไหล่ ผู้สวมใส่เกราะโดะมะรุจะไม่ต้องทนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะ ในบริเวณส่วนหัวไหล่เช่นเดียวกับเกราะโยะโรย ทำให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวได้มากกว่า เกราะชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นสำหรับซามูไรเดินเท้า ที่มีความปราดเปรียวคล่องแคล่วว่องไวในการต่อสู้ เพื่อที่จะสามารถคุ้มกัน ไดเมียว หรือแม่ทัพที่อยู่บนหลัง ม้า พร้อมกับอาวุธ ซึ่งจะสวมเกราะโยะโรย ที่มีน้ำหนักมากกว่า และเป็นอุปสรรคเวลาเคลื่อนไหวหรือกวัดแกว่งอาวุธ

เกราะโดะมะรุ มีสีสันที่ไม่ฉูดฉาด สะดุดตาเช่นเดียวกับเกราะโยะโรย ที่นิยมสีสันที่ฉูดฉาดเพื่อเป็นการบ่งบอกสถานะของตนเอง สีของเกราะโดะมะรุนั้นค่อนข้างทึบและเรียบง่าย เหมาะสำหรับการแฝงตัวในความมืดเวลาออกศึก สงคราม ในเวลากลางคืน เกราะโดะมะรุถูกออกแบบขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับเกราะโยะโรย คือเพื่อใช้ในการทำศึก สงคราม สำหรับเกราะโดะมะรุนั้น เส้นไหมหรือเชือกที่สำหรับใช้ร้อยแผ่นเหล็กกล้าจำนวนมากเข้าด้วยกัน จะใช้สีที่อ่อนกว่าเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้สำหรับร้อยเกราะโยะโรย เช่นสีเทา สีน้ำเงิน ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่เช่นเดียวกัน

ไดเมียว แม่ทัพหรือซามูไรที่สามารถซื้อเกราะได้ จะซื้อเกราะโดะมะรุให้แก่ ทหาร ภายในสังกัดของตนเอง ซึ่งจะสวมเกราะที่เรียบๆ ติด ดิน มากที่สุด และสำหรับทหารที่มีความสำคัญภายในกองทัพ อาจจะมีชุดเกราะอื่นๆ ที่ประดับตกแต่งหรูหรา ไว้สำหรับงานพิธีโดยเฉพาะ

หมวกเกราะของเกราะโดะมะรุ เป็นลักษณะหมวกธรรมดาที่ไม่นิยมให้มีการตกแต่งประดับประดามากมาย เช่นเดียวกับหมวกเกราะของเกราะโยะโรย อาจจะประดับบ้างเพียงเล็กน้อยสำหรับหัวหน้านายกอง เพื่อเป็นการบ่งบอกฐานะของตนเองในสมรภูมิ นิยมสีเดียวกันกับชุดเกราะเพื่อให้มีความกลมกลืนซึ่งกันและกัน และจะประดับด้วย มอน หรือ ตราประจำตระกูล ของไดเมียว หรือซามูไรที่สังกัด เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะของซามูไรเดินเท้า เช่นเดียวกันกับ มอน ของไดเมียวหรือพวกแม่ทัพและเป็นการป้องกันตนเองจากการต่อสู้ในสมรภูมิอีกด้วย เพราะระหว่างศึกสงคราม ซามูไรเดินเท้าจะสวมเกราะโดะมะรุที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู ทำให้การแบ่งแยกสังกัดทำได้อย่างยากลำบาก มอน จะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงสังกัดของซามูไรเดินเท้า

ส่วนประกอบของเกราะญี่ปุ่น[แก้]

ไฟล์:Yoroi detial.jpg
ส่วนประกอบต่างๆ ของเกราะโยะโรย

ชุดเกราะของนักรบซามูไรไม่ได้สร้างจากแผ่นเหล็กทึบเพียงแผ่นเดียว แต่ประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ของแผ่นเหล็กกล้าที่มีขนาดบางจำนวนมากมายภายในเกราะหลายๆ หลายชนิดเข้าด้วยกัน ร้อยด้วยเส้นไหมหรือเชือก ชิ้นส่วนต่างๆ ของเกราะญี่ปุ่นทั้ง 2 ประเภท มีจำนวนมาก ซึ่งในการสวมเกราะโยะโรยเต็มอัตราศึกของไดเมียว แม่ทัพหรือซามูไร ในเวลาออกศึกสงคราม จะใช้เวลาค่อนข้างมาก และจำเป็นต้องมีผู้รับใช้ช่วยในการสวมใส่ โดยจะเริ่มสวมจากมือ ขา หรือแขนก่อนเป็นอันดับแรก เกราะโยะโรยนั้นเป็นเกราะดั้งเดิมแต่โบราณของไดเมียว ซามูไรหรือแม่ทัพ ซึ่งประกอบด้วยส่วนหลักๆ ของเกราะ ดังนี้

  • คะบุโตะ (kabuto 兜) หรือ หมวกเกราะ
  • โด (dou 同) หรือ เกราะส่วนบริเวณลำตัว สร้างจากแผ่นเหล็ก
  • เกียวโย (gyow-yow
  • โอโซะเดะ (o-sode 大袖) หรือ แผงกำบังไหล่
  • hikiawase-o
  • โคะเทะ (kote 籠手) หรือ เกราะบริเวณส่วนแขนและมือ
  • kurijime-o
  • ทสึรุบะชิริ (kusazuri) หรือ เกราะบริเวณส่วนหน้าอก
  • ไฮดาเทะ (haidate 佩楯)
  • สึเนะอะเทะ (suneate 脛当) หรือ เกราะบริเวณส่วนขา


คะบุโตะ[แก้]

คะบุโตะ (兜) คือหมวกเกราะสำหรับสวมใส่ศีรษะเพื่อป้องกันอาวุธคู่กับชุดเกราะของ ไดเมียว แม่ทัพ หรือ ซามูไร สร้างจากแผ่นเหล็กกล้าเช่นเดียวกับชุดเกราะ หมวกเหล็กของเกราะทั้ง 2 ประเภท จะมีความแตกต่างกันในด้านของออกแบบและประดับตกแต่ง ขนาดของคะบุโตะทั้งสองประเภทมีความแตกต่างกันมาก คะบุโตะสำหรับเกราะโยะโรยอาจจะมีขนาดใหญ่โต เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่ ซึ่งส่วนประกอบหลักๆ ของคะบุโตะ มีดังนี้

tehen
hachi
maedate
fukikaeshi
mabisast
shikoro
menpou
o

ในขณะที่คะบุโตะสำหรับเกราะโดะมะรุ จะมีขนาดพอดีกับศีรษะของผู้สวมใส่ และไม่มีการประดับตกแต่งมากมายเช่นคะบุโตะสำหรับเกราะโยะโรย หมวกเกราะสำหรับเกราะโยะโรย จะตกแต่งประดับประดาด้วยขนนก เขาสัตว์ ไม่ใช่เพียงเพื่อความสวยงามแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การประดับตกแต่งหมวกเกราะสำหรับเกราะโยะโรย เป็นการสร้างความน่าเกรงขามและประทับใจแก่ผู้พบเห็นให้แก่ผู้สวมใส่อีกด้วย

คะบุโตะ จะประดับด้วย มอน หรือ ตราประจำตระกูล เพื่อบ่งบอกถึงสังกัดของแม่ทัพหรือซามูไร และเพิ่มความน่าเกรงขามของคะบุโตะ ด้วยหน้ากากป้องกันที่ทำเป็นรูปหน้าปีศาจที่มีความน่ากลัว หรือคะบุโตะที่ลักษณะแตกต่างจากผู้อื่น เช่นคะบุโตะของ ดาเตะ มาซามูเนะ ผู้ให้ ฮะมะโนะโตะ หรือทหารองค์รักษ์จำนวนมากกว่า 200 นาย สวมคะบุโตะที่มียอดปลายแหลมถมทอง ที่มีความสูงเกือบสองเท่าของผู้สวมใส่

โด[แก้]

โด (同) คือเกราะในส่วนบริเวณลำตัว

โอโซะเดะ[แก้]

โอโซะเดะ (大袖) คือแผงกำบังไหล่

ทสึรุบะชิริ[แก้]

สึเนะอะเทะ[แก้]

สึเนะอะเทะ (脛当) คือเกราะบริเวณส่วนขา


ตราประจำตระกูล[แก้]

ไฟล์:Mon kabuto.jpg
มอน หรือ ตราประจำตระกูลโตคุกาว่า อิเอยะสึบนคะบุโตะ
มอน หรือ ตราประจำตระกูลโอดะ

“ตราประจำตระกูล” ใน ญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เดียวกับใน ตะวันตก กล่าวคือเพื่อให้สามารถจดจำง่ายขึ้นว่า “ใครเป็นใคร” ในสมรภูมิ การสวมเกราะทั้ง 2 ประเภทนั้นทำให้แต่ละคนและดูเหมือนกันไปหมด ดังนั้นวิธีการที่ จะทำให้สามารถแยกแยะออกว่า ใครเป็นผู้ที่สมควรฆ่าและใครเป็นมิตรจึงเป็น เรื่องคอขาดบาดตาย และสำคัญยิ่งในการทำศึกสงคราม ในตอนเริ่มแรก ไดเมียวผู้คุมกองทัพจะนำธงรบขนาดใหญ่ที่มีสีสัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีของทหารต่อตระกูล และแม้แต่ในยุคแรกๆ ก็ได้มีการพิมพ์ มอน หรือ ตราประจำตระกูล ซึ่งมักเป็นรูปสัญลักษณ์ไว้บนธรงรบ หรือประทับไว้บนชุดเกราะ หรือแสดงให้เห็นชัดเจนบนโล่ไม้ขนาดใหญ่

สำหรับ มอน หรือ ตราประจำตระกูล การออกแบบของมอนจะมีความสำคัญมากกว่าการใช้สี ซึ่งแตกต่างไปจากตราประจำตระกูลของ ตะวันตก และเมื่อตระกูลใดตระกูลหนึ่งเริ่มใช้ มอน รูปแบบใด ก็จะใช้ไปตลอดโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในตราประจำตระกูลของ ยุโรป จะมีการแบ่งเครื่องหมายตราประจำตระกูลออกเป็นครึ่งหนึ่ง หรือเป็นเสี้ยวหนึ่งส่วนสี่ ซึ่งแสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของเจ้าของที่มีส่วนในตระกูลนั้น แบบของตราประจำตระกูลจึงมักถูกเปลี่ยนแปลง โดยลูกชายคนแรก คนที่สอง หรือคนที่สามของตระกูล ทำให้กิจกรรมการสร้าง ตราประจำตระกูลกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ขณะที่ในญี่ปุ่นสมาชิกทั้งหมดของตระกูลรวมถึงบริวารทั้งหมดจะใช้มอนแบบเดียวกัน

ในยุคเซ็นโกคุ การใช้ มอน ในตระกูลของ ซามูไร ได้ตั้งหลักปักฐานอย่างมั่นคง ตระกุลโตคุกาว่าใช้ มอน รูปใบที่มีสามแฉกของต้น อะโอะอิ (ต้นฮอลลี่ฮ็อค) อยู่ในวงกลม หลายๆ ตระกูลใช้รูปแบบคล้ายๆ กันแต่เป็นรูป โทโมเอะ (รูปคล้ายจุลภาคที่อยู่บนสัญลักษณ์ หยิน-หยาง) มอน ยังใช้บน ซาชิโมโนะ หรือ ธง ที่ติดที่กลางหลังบนชุดเกราะของไดเมียว แม่ทัพและซามูไร และอะชิการุแต่ละคน สีพื้นของธงจะบอกให้รู้ว่าแม่ทัพ ซามูไรหรือทหารคนนั้นสังกัดกองทัพไหน ซามูไรที่มีชื่อเสียงหรือหยิ่งผยองในตนเอง บางครั้งจะพิมพ์ชื่อของตัวเองไว้บนซาชิโมโนะ แทนที่จะเป็นสัญลักษณ์ของตระกูล สัญลักษณ์เหล่านี้ยังมีอยู่บน โนโบริ หรือธงรบที่ถือโดยคนธงประจำหน่วยนั้นๆ โนโบริเป็นธงยาวแนวตั้งที่มีตัวยึดขวางด้านบนสุด มอน จะถูกพิมพ์ไว้บนธงชนิดนี้ใกล้ๆ กับส่วนบนสุด ธงโนโบริอื่นๆ อาจจะเขียนคำคมที่เหมาะสมไว้

ธงรบที่นำไปกับหน่วยรบและทั้งกองทัพ อาจมีข้อความที่ช่วยปลุกใจแทนที่จะเป็นแค่รูปวาดเฉยๆ ธงอันหนึ่งที่ใช้โดย โตคุกาว่า อิเอยะสึ มีสโลแกนจากพุทธศาสนาว่า “สละซึ่งโลกแห่งกิเลส เพื่อเข้าสู่ดินแดนพิสุทธิ์”

มอน บนชุดเกราะโยะโรยและเกราะโดะมะรุจำนวนมาก และจำนวนมหาศาลของธงที่นำไปกับกองทัพซามูไร เป็นสิ่งที่น่าประทับใจในของตัวมันเอง แม่ทัพ ซามูไรและทหารทุกคนอาจมีซาชิโมโนะเป็นของตัวเอง และหน่วยของแต่ะละกองจะมีธงโนโบริหนึ่งผืนหรือมากกว่า และยังมีธงยาว ธงสั้น และเครื่องยศหรูหราที่นำไปในกองทัพด้วย ตัวอย่างเช่น ฟุคินูคิ เป็นธงรูปทรงกระบอกที่สีสันสดใส ดีไซน์อย่างหรูหรา ติดบนกรอบรูปทรงกลม รูปทรงเกือบจะเหมือนธงแสดงทิศทางลมในปัจจุบัน

อาวุธสำหรับชุดเกราะ[แก้]

เกราะญี่ปุ่น ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการต่อสู้และป้องกันอันตรายจากอาวุธแก่ผู้สวมใส่ ซึ่งอาวุธสำหรับไดเมียว แม่ทัพหรือซามูไร ผู้สวมเกราะในการศึกสงครามใช้ในการต่อสู้ ฆ่าฟันศัตรูหรือป้องกันตนเอง ได้แก่

  • ดาบ
  • ธนู
  • หอก
  • ง้าว